ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (โฉนดที่ดิน) เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 17/2567)
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชน ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส สาขาสุไหงปาดี ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
ต่อมาศาลมีคำสั่งเรียกผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นเอกชนเข้ามาในคดี อ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกโฉนดที่ดินให้แก่บิดาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทับที่ดินตามหลักฐาน น.ส. 3 ก. ของผู้ฟ้องคดี
โดยมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวและให้คืนที่ดินส่วนที่ขาดให้ครบถ้วน อันมีลักษณะเป็นการตั้งรูปเรื่องการฟ้องคดีเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่เหตุแห่งการขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหลักฐาน น.ส. 3 ก. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันมีชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วน
ลักษณะข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งหมายที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดี กรณีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งไม่ว่าศาลจะวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ย่อมกระทบต่อสิทธิในทางทรัพย์สินของเอกชนทั้งสองฝ่าย เนื้อหาประเด็นหลักตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่การขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง แต่เป็นการขอให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของตนเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ที่มา
- คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 17/2567 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
มาตรา 10 "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ที่มา
- คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 17/2567 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
มาตรา 10 "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลตนและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลเดิมนั้นต่อไป
(2) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่งที่คู่ความอ้าง และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลนั้น หรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควร
(3) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติรับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็น ให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย
คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (3) ให้เป็นที่สุด และมิให้ศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปของศาลตามวรรคหนึ่งยกเรื่องเขตอำนาจศาลขั้นพิจารณาอีก
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาด้วยโดยอนุโลม"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น