บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2023

การแจ้งคำสั่งทางปกครองทางเว็บไซต์ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 1722/2566)

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ค.ศ. 3 วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2559 ผู้ฟ้องคดีได้เสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ รวม 4 รายการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 13 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2556 และหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ลับ ที่ ศธ 0206.3/ว 1 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาเลขาธิการ ก.ค.ศ. ได้มี หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ลับ ที่ ศธ 0206.3/0681 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2562 แจ้งมติของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน เนื่องจากมีรางวัลและผลงานไม่ครบ 3 รายการตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกำหนด กล่าวคือ ผลงานเทียบเคียงของผู้ฟ้องคดี จำนวน 2 รายการ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ต่อมาสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มี หนังสือที่ ศธ 0206.3/0174 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 แจ้งปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเ

ผู้รับจำนำไม่ได้ยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2566)

จำเลยที่ 1 นำข้าวเปลือกและข้าวสารไปจำนำเป็นประกันหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ แล้ว โจทก์ทำสัญญาเช่าโกดังของจำเลยที่ 1 เป็นที่เก็บรักษาทรัพย์จำนำ   แม้จำเลยที่ 1 ผู้จำนำมีสิทธิเข้าออกโกดังที่เก็บรักษาทรัพย์จำนำได้ตลอดเวลา แต่สัญญาจำนำไม่ได้ให้สิทธิจำเลยที่ 1 นำทรัพย์จำนำออกไปใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 ได้ การนำทรัพย์จำนำออกจากสถานที่เก็บรักษาเพื่อการไถ่ถอนทรัพย์จำนำก็ดี การนำทรัพย์จำนำไปขาย จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดภาระผูกพันหรือบุริมสิทธิใด ๆ กับทรัพย์จำนำก็ดี หรือการนำทรัพย์จำนำเข้าออกจากสถานที่เก็บรักษาก็ดี ล้วนแต่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ก่อนทั้งสิ้น และไม่ถือว่าทรัพย์จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด   สัญญารักษาทรัพย์จำนำก็ระบุให้ผู้รักษาทรัพย์จำนำดูแลและรักษาทรัพย์จำนำเพื่อประโยชน์ของโจทก์และแทนโจทก์เท่านั้น อีกทั้งยังระบุไว้ชัดเจนว่าผู้รักษาทรัพย์จำนำมิได้ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และไม่ได้ครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์จำนำแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้รักษาทรัพย์จำนำไม่มีสิทธิเคลื

คำพิพากษาศาลแรงงานที่ไม่มีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2566)

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ  ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป เพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น  ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง  ประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดี และถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดั

ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ (สมรสเท่าเทียม ฉบับภาครัฐ)

รูปภาพ
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ร่างกฎหมายฉบับนี้ เป็นการแก้ไขหลักกฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญจำนวนมาก สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาร่างกฎหมายฉบับนี้หรือต้องการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ครับ >> ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) >> แสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย โดยผมได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ด้วย หากมีความคืบหน้าที่น่าสนใจเพิ่มเติม ผมจะนำข้อมูลมาอัพเดตนะครับ

ชำระค่าปรับแล้วกฎหมายใหม่บัญญัติไม่เป็นความผิด ขอคืนเงินค่าปรับไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2566)

การที่จำเลยได้ชำระค่าปรับแก่ศาลไว้ แต่ต่อมามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยมีสิทธิขอคืนเงินค่าปรับหรือไม่นั้น  กรณีของจำเลยต้องตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง  บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผลการกระทำความผิดและการบังคับโทษตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วจากกันต่างหาก กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้น หากมีส่วนใดที่ยังค้างอยู่ระหว่างการบังคับก็ให้การบังคับนั้นสิ้นสุดลง ไม่มีการบังคับในส่วนที่ค้างอยู่ต่อไปเท่านั้น หาได้มีผลให้รื้อฟื้นการบังคับโทษที่เสร็จสิ้นไปแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกแต่อย่างใด โทษที่ได้รับมาแล้วต้องถือว่ายุติไปตามผลของคำพิพากษา  ดังนั้น ค่าปรับที่จำเลยชำระไปตามคำพิพากษาจนครบถ้วนแล้ว จึงถือว่าการบังคับโทษปรับเสร็จสิ้นแล้ว ไม่

อายุความฟ้องไล่เบี้ยทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 1152/2566)

บริษัท ร. ยื่นฟ้องกรมที่ดิน กับพวก เนื่องจากได้รับความเสียหายจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กรมที่ดินชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ร. พร้อมดอกเบี้ย กรมที่ดินจึงได้ชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมากรมที่ดินได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และกำหนดสัดส่วนความรับผิดของเจ้าหน้าที่ โดยปรากฏว่าเจ้าหน้าที่รายหนึ่งถึงแก่ความตายแล้ว จึงได้มีหนังสือเรียกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนำเงินมาชำระ และเมื่อไม่นำเงินมาชำระภายในกำหนด กรมที่ดินจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเป็นคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 กรมที่ดินผู้ฟ้องคดีได้ชำระเงินตามคำพิพากษา เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายในผลแห่งการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลภายนอก ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน โดยผ

การดำเนินคดีล้มละลายกับอดีตเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 832/2541)

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติภายในหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐทำละเมิด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นหรือต่างหน่วยงานกันหรือกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ระเบียบดังกล่าวมุ่งหมายที่จะใช้บังคับแก่กรณีที่เกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ   ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีละเมิดต่อทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ เมื่อได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้หน่วยงานของรัฐได้ ทั้งไม่มีหลักทรัพย์ที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ การจะดำเนินคดีล้มละลายแก่บุคคลดังกล่าว จึงไม่อยู่ในข่ายบังคับตามข้อ 27 ของระเบียบดังกล่าว ที่มา - ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 832/2541 - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539   ข้อ 27 กำหนดว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้ป

ศาลมีอำนาจริบรถยนต์ที่ใช้พาคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566)

การขับรถกระบะบรรทุกของกลาง ที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว   จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป   อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึง เจตนาของจำเลย ที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 33 บัญญัติว่า "ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ   (1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในก

ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ไม่จำต้องเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2566)

ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณี ก่อนตายผู้ตายที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 419 และ 420 โดยผู้ตายที่ 1 กับผู้ตายที่ 2 ทำประโยชน์และมีชื่อเป็นผู้ครอบครองร่วมกันตั้งแต่ปี 2516 โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ตายที่ 1 เป็นผู้ทำกินโดยปลูกข้าวและนำผลผลิตมาอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายที่ 2 หากผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตาย ก็ให้ที่ดินทั้งหมดตกเป็นสิทธิของผู้ตายที่ 1 เพียงผู้เดียว ต่อมาผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมและมิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายที่ 1 ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่ 1 กับ ศ. ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของผู้ตายที่ 2 เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึ

ผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี (มติคณะรัฐมนตรี 13 กันยายน 2566)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 อนุมัติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1. กรณีนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้   1) นายภูมิธรรม เวชยชัย   2) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน   3) นายปานปรีย์ พหิทธานุกร   4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล   5) พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ   6) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้นจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน ข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534    มาตรา 41 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2566)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้ สืบเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์ภาค 6 ส่งคำโต้แย้งของจำเลยในคดีอาญา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ซึ่งจำเลยโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่จำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษให้แก่จำเลย ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย" และ

กฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. 2566

พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 มาตรา 3 นิยามความหมายของคำว่า "สัตว์" หมายความว่า (1) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์ (2) ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโต จนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์ (3) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม (4) สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ตามบทนิยาม "สัตว์" (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้  สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวด เป็น "สัตว์ " เพื่อประโยชน์ในการกำหนดให้เป็นสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และสามารถควบคุมการดำเนินการต่อสัตว์เพื

ข้อพิพาทจากการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมของ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 50/2566)

แม้ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (National Telecom Public Company Limited : NT) จำเลย จะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แต่จำเลยก็จัดตั้งขึ้นโดยการควบรวมกิจการของ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535  โดยที่มาตรา 152 และมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบบริษัทแล้ว จะมีผลทำให้บริษัทเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคลและเกิดขึ้นเป็นบริษัทใหม่ และทำให้บริษัทที่เกิดจากการควบกันและจดทะเบียนแล้ว ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบทางแพ่งของบริษัทที่ควบเข้ากันทั้งหมด ดังนั้น จำเลยจึงรับโอนภารกิจ สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเดิมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที ซึ่งเป็น บมจ. ที่แปรรูปและรับโอนกิจการมาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิด และอาจเป็น "หน่วยงานทางปกครอง" ประเภทหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองได้ หากได้กระทำการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะหรือดำเนินกิจการท

กำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า "สถานบริการ" หมายถึง สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า และมาตรา 17 บัญญัติให้การกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ การจัดสถานที่ภายนอกและภายในเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะอาดหรือเพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ การใช้โคมไฟหรือการให้พนักงานติดหมายเลขประจำตัวในสถานบริการ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  สำหรับการกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการในแต่ละประเภท เป็นไปตาม กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ซึ่งสรุปวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการได้ดังนี้ (1) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ     - สถานบริการที่ตั้งอยู่ ในเขต พื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยพระราชกฤษฎีกา ให้เปิดทำการได้ ระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 02.00 น. ของวันรุ่งขึ้น     - สถานบริการที่ตั้งอยู่ นอกเขต พื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ หรือ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 2566

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ เป็นหน่วยงานเพื่อรองรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามพ ระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 รวมทั้งได้มีการออก  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่และอำนาจดังนี้ 1. เสนอแนะและจัดทำนโยบายล แผน และมาตรการ เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนการปฏิบัต

อดีต-ปัจจุบัน โรคต้องห้ามของการเป็นข้าราชการ (อัพเดต กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566)

ในอดีต กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้ ให้อำนาจ  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนดโรคที่เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน   โดย ในยุคนั้นได้มีการออก กฎ ก.พ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ว่าด้วยโรค  กำหนดห้ามบุคคลที่เป็นโรค 4 ชนิด เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน  ได้แก่   1. โรคเรื้อน   2. วัณโรคในระยะอันตราย   3. โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง   4. โรคพิษสุราเรื้อรัง ต่อมา ได้มีการยกเลิกกฎ ก.พ. ฉบับนี้ และให้ใช้ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 155 (พ.ศ. 2500) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ว่าด้วยโรค ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติม โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม เป็นโรคที่ต้องห้ามอีก 1 โรค รวมกับโรค 4 ชนิดเดิม เป็น 5 ชนิด  ภายหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจึงได้ออก กฎ ก.พ. เพื่อกำหนดโรคที่ต้องห้ามสำหรับการเป็นข้าราชการพลเรือนขึ้น คือ กฎ ก.พ. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบีย

การชำระหนี้ด้วยเหรียญกษาปณ์

รูปภาพ
พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 11 บัญญัติให้ เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้จะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดตามกฎกระทรวง ซึ่งมีกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องหลายฉบับกำหนดให้สามารถชำระหนี้ด้วยเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่าง ๆ ในแต่ละคราวสรุปได้ดังนี้ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เหรียญ 1 สตางค์ ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 5 บาท เหรียญ 5 , 25 , 50 สตางค์ ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 10 บาท เหรียญ 1 , 2 , 5 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 500 บาท เหรียญ 10 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 1,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญ 20 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 500 บาท เหรียญ 50 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 1,000 บาท เหรียญ 100 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 2,000 บาท เหรียญ 150 บาท ชำระหนี้ได้คราวละไม่เกิน 3,000 บาท การกำหนดจำนวนการใช้เหรียญในแต่ละครั้งก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลั่นแกล้งกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการชำระหนี้  เหรียญที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ เหรียญที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ สำหรับเหรียญกษาปณ์เนื้อเงิน ราคาตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไป และเหรียญกษ

คำพิพากษาที่ไม่แสดงข้อเท็จจริงและคำวินิจฉัยพร้อมเหตุผลในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565)

การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใด ย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดต

7 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงาน กขค.

1. เรื่องน่าสนใจเรื่องแรก ก็คือชื่อของ สำนักงาน กขค. ซึ่งหลายคนคงสะดุดกับอักษรย่อนี้ไม่น้อย สำนักงาน กขค. นี้ มีชื่อเต็มว่า สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Trade Competition Commission Thailand : TCCT 2. เดิมสำนักงาน กขค. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานภายในกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และยกเลิกกฎหมายเดิม แล้วจัดตั้งสำนักงาน กขค. ให้เป็น หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 3. สำนักงาน กขค. มีหัวหน้าหน่วยงานคือ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า  (เลขาธิการ กขค.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน กขค. ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน รวมถึงเป็นผู้แทนสำนักงาน กขค. ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกด้วย 4. ผู้ที่จะเป็น เลขาธิการ กขค. ได้ จะต้องผ่านกระบวนการสรรหา และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ กขค. แล้ว จะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ

รวมกฎหมายใช้สอบ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 2566

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) เปิดสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน จำนวน 5 ตำแหน่ง บรรจุครั้งแรก 18 อัตรา (เงินเดือนวุฒิ ป.ตรี 19,500 บาท , ป.โท 22,750 บาท) โดยต้องเป็นผู้สอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. หรือหากยังไม่มี ภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบ ภาค ก. ในครั้งนี้ได้ครับ  กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2566 (คลิกเข้าสู่ระบบรับสมัคร) สำหรับกฎหมายที่ใช้สอบ ผมได้รวมลิงก์ไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งานครับ (ถ้ามีเวลาจำกัด จำเป็นต้องเลือกอ่านที่สำคัญ ๆ ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ)  กฎหมายหลัก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561  (มาตรา 45 - 48) ระเบียบสอบสวน/พิจารณา ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการแจ้ง การร้องเรียน การแสวงหาข้อเท็จจริง และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. 2562   ประกาศผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง กำหนดเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับไว้พิจารณา ตามมาตรา 37 (8) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแ

กรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ต้องกระทำการด้วยตนเอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532)

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับนาย ช. และประทับตราสำคัญของโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าการมอบอำนาจดังฟ้อง ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทจำกัดจะดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ได้ ต้องอาศัยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทกระทำการแทน และการจะเป็นกรรมการบริษัทจำกัดได้ก็โดยการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เข้าไปดำเนินงานแทนผู้ถือหุ้นคนอื่น ดังนั้น ผู้ดำเนินงานบริษัทจำกัดได้จึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัว และต้องกระทำกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการหาได้ไม่  เมื่อ ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ระบุว่า กรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช.  ดังนั้น การที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเอง และลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช. ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริ