บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2024

แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา

รูปภาพ
ตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 10 กำหนดว่า การทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา ดังนี้ ข้อ 1 การทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการลงโทษตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 โดยมีความมุ่งหมายเพื่ออบรมสั่งสอนนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ข้อ 2 แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้สถานศึกษาดำเนินการดังนี้     (1) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือการทำจิตอาสา หรือทำคุณความดีชดเชยการกระทำผิด     (2) กิจกรรมอยู่ค่าย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียนและนักศึกษา เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษามีความรู้สึกและเห็นคุณค่าในตัวเอง     (3) กิจกรรมอื่น ๆ ที่เทียบได้ในลักษณะเดียวกับ (1) และ (2) ข้อ 3 การจัดกิจกรรมตามข้อ

แนวทางการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

โดยทั่วไป หากไม่มีการกำหนดแบบหรือข้อความในการขอความยินยอมที่มีสภาพบังคับตามกฎหมายอื่นไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการดังนี้ 👉  การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่สมบูรณ์ ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังนี้       - ต้องขอความยินยอมก่อนหรือในขณะกระทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล       - ต้องแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการขอความยินยอมให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ (Informed) ก่อนจะให้ความยินยอม       - ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการให้ความยินยอมอย่างเฉพาะเจาะจง (Specific) ไม่ใช่ระบุวัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ เป็นการทั่วไป       - ต้องแยกส่วนออกจากข้อความอื่นอย่างชัดเจน มีแบบหรือข้อความที่เข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจได้ รวมทั้งใช้ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เป็นการหลอกลวงหรือทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์       - ต้องขอความยินยอมโดยปราศจากกลฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือสำคัญผิด เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมโดยสมัครใจและอิสระ (Freely Given)       - ต้องไม่มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขที่บังคับหรือผูกมัด หรือ

การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐภายหลังยื่นคำฟ้อง คำให้การ

หน่วยงานของรัฐที่ได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแพ่ง เมื่อได้มีการยื่นคำฟ้อง คำให้การ หรือฟ้องแย้งแล้ว มีขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้ ✅ กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้ เนื่องจากหาบ้านไม่พบ หรือไม่มีตัวบ้านอยู่แล้วตามภูมิลำเนาที่ยื่นฟ้อง ผู้ประสานงานคดีจะต้องไปตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำแผนผังที่ตั้งของบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย หรือตรวจสอบภูมิลำเนาอื่น ๆ ของจำเลย เพื่อเป็นข้อมูลให้พนักงานอัยการแถลงศาลต่อไป ✅ การเตรียมพยานบุคคลเพื่อเบิกความต่อศาล ก่อนนำพยานบุคคลเข้าเบิกความต่อศาล ผู้ประสานคดีมีหน้าที่ประสานงานกับพยานให้มาพบพนักงานอัยการเพื่อทบทวนข้อเท็จจริง ประเด็นในคดี แนวทางการเบิกความ และตรวจสอบบันทึกข้อความแทนการสืบพยาน รวมถึงตรวจสอบพยานหลักฐานก่อนส่งศาล ✅ การตามประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น ในกรณีที่พยานที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะนำเข้าสืบมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด และศาลอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบยังศาลที่พยานมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ พนักงานอัยการอาจตามประเด็นไปหรือส่งประเด็นไปให้พนักงานอัยการใ

หน่วยงานของรัฐจัดทำใบแต่งทนายความคดีแพ่ง

หน่วยงานของรัฐที่ขอความอนุเคราะห์พนักงานอัยการ ว่าต่างหรือแก้ต่างคดี ต้องดำเนินการเกี่ยวกับใบแต่งทนายความก่อนยื่นคำฟ้อง คำให้การ และฟ้องแย้ง ดังนี้ ✅ ต้องใช้แบบพิมพ์ใบแต่งทนายความของศาลยุติธรรม โดยข้อความแต่งทนายความและคำรับเป็นทนายต้องอยู่แผ่นเดียวกัน (ด้านหน้าและด้านหลัง) ✅ กรณีมีการมอบอำนาจ ให้ลงนามในใบแต่งทนายความโดยระบุตำแหน่ง และส่งสำเนาคำสั่งการดำรงตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ ✅ ข้อความในใบแต่งทนายความ ควรระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน        ✔ ให้อำนาจทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 ให้ครบถ้วน        ✔ ให้ทนายความมีอำนาจดำเนินการแทนโดยครอบคลุม เช่น เรื่องการรับเงิน และรับเอกสารคืนจากศาล        ✔ ระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่งไว้ใต้ลายมือชื่อของผู้แต่งทนาย ✅ ในกรณีว่าต่าง ยังไม่ต้องกรอกชื่อคู่ความในใบแต่งทนาย เนื่องจากพนักงานอัยการต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีก่อน ว่าจะยื่นฟ้องจำเลยได้ครบทุกราย ตามที่หน่วยงานตัวความแจ้งความประสงค์หรือไม่ ✅ ให้จัดส่งใบแต่งทนายความพร้อมหนังสือนำส่ง โดยแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจ (กรณีม

การเรียกคืนเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ ตามหลักลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สำนักงานศาลปกครองได้มีหนังสือหารือคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในกรณีที่มีการเรียกคืนเงินค่าเช่าบ้าน ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 เพราะเหตุว่าข้าราชการที่ได้รับเงินดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 51 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้นำบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หากได้มีการนำเงินไปชำระค่าเช่าซื้อบ้านหรือเงินกู้ซื้อบ้านทั้งจำนวนแล้ว จะถือว่าไม่มีเงินค่าเช่าบ้านเหลืออยู่ในขณะเรียกคืน ใช่หรือไม่ คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่า การเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน พ.ศ. 2547 เป็นการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่ง เมื่อกฎหมายเฉพาะไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ กรณีย่อมอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงต้องนำหลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ตามมาตรา 50 ประกอบกับมาตรา 51 มาใช้บังคับ กล่าวคือ คำสั่งทางปกครองที่

ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้ตนเองในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2567)

บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท  แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้ว ยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส.  การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วน ของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล  จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 150 ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2567 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

เพลิงไหม้บ้านพักของทางราชการ : การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และการพิจารณาความรับผิด

การเข้าพักในบ้านพักของทางราชการ มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หากเกิดเพลิงไหม้บ้านพัก เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดว่า เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐแห่งใด และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ดังนั้น ในกรณีที่ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายที่เกิดแก่หน่วยงานของรัฐนั้น เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐก็จะต้องแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แต่กรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่า ความเสียหายที่เกิดแก่หน่วยงานของรัฐนั้น ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีที่แม้เป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้า