คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2566)
คณะกรรมการ ป.ป.ช. โจทก์ มีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์ทำการขนส่งคน สิ่งของและไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน มีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการและมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
จำเลย และภริยาจำเลยเดินทางโดยสารเครื่องบินของบริษัท ซึ่งมีนาง พ. เดินทางโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวกันนี้มาด้วย พนักงานรับแจ้งการเดินทางออกใบขนสัมภาระของจำเลย ภริยาจำเลย และนาง พ. รวมเข้าด้วยกันในนามของภริยาจำเลย โดยระบุจำนวนสัมภาระ 30 ชิ้น น้ำหนักรวม 398 กิโลกรัม
ต่อมามีผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าว โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต ขนสัมภาระเกินสิทธิขึ้นเครื่องบิน ณ สนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยสั่งการให้นาย ก. แก้ไขตัวเลขน้ำหนักสัมภาระ ทำให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย
คณะอนุกรรมการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยมีมูลความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11
โจทก์มีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการไต่สวนดังกล่าว จึงส่งรายงานสำนวนการไต่สวนและเอกสารหลักฐานเพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องจำเลย
แต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้
หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกันแล้ว ไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ลงโทษจำคุก 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
จำเลยแก้ฎีกาว่า การกระทำที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร การสอบสวนจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ด้วยตนเอง โดยอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนไม่ได้เป็นพนักงานสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 19 (4/2) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำความผิดที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย อันเป็นการขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป จึงทำให้โจทก์มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรได้
ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดวิธีการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป เมื่อโจทก์ส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้ฟ้องคดี แต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้ หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกันแล้ว ไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 วรรคสาม
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
มาตรา 19 "คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(4/2) ไต่สวนและวินิจฉัยการกระทําความผิดที่อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งได้กระทําลงนอกราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ การประสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์แห่งการไต่สวนและวินิจฉัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มาตรา 192 วรรคสาม "เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมติให้ยื่นคําร้อง คําฟ้องต่อศาล หรือมอบอํานาจให้พนักงานไต่สวนหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไว้แล้วในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้และให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้"
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 20 "ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทําลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทําการสอบสวนแทนก็ได้..."
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีวัตถุประสงค์ทำการขนส่งคน สิ่งของและไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน มีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการและมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
จำเลย และภริยาจำเลยเดินทางโดยสารเครื่องบินของบริษัท ซึ่งมีนาง พ. เดินทางโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวกันนี้มาด้วย พนักงานรับแจ้งการเดินทางออกใบขนสัมภาระของจำเลย ภริยาจำเลย และนาง พ. รวมเข้าด้วยกันในนามของภริยาจำเลย โดยระบุจำนวนสัมภาระ 30 ชิ้น น้ำหนักรวม 398 กิโลกรัม
ต่อมามีผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าว โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต ขนสัมภาระเกินสิทธิขึ้นเครื่องบิน ณ สนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยสั่งการให้นาย ก. แก้ไขตัวเลขน้ำหนักสัมภาระ ทำให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย
คณะอนุกรรมการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของจำเลยมีมูลความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11
โจทก์มีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการไต่สวนดังกล่าว จึงส่งรายงานสำนวนการไต่สวนและเอกสารหลักฐานเพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องจำเลย
แต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้
หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกันแล้ว ไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ลงโทษจำคุก 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
จำเลยแก้ฎีกาว่า การกระทำที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร การสอบสวนจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ด้วยตนเอง โดยอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนไม่ได้เป็นพนักงานสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 19 (4/2) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำความผิดที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย อันเป็นการขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป จึงทำให้โจทก์มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรได้
ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดวิธีการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป เมื่อโจทก์ส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้ฟ้องคดี แต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้ หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่วมกันแล้ว ไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 วรรคสาม
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
มาตรา 19 "คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(4/2) ไต่สวนและวินิจฉัยการกระทําความผิดที่อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งได้กระทําลงนอกราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ การประสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์แห่งการไต่สวนและวินิจฉัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มาตรา 192 วรรคสาม "เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมติให้ยื่นคําร้อง คําฟ้องต่อศาล หรือมอบอํานาจให้พนักงานไต่สวนหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไว้แล้วในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้และให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้"
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 20 "ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทําลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทําการสอบสวนแทนก็ได้..."
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น