คำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ขาดอายุความ) (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 689/2565)
เรื่องนี้สืบเนื่องจาก นาย พ. อดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ยื่นฟ้อง สตง. เป็นคดีแพ่ง อ้างว่า เจ้าหน้าที่ของ สตง. ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เป็นเหตุให้นาย พ. ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ สตง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท และได้ยื่นหนังสือถึง สตง. เพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท
สตง. จึงหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าตามคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว หากเป็นคำขอทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กำหนดระยะเวลายื่นคำขอ จะต้องนำอายุความอาญาที่ยาวกว่าตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วยหรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2539 บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 5 หรือจะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 ก็ได้
โดยการใช้สิทธิเรียกร้อง ด้วยวิธีการยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะต้องกระทำภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่นเดียวกับการใช้สิทธิเรียกร้องด้วยวิธีการฟ้องคดีต่อศาล หากเป็นการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหาย รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด ตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทั้งนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องโดยวิธีการยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 573/2549 สรุปความได้ว่า แม้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จะมิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนภายในระยะเวลาใด แต่ก็เป็นที่เห็นได้จากเหตุผลของเรื่องว่าผู้เสียหายต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ทักษิณใหม่ทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่นเดียวกับการฟ้องคดีต่อศาล
กรณีตามข้อหารือ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาย พ. รู้เหตุและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2561 แต่ได้ยื่นคำขอให้ สตง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเดือนธันวาคม 2564 (รวมทั้งยื่นฟ้องคดีแพ่ง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564) จึงเป็นการยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ นาย พ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดดังกล่าว
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ 689/2565 (คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นในแนวทางเดียวกัน ในเรื่องเสร็จที่ 1356/2559 และเรื่องเสร็จที่ 1515/2560)
สตง. จึงหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าตามคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว หากเป็นคำขอทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กำหนดระยะเวลายื่นคำขอ จะต้องนำอายุความอาญาที่ยาวกว่าตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับด้วยหรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2539 บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 5 หรือจะยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 ก็ได้
โดยการใช้สิทธิเรียกร้อง ด้วยวิธีการยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะต้องกระทำภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่นเดียวกับการใช้สิทธิเรียกร้องด้วยวิธีการฟ้องคดีต่อศาล หากเป็นการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหาย รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด ตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทั้งนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องโดยวิธีการยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 573/2549 สรุปความได้ว่า แม้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จะมิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนภายในระยะเวลาใด แต่ก็เป็นที่เห็นได้จากเหตุผลของเรื่องว่าผู้เสียหายต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ทักษิณใหม่ทดแทน แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่นเดียวกับการฟ้องคดีต่อศาล
กรณีตามข้อหารือ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาย พ. รู้เหตุและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2561 แต่ได้ยื่นคำขอให้ สตง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเดือนธันวาคม 2564 (รวมทั้งยื่นฟ้องคดีแพ่ง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564) จึงเป็นการยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ นาย พ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดดังกล่าว
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ 689/2565 (คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นในแนวทางเดียวกัน ในเรื่องเสร็จที่ 1356/2559 และเรื่องเสร็จที่ 1515/2560)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น