บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2024

ขอข้อมูลข่าวสารมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจาก กรม ป. ได้มีหนังสือหารือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กรณีมีผู้ร้องขอข้อมูลจำนวนมาก และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับการขอข้อมูลจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คณะอนุกรรมการตอบข้อหารือตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับการขอข้อมูลจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นั้น มาตรา 11 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดว่า "...ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ร้องภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร"  การขอข้อมูลเป็นจำนวนมาก หมายถึง การขอข้อมูลข่าวสารที่มีจำนวนมากเกินความจำเป็นในการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ร้องขอ และเป็นภาระอย่างมากแก่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการจัดหาข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ส่วนกรณี การขอบ่อยครั้ง หมายถึง กรณีการขอข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก  สำหรับการพิจารณาว่าเป็นก...

ธนาคารหน่วยกิต (ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา)

ธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนโดยไม่จำกัดอายุ สามารถนำผลการเรียนหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ มาสะสมเทียบโอนและใช้ประโยชน์ในการเพิ่มคุณวุฒิการทำงาน การศึกษาต่อ เพิ่มและพัฒนาทักษะ ยกระดับวิชาชีพ ตลอดจนสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีรายละเอียดตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป) ดังนี้ 1. คำจำกัดความ   1.1 ธนาคารหน่วยกิต หมายความว่า ระบบทะเบียนสะสมหน่วยกิตและกลไกการเทียบโอนผลการเรียนที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา การฝึกอบรม การรับรองมาตรฐานอาชีพ หรือการสะสมประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติหรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษาหรือการประกอบอาชีพ และสามารถเทียบโอนหน่วยกิต ระหว่างสถานศึกษาได้   1.2 หน่วยกิต หมายความว่า หน่วยที่แสดงปริมาณของผลการเรียนที่ได้จากการศึกษา หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้จากการศึก...

บทบังคับให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมข้อสังเกต (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2566)

คดีนี้มีการโต้แย้งว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสอง เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนถูกบังคับว่า หากไม่ดำเนินการลงโทษตามมาตรา 98 จะถือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยไม่มีอิสระในการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าข้าราชการในสังกัดมีความผิดทางวินัยหรือไม่ ซึ่งทำให้ข้าราชการที่ถูกวินิจฉัยฐานความผิดจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้รับการพิจารณาวินจิฉัยและลงโทษด้วยหลักคุณธรรมจากผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (กฎหมายเดิม) เช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 100 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดของผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนหรือผู้ใดที่ไม่ดำเนินการตามมาตรา 98 โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการพิจารณาโทษทางวินัยตามมาตรา 98 ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนต้องดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ...

ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (โฉนดที่ดิน) เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 17/2567)

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชน ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส สาขาสุไหงปาดี ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542  ต่อมาศาลมีคำสั่งเรียกผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นเอกชนเข้ามาในคดี อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกโฉนดที่ดินให้แก่บิดาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทับที่ดินตามหลักฐาน น.ส. 3 ก. ของผู้ฟ้องคดี  โดยมี คำขอ ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวและให้คืนที่ดินส่วนที่ขาดให้ครบถ้วน อันมีลักษณะเป็นการตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย   แต่ เหตุแห่งการขอ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหลักฐาน น.ส. 3 ก. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันมีชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วน  ลักษณะข้อพิพาท ในคดีนี้เป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งหมายที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิ...

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กำหนดความหมายของ "เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด" หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ออก  กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ. 2549 และ  กฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ดังนี้ ข้อ 1 เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร ได้แก่ เด็กที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้   (1) ประพฤติตนเกเรหรือข่มเหงรังแกผู้อื่น   (2) มั่วสุมในลักษณะที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น   (3) เล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงการพนัน   (4) เสพสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติดให้โทษหรือของมึนเมาอย่างอื่น เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์   (4/1) ใช้พืชกระท่อม กัญชา กัญชง หรือสารสกัดจากพืชดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่ว...

การขออนุญาตฎีกา ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2565)

คดีนี้สืบเนื่องมาจาก มีการโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ที่กำหนดให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งตามมาตรา 248 ซึ่งการพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้ต้องเป็นไปตามมาตรา 249 เท่านั้น เป็นการจำกัดสิทธิการเข้าถึงความยุติธรรม การนำระบบอนุญาตมาใช้แทนระบบสิทธิ ทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุลจากศาลสูง ขาดประสิทธิภาพ สร้างความไม่เป็นธรรม ความไม่สะดวก ทำให้ล่าช้า เสียค่าใช้จ่ายสูง จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลและสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเลือกปฏิบัติในคดีแพ่ง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 68 และมาตรา 77 วรรคสาม และการแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษาโดยประธานศาลฎีกาแทนศาลฎีกาไม่สามารถกระทำได้ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 189 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 มาตรา 248 และมาตรา 249 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไ...

การไม่รับสามเณรเข้าเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจาก นายปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อ ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทำหนังสือชี้แจงว่าการจัดการศึกษาให้กับสามเณรหรือพระสงฆ์ มิใช่ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเหตุให้โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่สามารถรับสามเณรหรือพระสงฆ์เข้าเรียนกับนักเรียนทั่วไปได้ จึงตั้งกระทู้ถามว่า  1. ปัจจุบันมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ ที่ไม่อนุญาตให้สามเณรหรือพระสงฆ์เข้าเรียนกับนักเรียนทั่วไปหรือไม่ อยางไร 2. หากไม่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ ที่ระบุห้ามสามเณรหรือพระสงฆ์เข้าเรียนกับนักเรียนทั่วไป กระทรวงศึกษาธิการจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้สามเณรหรือพระสงฆ์เข้าเรียนกับนักเรียนทั่วไปได้ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอบกระทู้ถามว่า การจัดการศึกษาให้สามเณรหรือพระสงฆ์ จักดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562   โดยมาตรา 4 กำหนดให้ สำนักเรียน หมายถึง สถานศึกษาท...

กฎหมายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 29 บัญญัติให้ กฎหมายดังต่อไปนี้ เป็นกฎหมายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย     (1) กฎหมายที่มีผลใช้บังคับเฉพาะระยะเวลาหนึ่งและระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว เช่น กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยการกู้เงินของรัฐบาล (2) กฎหมายที่บัญญัติให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งและได้มีการดำเนินการตามกฎหมายนั้นแล้ว เช่น กฎหมายให้ใช้ประมวลกฎหมาย กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน กฎหมายจัดตั้งศาล กฎหมายจัดตั้งจังหวัด กฎหมายเกี่ยวกับการออกเหรียญ ธนบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กฎหมายกำหนดยศ กฎหมายกำหนดวิทยฐานะ (3) กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือการจัดตั้งหรือการจัดองค์กรของหน่วยงานของรัฐเฉพาะที่ไม่มีผลกระทบต่อประชาชน (4) กฎหมายที่กำหนดลักษณะของเครื่องแสดงวิทยฐานะ เครื่องหมาย หรือเครื่องแบบ เช่น กฎหมายกำหนดครุยวิทยฐานะ กฎหมายกำหนดเครื่องหมายราชการ กฎหมายกำหนดเครื่องแบบ (5) ประมวลกฎหมาย ...

ขายที่ดินของผู้เยาว์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567)

ผู้ร้อง (บิดา) ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91693 พร้อมสิ่งปลูกสร้างในส่วนของผู้เยาว์ทั้งสองที่ถือกรรมสิทธิ์รวมแทนผู้เยาว์ทั้งสอง ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวน ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับนางสาวจิฎาภรณ์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2542 ระหว่างสมรสมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นาย ก. ขณะยื่นคำร้องขออายุ 21 ปี นาย ส. ขณะยื่นคำร้องขออายุ 18 ปี และเด็กหญิง ส. ขณะยื่นคำร้องขออายุ 13 ปี  ผู้ร้องกับนางสาว จ. เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 91693 เนื้อที่ 85 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านพัก ในโครงการบ้านจัดสรร อ. ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้ร้องกับนางสาว จ. หย่า โดยให้ผู้ร้องกับนางสาว จ. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองร่วมกัน สำหรับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง นา...