ร่าง พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ "ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ...." เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยมีประเด็นสำคัญที่ได้ปรับปรุงจากพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ดังนี้
แก้ไขชื่อกฎหมายใหม่ เป็น พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... เพื่อขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ไปถึงการให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชน
โดยมีหลักการสำคัญ 12 ประการ ที่ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น (Faster) ง่ายขึ้น (Easier) ค่าใช้จ่ายที่ถูกลง (Cheaper) และมีความทันสมัย (Smarter) ดังนี้
1. มีความสะดวกมากขึ้น (Faster)
(1) การขยายขอบเขตการดำเนินการนอกเหนือจากงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาต เพื่อให้ครอบคลุมงานบริการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
(2) การให้ผู้อนุญาตมีการทบทวนกฎหมายทุก 5 ปี ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการอนุญาตเปลี่ยนเป็นจดแจ้ง การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน รวมทั้งให้มีการทบทวนคู่มือสำหรับประชาชนทุก 2 ปี
(3) การขยายขอบเขตให้ทุกใบอนุญาตสามารถชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาตได้ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้หน่วยงานออกเป็นกฎกระทรวง
(4) การกำหนดให้กรณีที่เรื่องใดต้องขออนุญาตจากผู้อนุญาตมากกว่าหนึ่งราย ให้มีการรวมศูนย์อำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายหลายฉบับให้เป็นระบบการอนุญาตหลัก (Super License)
(5) การยกเลิกอายุใบอนุญาตเพื่อให้เป็นใบอนุญาตถาวร หรือขยายอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า 5 ปี เป็นอย่างน้อย 5 ปี
(6) การแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลางแทนศูนย์รับคำขออนุญาต ซึ่งทำหน้าที่รับคำขอเฉพาะที่ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้สามารถมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ดังกล่าวได้
2. มีความรวดเร็วมากขึ้น (Easier)
(1) การจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (Fast Track) ถือเป็นประโยชน์ และเป็นทางเลือกให้กับประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มช่องทางดังกล่าวควรอยู่บนพื้นฐานว่าการให้บริการช่องทางปกติของหน่วยงานต้องมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการพิจารณาอนุญาตที่ครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในคูู่มือสำหรับประชาชนแล้ว หากหน่วยงานยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตโดยปริยาย
(3) การทดลองประกอบกิจการที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมในวงกว้างเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบอนุญาต
3. มีภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลง (Cheaper)
(1) การกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีแบบฟอร์มคำขอ ใบอนุญาต หลักฐานการต่ออายุใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต เป็นภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาตแล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาตร้องขอ
(2) การกำหนดให้กรณีที่ใบอนุญาตหรือหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหายหรือถูกทำลาย ไม่ต้องยื่นหลักฐานที่แสดงการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
4. มีความทันสมัย (Smarter)
การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับ "พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565" เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกันในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเร่งรัดกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วลดภาระค่าใช้จ่ายจากการลดขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต การปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุมัติ อนุญาต การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันจะนำไปสู่การลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ที่มา / คลิกดาวน์โหลดไฟล์
- ข่าวจากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี วันที่ 2 เมษายน 2567
- คำตอบกระทู้ถามที่ 410 ร. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141/ตอนพิเศษ 162 ง/หน้า 31/14 มิถุนายน 2567
แก้ไขชื่อกฎหมายใหม่ เป็น พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... เพื่อขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ไปถึงการให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชน
โดยมีหลักการสำคัญ 12 ประการ ที่ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น (Faster) ง่ายขึ้น (Easier) ค่าใช้จ่ายที่ถูกลง (Cheaper) และมีความทันสมัย (Smarter) ดังนี้
1. มีความสะดวกมากขึ้น (Faster)
(1) การขยายขอบเขตการดำเนินการนอกเหนือจากงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาต เพื่อให้ครอบคลุมงานบริการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
(2) การให้ผู้อนุญาตมีการทบทวนกฎหมายทุก 5 ปี ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการอนุญาตเปลี่ยนเป็นจดแจ้ง การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน รวมทั้งให้มีการทบทวนคู่มือสำหรับประชาชนทุก 2 ปี
(3) การขยายขอบเขตให้ทุกใบอนุญาตสามารถชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาตได้ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้หน่วยงานออกเป็นกฎกระทรวง
(4) การกำหนดให้กรณีที่เรื่องใดต้องขออนุญาตจากผู้อนุญาตมากกว่าหนึ่งราย ให้มีการรวมศูนย์อำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายหลายฉบับให้เป็นระบบการอนุญาตหลัก (Super License)
(5) การยกเลิกอายุใบอนุญาตเพื่อให้เป็นใบอนุญาตถาวร หรือขยายอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า 5 ปี เป็นอย่างน้อย 5 ปี
(6) การแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลางแทนศูนย์รับคำขออนุญาต ซึ่งทำหน้าที่รับคำขอเฉพาะที่ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้สามารถมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ดังกล่าวได้
2. มีความรวดเร็วมากขึ้น (Easier)
(1) การจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (Fast Track) ถือเป็นประโยชน์ และเป็นทางเลือกให้กับประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มช่องทางดังกล่าวควรอยู่บนพื้นฐานว่าการให้บริการช่องทางปกติของหน่วยงานต้องมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการพิจารณาอนุญาตที่ครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในคูู่มือสำหรับประชาชนแล้ว หากหน่วยงานยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตโดยปริยาย
(3) การทดลองประกอบกิจการที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมในวงกว้างเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบอนุญาต
3. มีภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลง (Cheaper)
(1) การกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีแบบฟอร์มคำขอ ใบอนุญาต หลักฐานการต่ออายุใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต เป็นภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาตแล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาตร้องขอ
(2) การกำหนดให้กรณีที่ใบอนุญาตหรือหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหายหรือถูกทำลาย ไม่ต้องยื่นหลักฐานที่แสดงการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
4. มีความทันสมัย (Smarter)
การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับ "พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565" เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกันในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเร่งรัดกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วลดภาระค่าใช้จ่ายจากการลดขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต การปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุมัติ อนุญาต การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันจะนำไปสู่การลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ที่มา / คลิกดาวน์โหลดไฟล์
- ข่าวจากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี วันที่ 2 เมษายน 2567
- คำตอบกระทู้ถามที่ 410 ร. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141/ตอนพิเศษ 162 ง/หน้า 31/14 มิถุนายน 2567
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น