บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2024

สิทธิได้รับค่าเช่าบ้านและสิทธินำหลักฐานค่าเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้าน ย่อมระงับเมื่อทางราชการจัดที่พักให้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 24/2567 (ประชุมใหญ่))

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีรับราชการครั้งแรกที่โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และย้ายไปปฏิบัติราชการที่สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรง กระทรวงสาธารณสุข ต่อมาเดือนตุลาคม 2548 ได้โอนย้ายไปปฏิบัติราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานสุขาภิบาล ระดับ 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งไม่ได้รับการจัดที่พักอาศัย เนื่องจากที่พักอาศัยไม่ว่าง ผู้ฟ้องคดีจึงใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมาตลอดจนถึงเดือนกันยายน 2552 ระหว่างนั้น ผู้ฟ้องคดีได้รับการเลื่อนระดับและตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนสาธารณสุข นักบริหารงานสาธารณสุข 7 ต่อมาเดือนตุลาคม 2552 ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุมัตินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้าน และได้รับอนุมัติจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้นำหลักฐานการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้มีหนังสือลงวันที่ 31 มีนาคม 2554 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีเข้าพักอาศัยในบ้านพักขององค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับ 7 ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ว 954 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการส่วนท้องถิ่น

วาระการดำรงตำแหน่ง EP.1 การนับวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 753/2562)

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ (กทศ.) ที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระหนึ่งแล้ว และวาระต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกวาระหนึ่งต่อเนื่องกับวาระแรก โดยมีที่มาจากการเสนอชื่อจากองค์การคนพิการอีกองค์การหนึ่ง หรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกจากการรับสมัครทั่วไป ไม่ซ้ำที่มากันกับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวาระหนึ่ง จะถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร กทศ. ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่งตั้งจำนวน 11 คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้แทนจากองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อย 7 คน ประกอบกับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 13 มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหาร กทศ. โดยอนุโลม เมื่อ

หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน นำมาฟ้องคดีล้มละลายได้ ไม่จำต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนหนี้ให้แน่นอน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2567)

หนี้ตามฟ้อง เป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ เป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน และนำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน  พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน  จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้  โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 (9)  จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ที่มา - คำ

"ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546)

คำว่า  "ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย จำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์สอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ แสดงว่า จำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาโจทก์ร่วมที่ 2 ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลย อันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 285 หากเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผ

การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และใช้สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 489/2567)

กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ได้มีหนังสือหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กรณีมีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลายประเด็น หนึ่งในประเด็นดังกล่าวได้หารือว่า กรมฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดและใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิดได้หรือไม่ หากไม่อาจดำเนินการได้ กรมฯ จะสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดกับบุคคลที่ปล่อยปละละเลยให้การใช้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่ เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หากเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนเท่า

บทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ ต้องตีความโดยเคร่งครัด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2567)

คดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคนรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 โจทก์ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลย มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 โดยกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อตกลงว่าด้วยกรณีรถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ 150,000 บาท  เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 เวลา 10.10 นาฬิกา โจทก์ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยแล่นไปจอดที่บริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 แล้วมีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไป ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2565 เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งว่าพบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปถูกเพลิงไหม้ที่ริมถนนสายเพชรเกษมฝั่งขาออกไปจังหวัดตรัง เยื้องโรงเรียนบ้านเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โจทก์แจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยปฏิเสธอ้างว่าเหตุที่รถยนต์สูญหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ศาลเห็นว่า การที่โจทก์ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้กับจำเลยแล่นไปจอดริมถนนบริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาธา

จำเลยไม่มาศาล ในกระบวนพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5217/2566)

จำเลยทั้งสามรับทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดยชอบแล้ว จำเลยทั้งสามต้องมาศาลตามกำหนดนัด แต่จำเลยทั้งสามไม่มาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี  เมื่อทนายโจทก์แถลงว่ายังไม่ได้รับสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ขอหมายเรียกจากธนาคาร ท. และเป็นเอกสารสำคัญ จึงขอเลื่อนคดี  ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว อนุญาตให้เลื่อนคดีไปพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เช่นนี้ หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัด จำเลยทั้งสามย่อมทราบวันเวลาที่ศาลเลื่อนพิจารณาออกไป ซึ่งตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว ดังนี้กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว  ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น หากศาลเห็นว่าเพื่

เจ้าหนี้ไม่ได้เตือนให้ชำระเงิน ลูกหนี้ยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2567)

เงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว" โดยคำเตือนในกรณีนี้คือการทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับ และการทวงถามนั้นโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นคำเตือนโดยชอบ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามแล้วจึงจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัด  เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พิจารณาแล้วมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงนำคดีนี้มาฟ้อง  เมื่อ ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินทดแทนค่าบริการทางการ