ครูได้รับเงินค่าเทอม แต่ไม่ส่งให้โรงเรียน เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ลงโทษปลดออก (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.302/2555)

นาง พ. ได้รับฝากเงินค่าบำรุงการศึกษาจากนักเรียน แม้ว่าในทางปฏิบัติโรงเรียนจะได้มีแนวปฏิบัติหรือคำสั่งมอบหมายให้ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา เป็นผู้รับเงินค่าลงทะเบียนจากนักเรียนที่ตนรับผิดชอบก็ตาม แต่เมื่อครูได้รับเงินจากนักเรียนก็จะต้องรีบนำเงินส่งเจ้าหน้าที่การเงินของโรงเรียน เพื่อออกใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานภายในวันเดียวกันหรือโดยเร็วที่สุด

การที่นาง พ. ได้เก็บเงินของนักเรียนไว้กับตนเอง โดยไม่ได้นำส่งงานการเงินของโรงเรียนโดยเร็ว และต่อมาผู้ปกครองและนักเรียนได้ทวงถามใบเสร็จรับเงิน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากทางโรงเรียน จนกระทั่งผู้ปกครองไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และงานการเงินของโรงเรียนได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 และลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2542 ทางถามนาง พ. ให้นำเงินไปชำระแก่เจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อจะได้ดำเนินการออกใบเสร็จรับ่เงินให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนต่อไป

แต่นาง พ. เพิกเฉย และต่อมาได้กล่าวอ้างว่าได้นำส่งเงินที่รับฝากให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ย่อมแสดงให้เห็นว่านาง พ. ได้เก็บเงินค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงการศึกษาไว้กับตนเองเป็นระยะเวลานานถึงหนึ่งปี ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางโรงเรียน และทำให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกค่าสวัสดิการการศึกษาบุตรได้ จนต้องร้องเรียนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

พฤติการณ์และการกระทำของนาง พ. จึงเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

การที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการลงโทษดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงมีมติให้ เลขาธิการ กพฐ. เพิ่มโทษเป็นปลดนาง พ. ออกจากราชการ ดังนั้น มติของ ก.ค.ศ. ที่ให้เพิ่มโทษเป็นปลดออกจากราชการ และคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามมติดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 4 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 และข้อ 13 วรรคหนึ่ง (7) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2545 (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น)

ที่มา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.302/2555

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542