บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2023

อายุความฟ้องไล่เบี้ยทายาทของเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 1152/2566)

บริษัท ร. ยื่นฟ้องกรมที่ดิน กับพวก เนื่องจากได้รับความเสียหายจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กรมที่ดินชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ร. พร้อมดอกเบี้ย กรมที่ดินจึงได้ชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมากรมที่ดินได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และกำหนดสัดส่วนความรับผิดของเจ้าหน้าที่ โดยปรากฏว่าเจ้าหน้าที่รายหนึ่งถึงแก่ความตายแล้ว จึงได้มีหนังสือเรียกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนำเงินมาชำระ และเมื่อไม่นำเงินมาชำระภายในกำหนด กรมที่ดินจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเป็นคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 กรมที่ดินผู้ฟ้องคดีได้ชำระเงินตามคำพิพากษา เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายในผลแห่งการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลภายนอก ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน ...

การดำเนินคดีล้มละลายกับอดีตเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 832/2541)

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติภายในหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐทำละเมิด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นหรือต่างหน่วยงานกันหรือกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ระเบียบดังกล่าวมุ่งหมายที่จะใช้บังคับแก่กรณีที่เกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ   ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีละเมิดต่อทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ เมื่อได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ไปแล้ว แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้หน่วยงานของรัฐได้ ทั้งไม่มีหลักทรัพย์ที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ การจะดำเนินคดีล้มละลายแก่บุคคลดังกล่าว จึงไม่อยู่ในข่ายบังคับตามข้อ 27 ของระเบียบดังกล่าว ที่มา - ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 832/2541 - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539   ข้อ 27 กำหนดว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ...

ศาลมีอำนาจริบรถยนต์ที่ใช้พาคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566)

การขับรถกระบะบรรทุกของกลาง ที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว   จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป   อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึง เจตนาของจำเลย ที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 33 บัญญัติว่า "ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ   (1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้...

ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ไม่จำต้องเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2566)

ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณี ก่อนตายผู้ตายที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 419 และ 420 โดยผู้ตายที่ 1 กับผู้ตายที่ 2 ทำประโยชน์และมีชื่อเป็นผู้ครอบครองร่วมกันตั้งแต่ปี 2516 โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ตายที่ 1 เป็นผู้ทำกินโดยปลูกข้าวและนำผลผลิตมาอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายที่ 2 หากผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตาย ก็ให้ที่ดินทั้งหมดตกเป็นสิทธิของผู้ตายที่ 1 เพียงผู้เดียว ต่อมาผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมและมิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายที่ 1 ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่ 1 กับ ศ. ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของผู้ตายที่ 2 เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึ...