ครูได้รับเงินค่าเทอม แต่ไม่ส่งให้โรงเรียน เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ลงโทษปลดออก (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.302/2555)
นาง พ. ได้รับฝากเงินค่าบำรุงการศึกษาจากนักเรียน แม้ว่าในทางปฏิบัติโรงเรียนจะได้มีแนวปฏิบัติหรือคำสั่งมอบหมายให้ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา เป็นผู้รับเงินค่าลงทะเบียนจากนักเรียนที่ตนรับผิดชอบก็ตาม แต่เมื่อครูได้รับเงินจากนักเรียนก็จะต้องรีบนำเงินส่งเจ้าหน้าที่การเงินของโรงเรียน เพื่อออกใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานภายในวันเดียวกันหรือโดยเร็วที่สุด
การที่นาง พ. ได้เก็บเงินของนักเรียนไว้กับตนเอง โดยไม่ได้นำส่งงานการเงินของโรงเรียนโดยเร็ว และต่อมาผู้ปกครองและนักเรียนได้ทวงถามใบเสร็จรับเงิน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากทางโรงเรียน จนกระทั่งผู้ปกครองไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และงานการเงินของโรงเรียนได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 และลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2542 ทางถามนาง พ. ให้นำเงินไปชำระแก่เจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อจะได้ดำเนินการออกใบเสร็จรับ่เงินให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนต่อไป
แต่นาง พ. เพิกเฉย และต่อมาได้กล่าวอ้างว่าได้นำส่งเงินที่รับฝากให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ย่อมแสดงให้เห็นว่านาง พ. ได้เก็บเงินค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงการศึกษาไว้กับตนเองเป็นระยะเวลานานถึงหนึ่งปี ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางโรงเรียน และทำให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกค่าสวัสดิการการศึกษาบุตรได้ จนต้องร้องเรียนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
พฤติการณ์และการกระทำของนาง พ. จึงเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
การที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการลงโทษดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงมีมติให้ เลขาธิการ กพฐ. เพิ่มโทษเป็นปลดนาง พ. ออกจากราชการ ดังนั้น มติของ ก.ค.ศ. ที่ให้เพิ่มโทษเป็นปลดออกจากราชการ และคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามมติดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 4 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 และข้อ 13 วรรคหนึ่ง (7) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2545 (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น)
ที่มา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.302/2555
การที่นาง พ. ได้เก็บเงินของนักเรียนไว้กับตนเอง โดยไม่ได้นำส่งงานการเงินของโรงเรียนโดยเร็ว และต่อมาผู้ปกครองและนักเรียนได้ทวงถามใบเสร็จรับเงิน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากทางโรงเรียน จนกระทั่งผู้ปกครองไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และงานการเงินของโรงเรียนได้มีหนังสือลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 และลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2542 ทางถามนาง พ. ให้นำเงินไปชำระแก่เจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อจะได้ดำเนินการออกใบเสร็จรับ่เงินให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนต่อไป
แต่นาง พ. เพิกเฉย และต่อมาได้กล่าวอ้างว่าได้นำส่งเงินที่รับฝากให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ย่อมแสดงให้เห็นว่านาง พ. ได้เก็บเงินค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงการศึกษาไว้กับตนเองเป็นระยะเวลานานถึงหนึ่งปี ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางโรงเรียน และทำให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกค่าสวัสดิการการศึกษาบุตรได้ จนต้องร้องเรียนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
พฤติการณ์และการกระทำของนาง พ. จึงเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
การที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการลงโทษดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงมีมติให้ เลขาธิการ กพฐ. เพิ่มโทษเป็นปลดนาง พ. ออกจากราชการ ดังนั้น มติของ ก.ค.ศ. ที่ให้เพิ่มโทษเป็นปลดออกจากราชการ และคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามมติดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 4 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 และข้อ 13 วรรคหนึ่ง (7) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2545 (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น)
ที่มา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.302/2555
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น