บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2024

การใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ฟ้องศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 3/2567)

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยาม "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 7 เป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามบทนิยาม "หน่วยงานทางปกครอง" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน  อย่างไรก็ตาม การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 6 ที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ได้แก่ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 6 ทำการตรวจ ค้น รถ อ้างว่ารถยนต์ของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ขนไม้ผิดกฎหมาย พร้อมทั้ง ยึด รถยนต์ของผู้ฟ้องคดีที่ 2 และไม้ทั้ง 9 ท่อน หรือการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มอบหมายให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเตรียมการดำเนินคดี กับผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่ากระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา หรือการ ไม่ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่ทำสำนวนอายัดหรือดำเนินคดี จงใจกระทำละเมิดเพราะไม้พิพาทเป็นไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย นั้น ล้วน เป็นขั้นตอนของการใช้อ

การไฟฟ้าไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยหม้อแปลงไฟฟ้า ฟ้องศาลปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 14/2567)

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยบทนิยาม "หน่วยงานทางปกครอง" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์ในการผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงอำนาจจัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งในการดำเนินกิจการของ กฟน. ให้คำนึงถึงความปลอดภัยประโยชน์ของรัฐและประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 มาตรา 13 (6) และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501  เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ บริษัทประกันภัย (ผู้ฟ้องคดี) อ้างว่า กฟน. (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยไม่ดูแลจัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยต่อทรัพย์สินของประชาชน เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของนางสาว ก. ที่ผู้ฟ้องคดีได้รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย  โดยผู้ฟ้องคดีได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นางสาว ก. ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้รับประกันภั

ร่าง พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ " ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ...." เมื่อวันที่  2 เมษายน 2567  โดยมีประเด็นสำคัญที่ได้ปรับปรุงจาก พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ดังนี้ แก้ไขชื่อกฎหมายใหม่ เป็น พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... เพื่อขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ไปถึงการให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชน โดยมีหลักการสำคัญ 12 ประการ ที่ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น (Faster) ง่ายขึ้น (Easier) ค่าใช้จ่ายที่ถูกลง (Cheaper) และมีความทันสมัย (Smarter) ดังนี้ 1. มีความสะดวกมากขึ้น  (Faster) (1) การขยายขอบเขตการดำเนินการนอกเหนือจากงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาต เพื่อให้ครอบคลุมงานบริการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน (2) การให้ผู้อนุญาตมีการทบทวนกฎหมายทุก 5 ปี ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการอนุญาตเปลี่ยนเป็นจดแจ้ง การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน รวมทั้งให้มีการทบทวนคู่ม

ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้นำสืบไม่ได้ความว่ามีการวางแผนล่วงหน้า (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2567)

ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า  เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 เวลาประมาณ 17 นาฬิกา ขณะที่จำเลยกำลังเล่นตะกร้ออยู่หน้าบ้านนางเล็ก มารดาจำเลย นายจำรัส ผู้เสียหายที่ 1 และนายสุทัศน์ ผู้เสียหายที่ 2 ไปหาจำเลยที่บ้านที่เกิดเหตุ เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายทั้งสองจึงเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุแล้วออกจากบ้านที่เกิดเหตุพร้อมอาวุธปืน จากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 หลายนัด กระสุนปืนถูกบริเวณลำตัวผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายและหมดสติไป  เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ฟื้นได้สติและร้องขอน้ำดื่ม พวกของจำเลยเข้าไปรุมกระทืบ เตะ และต่อยผู้เสียหายที่ 1 จนหมดสติ ต่อมาจำเลยกับพวกช่วยกันใช้เชือกมัดมือมัดเท้าของผู้เสียหายที่ 1 แล้วนำขึ้นท้ายรถกระบะขับออกจากบ้านที่เกิดเหตุพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังคลองชลประทาน 2 ขวา แล้วจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิงศีรษะผู้เสียหายที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงแก่ความตาย  ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2548 มีผู้พบศพผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในคลองชลประทาน 2 ขวา  ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่   ศาลฎี

แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พม. ตามกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 45 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี้ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออก ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเลิกประกาศแต่งตั้งฉบับเดิม และแต่งตั้งข้าราชการในสังกัด พม. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (1) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (4) อธิบดีกรมส่งเสริมและพั

ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย แต่ศาลพิจารณาได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2566)

คดีนี้สืบเนื่องจากเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ 7788/2541 พิพากษาเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 มายื่นคำขอรับชำระหนี้  ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวยื่นฟ้องลูกหนี้ทั้งสามเป็นคดีล้มละลายหรือมีเหตุอื่นใดอันอาจทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงขาดอายุความและต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้  เจ้าหนี้อุทธรณ์ว่า เจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ทั้งสามให้ล้มละลายต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบดีอยู่แล้วนั้น  ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลาย เห็นว่า ตามรายงานความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้ใดโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสามเด็ดขาด วันที่ 23 เมษายน 2552 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำมูลหนี

ทนายความโจทก์มีสิทธิขอคัดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของจำเลยหรือไม่

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจาก ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายโจทก์ มาขอคัดใบเปลี่ยนชื่อตัว และใบเปลี่ยนชื่อสกุลของจำเลยต่ออำเภอธัญบุรี โดยทนายความโจทก์ได้ยื่นใบคำฟ้อง และใบแต่งทนายความ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียมาขอคัดเอกสารดังกล่าว เพื่อจะนำไปใช้ดำเนินคดี อำเภอธัญบุรีได้ขอหารือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ รวม 4 ประเด็น โดยมีประเด็นสำคัญว่า ทนายความเป็นผู้มีส่วนได้เสียสามารถขอคัดใบเปลี่ยนชื่อ และใบเปลี่ยนชื่อสกุลของจำเลยหรือไม่  คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการพิจารณาแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ โดยกำหนดให้บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิขอตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถุกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 9 วรรคสาม ประกอบมาตรา 11 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ทนายความจึงเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอคัดใบเปลี่ยนชื่อ และใบเปลี่ยนชื่อสกุ