วาระการดำรงตำแหน่ง EP.1 การนับวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 753/2562)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ (กทศ.) ที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหนึ่งแล้ว และวาระต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกวาระหนึ่งต่อเนื่องกับวาระแรกโดยมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการอีกองค์การหนึ่ง หรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกจากการรับสมัครทั่วไป ไม่ซ้ำที่มากันกับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวาระหนึ่ง จะถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันหรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร กทศ. ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่งตั้งจำนวน 11 คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้แทนจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อย 7 คน ประกอบกับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 13 มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหาร กทศ. โดยอนุโลม
เมื่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กทศ. จึงมีวาระอยู่ในตำแนห่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกันเช่นเดียวกัน
การที่มาตรา 13 บัญญัติห้ามกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ไม่ประสงค์ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนใดอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินไป ซึ่งจะเป็นการตัดโอกาสบุคคลอื่นซึ่งมีความสามารถที่จะผลัดเปลี่ยนเข้ามาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ความเห็นที่มีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของคณะกรรมการ บทบัญญัติตามมาตรานี้จึงมุ่งหมายที่จะจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มิใช่การพิจารณาความแตกต่างขององค์กรที่เป็นผู้เสนอชื่อให้บุคคลนั้นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นในประเด็นทำนองเดียวกันนี้ไว้แล้ว ในเรื่องเสร็จที่ 470/2531 เรื่องเสร็จที่ 509/2554 และเรื่องเสร็จที่ 182/2556
ดังนั้น แม้ว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการประเภทใด หรือมีที่มาจากการรับสมัครทั่วไปก็ตาม หากเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 13 ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กทศ. ที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหนึ่งแล้ว แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกวาระหนึ่งต่อเนื่องกับวาระแรก แม้จะมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการอีกองค์การหนึ่ง หรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกจากการรับสมัครทั่วไป ต่างที่มากันกับการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวาระแรกก็ตาม กรณีก็ต้องถือว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการติดต่อกันสองวาระแล้ว
ที่มา / คลิกดาวน์โหลดไฟล์ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 753/2562 เรื่อง การนับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร กทศ. ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่งตั้งจำนวน 11 คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้แทนจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อย 7 คน ประกอบกับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 13 มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหาร กทศ. โดยอนุโลม
เมื่อมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กทศ. จึงมีวาระอยู่ในตำแนห่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกันเช่นเดียวกัน
การที่มาตรา 13 บัญญัติห้ามกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ไม่ประสงค์ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนใดอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินไป ซึ่งจะเป็นการตัดโอกาสบุคคลอื่นซึ่งมีความสามารถที่จะผลัดเปลี่ยนเข้ามาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ความเห็นที่มีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของคณะกรรมการ บทบัญญัติตามมาตรานี้จึงมุ่งหมายที่จะจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มิใช่การพิจารณาความแตกต่างขององค์กรที่เป็นผู้เสนอชื่อให้บุคคลนั้นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นในประเด็นทำนองเดียวกันนี้ไว้แล้ว ในเรื่องเสร็จที่ 470/2531 เรื่องเสร็จที่ 509/2554 และเรื่องเสร็จที่ 182/2556
ดังนั้น แม้ว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการประเภทใด หรือมีที่มาจากการรับสมัครทั่วไปก็ตาม หากเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 13 ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กทศ. ที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหนึ่งแล้ว แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกวาระหนึ่งต่อเนื่องกับวาระแรก แม้จะมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการอีกองค์การหนึ่ง หรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกจากการรับสมัครทั่วไป ต่างที่มากันกับการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวาระแรกก็ตาม กรณีก็ต้องถือว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการติดต่อกันสองวาระแล้ว
ที่มา / คลิกดาวน์โหลดไฟล์ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 753/2562 เรื่อง การนับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น