บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2025

แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)

รูปภาพ
แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ (กรณีสถานการณ์แผ่นดินไหว)  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.2/ว 15 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2568  

คู่มือการบังคับคดี

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี จัดพิมพ์โดย สถาบันนิติวัชร์ และสำนักงานการบังคับคดี สำนักงานอัยการสูงสุด

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คู่มือการดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รูปภาพ
คู่มือการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ✅ (ฉบับเต็ม) ✅ (ฉบับย่อ) (สำนักงาน ก.ค.ศ.)

คนต่างด้าวทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ ไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย (ฎ.2744/2562)

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา 84 คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย... ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี" และมาตรา 94 บัญญัติว่า "บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"  แม้โจทก์ร่วมเป็นคนต่างด้าว แต่ บทบัญญัติมาตรา 86 แห่ง ประมวลกฎหมาย ที่ดิน มิได้ห้ามเด็ดขาดกรณีคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยคนต่างด้าวอาจขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และแม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คนต่างด้าวก็ยังม...

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ✅ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ที่เกี่ยวข้อง ✅พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ✅พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ✅พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ✅พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพ
✅พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ✅ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 ✅พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ✅และกฎที่เกี่ยวข้อง

สัญญาเป็นโมฆะ แม้เช็คเด้งก็ไม่เป็นความผิด (ฎ.2894/2522)

จำเลยออกเช็คชำระหนี้โจทก์ ตามสัญญาซื้อขายบ้านที่จำเลยเป็นผู้ซื้อ  เช็คถึงกำหนดแล้ว โจทก์เบิกเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่าย  เมื่อปรากฏว่าการซื้อขายบ้านอันเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก   เ ช็คพิพาทเป็นเช็คชำระหนี้ตามสัญญาที่เป็นโมฆะ จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้  ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 (ขณะนั้น) มาตรา 3 ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ผู้รับประกันภัยไม่นำสืบปฏิเสธความคุ้มครอง (ฎ.3312/2564)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัย เป็นนิติกรรมสองฝ่าย ที่คู่สัญญามีคำเสนอคำสนองต้องตรงกัน ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยด้วย  กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาไว้   ส่วนตารางกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเพียงหลักฐานการรับประกันที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อแสดงว่าตนได้เข้ารับประกันความเสี่ยงภัยนั้นไว้แล้ว หาใช่เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวไม่  เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองในนามของโจทก์ตามใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งในข้อ 12 ระบุความคุ้มครองภัยเพิ่มพิเศษรวมถึงลมพายุไว้ด้วย และต่อมาจำเลยที่ 2 ออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ได้ให้คำจำกัดความคำว่า กรมธรรม์ประกันภัย หมายความรวมถึง ใบคำขอเอาประกันด้วย  ดังนั้น ใบคำขอเอาประกันภัย จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย  นอกจากนี้ยังปรากฏข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยว่า ทำสัญญาประกันภัยวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้มีอำนาจของจำเล...

สัญญากำหนดให้ผู้บริโภคระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการอย่างเดียว ใช้บังคับไม่ได้ (ฎ.4184/2565)

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ออกใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภค ภายใต้หลักการให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เป็นบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีผู้บริโภคไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ  ส่วนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ แม้จะเป็นวิธีการที่คู่สัญญาอาจเลือกใช้ในการระงับข้อพิพาทและมีผลใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงของคู่สัญญา ตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา แต่ก็ต้องเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผู้บริโภคต้องมีโอกาสต่อรองหรือตระหนักดีว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งกล่าวเฉพาะคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับ สำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติแตกต่างจากบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หลายประการ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคที่พึงมี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดทอนสิทธิที่ผู้บริโภคพึงได้รับตามบทบัญญัติ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณ...

เจตนาแบ่งซื้อพัสดุ (ฎ.1662/2562)

จำเลยแบ่งการจัดซื้อยา โดยลดวงเงินแต่ละครั้งให้เหลือครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะจัดซื้อได้โดยวิธีตกลงราคา  จึงเป็นวิธีการเพื่อให้แบ่งซื้อสำเร็จ สามารถใช้เงินงบประมาณปลายปีได้หมดตามเจตนาของจำเลย หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 22 วรรคสอง  อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  แม้จำเลยจัดซื้อยาในปีงบประมาณ 2540 รวม 10 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2541 รวม 12 ครั้ง ถือว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะใช้เงินงบประมาณให้หมดในแต่ละปีงบประมาณ ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวในแต่ละปีงบประมาณ จึงเป็นความผิด 2 กระทง หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนครั้งที่จัดซื้อรวม 22 กระทง ไม่ ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด (ฎ.3853/2566)

เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท ให้แก่ธนาคาร อ. ผู้รับจำนองทราบก่อนการขายทอดตลาด เป็นเหตุให้ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ด้วยเหตุดังกล่าว เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ในเรื่องสำคัญ และเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของตนตามกฎหมาย แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์  ความรับผิดทางละเมิดในกรณีเช่นนี้ จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 285 วรรคหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม เรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เนื่องจากมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติว่า "บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัติ...

ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน (ฎ.5160/2566)

ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 บัญญัติว่า "ในกรณีทำให้เขาถึงตาย... ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย"  การจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ จึงต้องเป็นกรณีที่ก่อนเกิดเหตุผู้ถูกทำละเมิด มีหน้าที่ไม่ว่าโดยสัญญาหรือโดยกฎหมายต้องทำการงานให้แก่บุคคลอื่น หากไม่มีหน้าที่หรือความผูกพันตามกฎหมายหรือตามสัญญาแล้ว บุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้   ขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ที่ 1 ในฐานะมารดาของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1567 (3) ที่จะให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าขาดแรงงานได้  และเมื่อผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายกับโจทก์ที่ 2 จึ...

กู้เงินโดยไม่แจ้งว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ (ฎ.1505/2567)

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย"  โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์ โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์...

ใช้เอกสารปลอมจากการกระทำผิดตามประมวลรัษฎากร เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน (ฎ.1581/2567)

แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว  แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ประมวลกฎหมายอาญา  ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 268 วรรคสอง   การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225 ที่มา  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา  

นักโทษลักลอบนำโทรศัพท์เข้าเรือนจำ (ฎ.7639/2562)

การที่จำเลยซึ่งเป็นนักโทษได้นัดหมายให้บุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมนักโทษ ให้นำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์มาส่งมอบแก่จำเลยในเรือนจำ เมื่อจำเลยได้รับโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์แล้วก็ลักลอบนำเข้าแดนตนเองจนถูกจับกุมดำเนินคดีนั้น  เมื่อ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 45 (เดิม) ที่ใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด มิได้บัญญัติให้การครอบครองหรือการเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำเป็นความผิด การที่จำเลยครอบครองและเก็บรักษาไว้ซึ่งสิ่งของต้องห้าม คือโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ของกลางที่บุคคลภายนอกนำมาส่งให้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการผิดระเบียบของเรือนจำ และเป็นเรื่องที่จำเลยอาจต้องรับผิดทางวินัยของผู้ต้องขัง แต่ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว  ส่วนการที่บุคคลภายนอกลักลอบนำโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์อันเป็นสิ่งของต้องห้ามเข้ามาให้จำเลยในเรือนจำ การกระทำของบุคคลภายนอกย่อมเป็นความผิดฐานนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในเรือนจำ   แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับบุคคลภายนอกเป็นพวกเดียวกันมาก่อน จำเลยเพิ่งรู้จักเมื่อบุคคลภายนอกมาเยี่ยมผู้ต้องขัง และไม่ได...

เทศบาลปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปในการจัดหาประโยชน์จากตลาดสด ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 42/2567)

แม้เทศบาลตําบล ร. จําเลยที่ 1 จะมีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 70 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 โดยมีหน้าที่ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 51 (3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  แต่เมื่อ พิจารณาการกระทําที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า การที่ จําเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลห้องสุขา แจ้งให้โจทก์รื้อถอนแผงลอยและจะถือเอาพื้นที่ที่โจทก์ได้รับสิทธิมาโดยชอบมาเป็นของตน และการที่ จําเลยที่ 1 มีคําสั่งให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกจากบริเวณหน้าอาคารห้องน้ำตลาดสดของจําเลยที่ 1 เพื่อจะนําพื้นที่ของโจทก์ไปเอื้อประโยชน์ให้แก่จําเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ขอให้ศาลมีคําพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ ใช้พื้นที่แผงลอยซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าห้องสุขาตลาดสดเทศบาลตําบล ร. ดีกว่าจําเลยที่ 2 โดยให้จําเลยที่ 1 ยุติหรือเพิกถอนคําสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากพื้นที่ของโจทก์  จะเห็น...

สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินระงับสิ้นไปโดยสัญญาประนีประนอม (ฎ.4008/2567)

การที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบคำขอกู้และรับรองสิทธิโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ระบุวัตถุประสงค์ไว้ในข้อ 3 ว่า เพื่อชำระหนี้และทุนการศึกษาบุตร แสดงว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้เกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแนบท้ายแบบคำขอกู้ดังกล่าว   อันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น หนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดต่อธนาคาร อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489  แต่เมื่อได้ความว่า ในคดีที่ธนาคาร อ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และ ท. กับโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดพะเยานั้น ต่อมา ธนาคาร อ. จำเลยที่ 1 ท. และโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว  ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวระงับสิ้นไป โดยธนาค...

ฟ้องหน่วยงานของรัฐละเมิดก่อสร้างถนนสาธารณะรุกล้ำที่ดิน (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 51/2567)

แม้เทศบาลตําบล ต. ผู้ถูกฟ้องคดี จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และมีหน้าที่ในการจัดให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ำ ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ก็ตาม แต่การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีโดยอ้างเหตุว่า กระทําละเมิดก่อสร้างถนนสาธารณะตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ทําให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองต้องสูญเสียที่ดินจํานวนเนื้อที่บางส่วน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การก่อสร้างถนนไม่เป็นละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีกระทําละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือไม่ จึงเป็นเพียงผลของการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสถานะของที่ดินพิพาท ว่า เป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การก่อสร้างถนนของผู้ถูกฟ้องคดีก็เป็นการกระทําละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่หากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์...

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ (ฎ.4235/2567)

จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลยไว้  เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56  เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษแก่จำเลย และจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 34 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้   การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกามา จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่มา  - ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา   -  พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559     มาตรา 34 "ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อการคุมความประพฤติตามที่ศาลกําหนด หรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับการคุมความประพฤติของผู้ถูกคุมความประพฤติเปลี่ยน...

อายุความค่ารักษาพยาบาล 2 ปี (ฎ.3376/2567)

ตามใบรับผู้ป่วยใน จำเลยลงลายมือชื่อในช่องข้อมูลผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ว่าผู้รับผิดชอบแทนผู้ป่วย  หมายความว่า จำเลยยินยอมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทน ก. มารดา ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทน ก. โดยตรง มิใช่จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกที่ยินยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ ก. มารดาจำเลยค้างชำระต่อโจทก์   โจทก์เป็นสถานพยาบาลฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่จำเลยทำสัญญารับผิดชอบ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (11) ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คือวันที่โจทก์มีใบแจ้งหนี้ถึงจำเลยให้ชำระค่ารักษาพยาบาลวันที่ 22 กันยายน 2556 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 28 กันยายน 2564 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ที่มา  -ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์      มาตรา 193/34 "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี     (1) ...     ...     (11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบ...

เหตุออกหมายจับ-หมายค้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

เหตุออกหมายจับ 1. เมื่อศาลรับคำฟ้องคดีล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด (มาตรา 16) ดังต่อไปนี้     (1) ออกไป กำลังจะออกไป ได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกเขตอำนาจศาล โดยเจตนาที่จะป้องกันหรือประวิงมิให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้     (2) ปกปิด ซุกซ่อน โอน ขาย จำหน่าย หรือยักย้ายทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี หรือเอกสาร ให้พ้นอำนาจศาล หรือกำลังจะกระทำการดังกล่าว     (3) กระทำหรือกำลังจะกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ หรือกระทำหรือกำลังจะกระทำความผิดซึ่งมีโทษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 2. เมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด  (มาตรา 66)   ดังต่อไปนี้     (1) ออกไป กำลังจะออกไป ได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกเขตอำนาจศาล โดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง ประวิงหรือกระทำให้ขัดข้องแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย     (2) กระทำหรือกำลังจะกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ หรือกระทำหรือกำลังจะกระทำความผิดซึ่งมีโทษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย  พ.ศ. 2483 3. เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ผู้ใดจงใจข...

การให้สัตยาบันแก่หนี้ของสามีหรือภริยา ต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้ (ฎ.2794/2567)

เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า สัตยาบัน คือ การยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรม และเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า บุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อน แล้วจึงให้สัตยาบัน   การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้น ตามมาตรา 1490 (4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนสามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้   การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำไว้ต่อโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการให้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ ที่มา  ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา    

โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งซื้อมาจากการขายทอดตลาด (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 52/2567)

แม้คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่น ฟ้องกรมที่ดิน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยตั้งรูปเรื่องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อ ปัจจุบันมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การ ตลอดจนคำขอของโจทก์ ที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ออกโฉนดที่ดินตามหลักฐานหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข) ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์อ้างว่าการที่จำเลยที่ 2 ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ เป็นการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกทับที่ดินตามหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข) ของโจทก์ที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาด  จะเห็นได้ว่า ลักษณะข้อพิพาทในคดีนี้ เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ว่าเป็นที่ดินพิพาทที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่าที่ดินพิพ...

กฎกระทรวงกำหนดพนักงานอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2568

กฎกระทรวงกำหนดพนักงานอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2568 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 142/ตอนที่ 9 ก/หน้า 4/28 กุมภาพันธ์ 2568) ออกตามความในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ กำหนดให้ข้าราชการหรือพนักงานราชการตามตำแหน่งต่อไปนี้ เป็น พนักงานเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจ   (1) พยาบาลวิชาชีพ   (2) พยาบาลเทคนิค   (3) นักจิตวิทยาคลินิก   (4) นักกิจกรรมบำบัด   (5) อนุศาสนาจารย์   (6) นักวิชาการอบรมและฝึกอาชีพ   (7) เจ้าพนักงานอบรมและฝึกอาชีพ   (8) นักโภชนาการ   (9) นักโภชนากร   (10) เจ้าพนักงานพินิจ   โดยให้กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานซึ่งข้าราชการหรือพนักงานราชการสังกัดอยู่ เพื่อดำเนินการและประสานงานให้ข้าราชการหรือพนักงานราชการดังกล่าวเป็นพนักงานเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมดูแล เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้...

แผนภูมิกระบวนพิจารณาคดีปกครอง

รูปภาพ
  ที่มา เว็บไซต์สำนักงานศาลปกครอง

การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศที่ถูกยกเลิกเพื่อชำระหนี้ (ฎ.568/2548)

โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งหากจำเลยจะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็ได้ แต่การเปลี่ยนเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนใน วันฟ้อง เท่ากับการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หนี้เงินต่างประเทศสกุลฟรังก์ฝรั่งเคสที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระแก่โจทก์ เป็นเงินตราของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่ มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าว จึงเห็นสมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย หากในเวลาใช้เงินจริงนั้น เงินฟรังก์ฝรั่งเคสเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทน เงินฟรังก์ฝรั่งเคส ที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสพร้อมดอกเบี้ย ดังกล่าวข้างต้น โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี...

ทำอย่างไรเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์

คดีล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดี ศาลจะทำการสืบพยานหลักฐานให้ได้ความจริง และศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพยเด็ดขาดลูกหนี้ ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของคดีล้มละลาย ศาลจะยังไม่พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันที ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ลูกหนี้ที่รับราชการยังไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการ และยังคงรับราชการต่อไปจนกว่าศาลจะพิพากษาให้ล้มละลาย สิ่งที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ : ติดต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์   -เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีหมายเรียกหรือหมายนัดให้ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์   -นำหมายนัดไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกำหนดวันเวลาที่ระบุในหมายโดยเคร่งครัด   -นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้โดยมีรูปกำกับหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วยทุกครั้ง สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้   1. ต้องไปสาบานตัวและให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน พร้อมทำบัญชีแสดงกิจการและทรัพย์สิน   2. ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และดวงตราห้างฯ หรือบริษัท และเอกสารต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพ...

ถาม-ตอบ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

คำถาม เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย (ลูกหนี้) แล้ว เจ้าหนี้ทั้งหลายจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง คำตอบ   -ขอรับชำระหนี้กรณีปกติ ยื่นขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด   -ขอรับชำระหนี้กรณีพิเศษ ขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ คำถาม หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้มีอะไรบ้าง คำตอบ   1. ต้องเป็นหนี้เงิน   2. มูลแห่งหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์   3. ไม่เข้าข้อยกเว้น       (1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้       (2) หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ คำถาม ในการขอรับชำระหนี้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ คำตอบ เจ้าหนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในอัตรา 200 บาท แต่หากเป็นการขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ไม...

ข้อตกลงเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงิน (ฎ.3301/2547)

โจทก์ชำระเงินจำนวน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันจอง และจำนวน 120,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน ดังนั้น เงินจำนวน 150,000 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้ให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา เพื่อให้จำเลยยึดไว้เป็นการชำระหนี้บางส่วนและเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา จึงถือเป็นมัดจำ  ส่วนหลังจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ยังผ่อนชำระให้แก่จำเลยรวม 12 งวด เป็นเงิน 840,000 บาท ย่อมไม่อาจถือเป็นมัดจำ แต่เป็นเพียงการชำระราคาบ้านและที่ดินบางส่วน   ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ จำนวน 150,000 บาท ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (2)  และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน เงินที่โจทก์ชำระค่าบ้านและค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 391 การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมด ตกเป็นของจำเลยได้นั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปร...

บุคคลภายนอกสละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญา (ฎ.1950/2543)

โจทก์นำรถยนต์คันที่หายเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยระบุให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เป็นผู้รับประโยชน์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก   สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา ตราบใดที่ยังไม่ได้แสดงเจตนาดังกล่าว คู่สัญญาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิตามสัญญานั้นได้  แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ฟ้องโจทก์ให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แสดงว่าได้สละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่สัญญามีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาซึ่งกันและกันตามหลักทั่วไป และโจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเองได้ จึงมีอำนาจฟ้อง ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

ฟ้องฐานผิดสัญญาและละเมิด ไม่ขัดแย้งกัน (ฎ.3814/2525)

การกระทำผิดกฎหมายในเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 นั้น หมายความว่าเป็นการกระทำล่วงสิทธิของผู้อื่นที่กฎหมายกำหนดไว้อันมีแก่บุคคลทั่วไปจะเป็นใครก็ได้  ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ไว้ชัดว่า จำเลยที่ 2 ได้ยกกล่องผ้าไหมมัดหมี่ของโจทก์ให้แก่ผู้อื่นไปโดยปราศจากความระมัดระวัง จึงเป็นการกระทำล่วงสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งไม่ว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำก็เป็น ละเมิด   แม้คดีนี้โจทก์และจำเลยจะสมัครใจเข้าผูกพันกันโดย สัญญารับขน แต่เมื่อการที่จำเลยผิดสัญญานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับละเมิดอยู่ด้วย จึงอาจฟ้องรับผิดทั้งในด้านสัญญาและละเมิดพร้อม ๆ กัน และโจทก์มีสิทธิจะฟ้องอย่างไรก็ได้ไม่เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งยอมรับบังคับให้ผู้กระทำผิดสัญญาหรือละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ทั้งในทางผิดสัญญาหรือละเมิด ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

สัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก (ฎ.1366/2516)

สัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้น สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้ คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้ว ข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374   ฉะนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรคสอง แล้ว สิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก (ฎ.10942-10943/2558)

ในการทำสัญญาเช่า การที่ จำเลยร่วมผู้ให้เช่า ตกลงกับ จำเลยที่ 2 ผู้เช่า ว่า จำเลยร่วมตกลงยอมรับผิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์ที่นำมาให้เช่าและบุคคลภายนอก ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เช่าไปก่อความเสียหายขึ้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374  ไม่ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540  และไม่ใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนในอันจะถือว่าเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 373 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นในครั้งนี้  เมื่อเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่ว่าจ้าง โดยขับรถยนต์กระบะที่เช่าไปก่อความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญา จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ...

นิติบุคคลอาคารชุด ปล่อยให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เป็นการกระทำละเมิด (ฎ.4493/2543)

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ต้องการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอันเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลสามารถใช้สิทธิในห้องชุดได้ตามสิทธิของตน แต่ทรัพย์ส่วนกลางถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของห้องชุดซึ่งมีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน   ทั้งกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ล้วนกำหนดให้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุด เมื่อสาเหตุที่น้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เพราะน้ำฝนเอ่อล้นจากท่อรับน้ำภายในอาคารชุด เนื่องจากท่อรวมรับน้ำอุดตัน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลให้ท่อระบายน้ำดังกล่าวระบายน้ำได้ตลอดเวลา   แม้โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดท่อน้ำจึงอุดตัน และจำเลยที่ 1 ได้กระทำอย่างไรกับสิ่งอุดตันนั้นหรือบริเวณที่อุดตันนั้นไม่อาจตรวจพบได้โดยง่าย ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว เพราะ จำเลยที่ 1 ได้เก็บเงินค่าดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง แล้วว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีอาชีพในการบริหารอาคารชุดมาทำหน้าที่แทน เมื่อบริษัทดังกล่าวละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้ท่อระบายน้ำอุดตันจนน้ำท่วมห้องชุดของโจทก์ เช่นนี้ ย่อมเป็นการกระทำละเมิ...

อายุความเรียกค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็น ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี (ฎ.313/2567)

การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่  โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นใช้ทางผ่านบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ  เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม นับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555  อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสาม จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว   เมื่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 193/30  เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็น จนถึงวันที่โจท...

เลิกสัญญาแล้ว แต่งานที่ลูกหนี้ทำไว้ เจ้าหนี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ไม่ถือเป็นงานที่ทำ (ฎ.2835/2566)

เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ย่อมมีผลให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง  แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสองทำการงานให้แก่โจทก์แล้วบางส่วน จึงไม่อาจกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 391 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้นั้น การที่จะชดใช้คืน ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ  เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองยังมีข้อโต้เถียงกันเกี่ยวกับการงานที่ได้ทำไปแล้ว กรณีจึงมีข้อพิจารณาว่า ค่าแห่งการงานที่จำเลยทั้งสองทำให้โจทก์นั้นมีเพียงใด   เห็นว่า สัญญาว่าจ้างผลิตเครื่องสำอางแบบเบ็ดเสร็จที่โจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นการเฉพาะ มุ่งประสงค์ถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ คือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมที่โจทก์สามารถนำไปวางจำหน่ายได้  แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยังไม่เคยผลิตเครื่องสำอางเป็นผลสำเร็จและส่งมอบผลงานให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้แม้แต่ชิ้นเดียว แม้จำเลยทั้งสองจะได้ดำเนินการคิดค้น วิเคราะห์วิจัย และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้โจทก์จนสามารถนำไปขอจดแ...