บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2024

นำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารในคดีล้มละลายได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539)

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์ สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง 375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี เป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000 บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงิน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน  จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่นาง ส. ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร อันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนด...

ห้ามเปิดเผยประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชน

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน ห้ามมิให้เปิดเผยหรือนำประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนไปพิจารณาให้เป็นผลร้ายหรือเป็นการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมแก่เด็กหรือเยาวชนนั้นไม่ว่าในทางใด ๆ เว้นแต่เป็นการใช้ประกอบดุลพินิจของศาลเพื่อกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน หากมีการฝ่าฝืนให้ศาลสั่งระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือเพิกถอนการกระทำนั้น และอาจกำหนดค่าเสียหายหรือบรรเทาผลร้ายหรือมีคำสั่งให้จัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่เห็นสมควร และวรรคสอง บัญญัติว่า เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือเป็นจำเลยที่อยู่ในระหว่างการควบคุมดูแลของบุคคลหรือองค์การใด ๆ จะต้องได้รับการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ และส่งเสริมให้มีโอกาสกลับคืนสู่สังคม รวมทั้งได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากมีการแสวงหาประโยชน์ การกระทำอันมิชอบ การทรมาน การลงโทษ การปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้ารูปแบบอื่น หรือกระทำการใด ๆ ที่มิได้เป็นไปเพื่อฟื้นฟูร่าง...

วาระการดำรงตำแหน่ง EP.4 คณะกรรมการตามกฎหมายเก่าและใหม่ชื่อเดียวกัน แต่องค์ประกอบและวาระการดำรงตำแหน่งต่างกัน (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1112/2559)

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้พิจารณาข้อหารือของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เกี่ยวกับการนับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม โดยกำหนดประเด็นวินิจฉัยว่า กรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 วาระหนึ่ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อีกวาระหนึ่ง จะถือว่ากรรมการนั้นมีวาระการดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกำหนดมาตรการและกลไกต่าง ๆ ขึ้นใหม่ โดยมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม และมาตรา 8 ประกอบกับมาตรา 22 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ดังกล่าวไว้ ซึ่งแตกต่างไปจากมาตรา 23 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ....

วาระการดำรงตำแหน่ง EP.3 ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 753/2562)

ประเด็นหารือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทหรือที่คัดเลือกจากการรับสมัครทั่วไปได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหนึ่งแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ จะถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันหรือไม่ นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) พิจารณาแล้ว เห็นว่ามาตรา 13 ประกอบกับมาตรา 26 แห่ง พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 บัญญัติให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน โดยวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีความสำคัญว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการในคราวใด ย่อมสามารถดำรงตำแหน่งนั้นได้ตามกำหนดเวลาสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติไว้ และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งตามวาระไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งจนครบวาระหรือออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระก็ต้องถือว่าได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วหนึ่งวาระ ด้วยเหตุนี้ กรณีที่ม...

วาระการดำรงตำแหน่ง EP.2 การนับวาระของกรรมการชุดเดิมตามกฎหมายใหม่ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 685/2564)

สถาบันวัคซีนแห่งชาติเดิมเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2555 โดยมี "คณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ" ซึ่งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระที่หนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2560  และประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกเป็นวาระที่สอง โดยจะครบวาระที่สองในวันที่ 25 ธันวาคม 2564  ในระหว่างการดำรงตำแหน่งวาระที่สอง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้มีผลใช้บังคับ   สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การนับวาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2555 จะถือเป็นวาระแรกของการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และจะสามารถดำรงตำแหน่งในวาระถัดไปได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) พิจารณาแล้ว เห็นว่าเมื่อพิจารณา มาตรา 50 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบั...

แชร์ประสบการณ์ : กฎหมายแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด

รูปภาพ
ผมได้รับโอกาสสำคัญให้เป็นผู้แทนหน่วยงาน ในการประชุมคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ตาม พระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 ปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิดถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อนและเชื่อมโยงกับสังคมทุกมิติ การแก้ไขปัญหาให้ได้ผลดีไม่ใช่เรื่องง่ายนัก จากที่ผมได้ศึกษาพระราชบัญญัติดังกล่าว ผมคิดว่ากฎหมายนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิด และเป็นทางรอดของสังคมไทยได้เลย  ปัจจุบันผมกำลังสรุปเนื้อหาของกฎหมายเพื่อเผยแพร่ โดยหวังว่าจะมีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายมากขึ้น รอติดตามกันด้วยนะครับ //ขอบพระคุณครับ