หน่วยงานของรัฐจัดทำใบแต่งทนายความคดีแพ่ง
หน่วยงานของรัฐที่ขอความอนุเคราะห์พนักงานอัยการ ว่าต่างหรือแก้ต่างคดี ต้องดำเนินการเกี่ยวกับใบแต่งทนายความก่อนยื่นคำฟ้อง คำให้การ และฟ้องแย้ง ดังนี้
✅ ต้องใช้แบบพิมพ์ใบแต่งทนายความของศาลยุติธรรม โดยข้อความแต่งทนายความและคำรับเป็นทนายต้องอยู่แผ่นเดียวกัน (ด้านหน้าและด้านหลัง)
✅ กรณีมีการมอบอำนาจ ให้ลงนามในใบแต่งทนายความโดยระบุตำแหน่ง และส่งสำเนาคำสั่งการดำรงตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ
✅ ข้อความในใบแต่งทนายความ ควรระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน
✔ ให้อำนาจทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ให้ครบถ้วน
✔ ให้ทนายความมีอำนาจดำเนินการแทนโดยครอบคลุม เช่น เรื่องการรับเงิน และรับเอกสารคืนจากศาล
✔ ระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่งไว้ใต้ลายมือชื่อของผู้แต่งทนาย
✅ ในกรณีว่าต่าง ยังไม่ต้องกรอกชื่อคู่ความในใบแต่งทนาย เนื่องจากพนักงานอัยการต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีก่อน ว่าจะยื่นฟ้องจำเลยได้ครบทุกราย ตามที่หน่วยงานตัวความแจ้งความประสงค์หรือไม่
✅ ให้จัดส่งใบแต่งทนายความพร้อมหนังสือนำส่ง โดยแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ) คำสั่งมอบให้ปฏิบัติราชการ และสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้แต่งตั้งทนายความ อย่างน้อย 2 ชุด ไม่ควรส่งในระยะเวลากระชั้นชิดใกล้วันกำหนดฟ้องหรือวันครบกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการนำส่งเอกสารไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง และไม่สามารถแก้ไขได้ทัน
✅ คู่ความหลายรายสามารถแต่งทนายความคนเดียวในใบแต่งทนายความใบเดียวกันได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายห้าม แต่ไม่แนะนำให้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้ ส่วนกรณีคู่ความคนเดียวตั้งทนายหลายคน ต้องแยกใบแต่งทนายความเป็นรายบุคคล (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60) เนื่องจากศาลจะพิจารณาคุณสมบัติของทนายความแต่ละคนว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะอนุญาตให้เป็นทนายได้หรือไม่
✅ ในกรณีที่คู่ความเป็นคณะกรรมการและถูกฟ้องเป็นรายบุคคล กรรมการแต่ละคนที่ถูกฟ้องจะต้องแต่งทนายความทุกคน แต่กรรมการแต่ละคนอาจมอบอำนาจให้ประธานกรรมการหรือกรรมการคนหนึ่งคนใดมีอำนาจดำเนินคดีแทนและลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความได้ โดยแนบหนังสือมอบอำนาจด้วย
✅ ใบแต่งทนายความของหน่วยงานตัวความที่พนักงานอัยการได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว แม้ต่อมาผู้ลงนามแต่งทนายความพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุโยกย้าย ครบวาระ เกษียณอายุราชการ หรือถึงแก่ความตาย หน่วยงานตัวความไม่ต้องจัดทำใบแต่งทนายความฉบับใหม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2512)
✅ ก่อนฟ้องคดี หากมีการเปลี่ยนตัวผุ้มีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความ ให้แจ้งให้พนักงานอัยการทราบ พร้อมส่งใบแต่งทนายความใบใหม่ด้วย
ที่มา สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด. (2567). ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งให้หน่วยงานของรัฐ. (น.17-18).
✅ ต้องใช้แบบพิมพ์ใบแต่งทนายความของศาลยุติธรรม โดยข้อความแต่งทนายความและคำรับเป็นทนายต้องอยู่แผ่นเดียวกัน (ด้านหน้าและด้านหลัง)
✅ กรณีมีการมอบอำนาจ ให้ลงนามในใบแต่งทนายความโดยระบุตำแหน่ง และส่งสำเนาคำสั่งการดำรงตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ
✅ ข้อความในใบแต่งทนายความ ควรระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน
✔ ให้อำนาจทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ให้ครบถ้วน
✔ ให้ทนายความมีอำนาจดำเนินการแทนโดยครอบคลุม เช่น เรื่องการรับเงิน และรับเอกสารคืนจากศาล
✔ ระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่งไว้ใต้ลายมือชื่อของผู้แต่งทนาย
✅ ในกรณีว่าต่าง ยังไม่ต้องกรอกชื่อคู่ความในใบแต่งทนาย เนื่องจากพนักงานอัยการต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีก่อน ว่าจะยื่นฟ้องจำเลยได้ครบทุกราย ตามที่หน่วยงานตัวความแจ้งความประสงค์หรือไม่
✅ ให้จัดส่งใบแต่งทนายความพร้อมหนังสือนำส่ง โดยแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ) คำสั่งมอบให้ปฏิบัติราชการ และสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้แต่งตั้งทนายความ อย่างน้อย 2 ชุด ไม่ควรส่งในระยะเวลากระชั้นชิดใกล้วันกำหนดฟ้องหรือวันครบกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการนำส่งเอกสารไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง และไม่สามารถแก้ไขได้ทัน
✅ คู่ความหลายรายสามารถแต่งทนายความคนเดียวในใบแต่งทนายความใบเดียวกันได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายห้าม แต่ไม่แนะนำให้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้ ส่วนกรณีคู่ความคนเดียวตั้งทนายหลายคน ต้องแยกใบแต่งทนายความเป็นรายบุคคล (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60) เนื่องจากศาลจะพิจารณาคุณสมบัติของทนายความแต่ละคนว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะอนุญาตให้เป็นทนายได้หรือไม่
✅ ในกรณีที่คู่ความเป็นคณะกรรมการและถูกฟ้องเป็นรายบุคคล กรรมการแต่ละคนที่ถูกฟ้องจะต้องแต่งทนายความทุกคน แต่กรรมการแต่ละคนอาจมอบอำนาจให้ประธานกรรมการหรือกรรมการคนหนึ่งคนใดมีอำนาจดำเนินคดีแทนและลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความได้ โดยแนบหนังสือมอบอำนาจด้วย
✅ ใบแต่งทนายความของหน่วยงานตัวความที่พนักงานอัยการได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว แม้ต่อมาผู้ลงนามแต่งทนายความพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุโยกย้าย ครบวาระ เกษียณอายุราชการ หรือถึงแก่ความตาย หน่วยงานตัวความไม่ต้องจัดทำใบแต่งทนายความฉบับใหม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2512)
✅ ก่อนฟ้องคดี หากมีการเปลี่ยนตัวผุ้มีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความ ให้แจ้งให้พนักงานอัยการทราบ พร้อมส่งใบแต่งทนายความใบใหม่ด้วย
ที่มา สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด. (2567). ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งให้หน่วยงานของรัฐ. (น.17-18).
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น