ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2566)
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้ สืบเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์ภาค 6 ส่งคำโต้แย้งของจำเลยในคดีอาญา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ซึ่งจำเลยโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่จำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษให้แก่จำเลย ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย" และวรรคสอง บัญญัติว่า "กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง"
ประมวลกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ในการควบคุมพฤติกรรมบุคคลในสังคม คุ้มครองความปลอดภัย รักษาความสงบสุขของสมาชิกในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของสังคม โดยกำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ ให้เป็นความผิดและกำหนดโทษทางอาญา เพื่อให้รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปกป้องคุ้มครองสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญา การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ เพื่อบังคับให้ผู้กระทำความผิดรับผลจากการกระทำความผิด
โดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้"
โทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มีผลกระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล แต่ศาลมีดุลพินิจใช้มาตรการเลี่ยงการจำคุก ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกอื่นในการปฏิบัติต่อตัวผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุกในเรือนจำหรือทัณฑสถานดังเช่นบทบัญญัติมาตรา 56 เนื่องจากกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้โอกาสผู้กระทำความผิดกลับตัวเป็นพลเมืองดี ไม่กระทำความผิดซ้ำ และกลับเข้าสู่สังคมใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข โดยการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ เพื่อไม่ให้ต้องตราบาปติดตัวว่าเคยถูกจำคุก อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของศาลด้วย ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) และวรรคสอง เพื่อความแน่นอนของสภาพบังคับและการใช้มาตรการทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับกรณีที่ศาลจะพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แก่ผู้กระทำความผิด โดยจำแนกประเภทความผิด และความหนักเบาตามลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดไว้
ซึ่งการรอการกำหนดโทษ คือ การที่ศาลพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา แต่ศาลยังไม่กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย และห้ามมิให้จำเลยกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่กำหนด หากจำเลยได้กระทำความผิดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อน บวกเข้ากับโทษในคดีหลัง ส่วนการกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ เป็นกรณีที่ศาลกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยแล้ว แต่ให้รอการลงโทษนั้นไว้เสียก่อนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หากจำเลยได้กระทำความผิดซ้ำอีกภายในกำหนดเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ ศาลอาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้ หรือถ้าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดในระหว่างที่มีการรอการลงโทษ โทษที่รอไว้จะสิ้นผลไป
โดยคดีที่ศาลจะพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดซึ่งศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นการกระทำความผิดซึ่งศาลจะลงโทษปรับสถานเดียว และผู้กระทำความผิดที่จะได้รับการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้นั้น จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) คือ ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือผู้ที่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่โทษจำคุกที่ได้รับนั้นต้องเป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือหากเคยรับโทษจำคุกมาก่อนไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดฐานใดก็ตาม แต่ผู้กระทำความผิดพ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดและลหุโทษ เนื่องจากความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มิใช่อาชญากรรมที่เป็นความผิดร้ายแรง ไม่ถือว่าผู้กระทำความผิดมีจิตใจที่ชั่วร้าย และมิใช่ผู้กระทำความผิดติดนิสัย
การที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ให้นำความผิดในอดีตมาเป็นเงื่อนไขในการใช้ดุลพินิจของศาล เพื่อพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้นั้น สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักการตรากฎหมายอาญา ที่ต้องมีความแน่นอนชัดเจน เพื่อกำหนดว่าบุคคลใดสมควรได้รับการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษตามมาตรการดังกล่าว เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการป้องกันมิให้ผู้นั้นกลับไปกระทำความผิดซ้ำ โดยนำพฤติกรรม และประวัติภูมิหลังของผู้กระทำมาประกอบการพิจารณานอกเหนือจากการพิจารณาตามความร้ายแรงของพฤติกรรมผู้กระทำความผิดด้วย เพื่อทำให้ทราบว่าผู้นั้นกระทำความผิดครั้งแรกหรือกระทำความผิดซ้ำ และทราบถึงสาเหตุการกระทำความผิด รวมทั้งพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิด อันจะทำให้การกำหนดโทษมีความเหมาะสมกับความผิดและตัวผู้กระทำความผิด และเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันมิให้ศาลใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ อันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้กระทำความผิด และผู้เสียหายซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำความผิด
นอกจากนี้ การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดข้อจำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่เคยถูกจำคุกมาก่อน เพราะหากผู้กระทำความผิดนั้นเคยต้องตราบาปมาแล้ว ว่าเคยถูกจำคุกในเรือนจำหรือทัณฑสถาน โดยมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเคยรับโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน การให้โอกาสผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้รับการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรม โดยรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ และใช้มาตรการคุมความประพฤติแทน ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดที่จะเลี่ยงการต้องตราบาปนั้นอีก
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย" และวรรคสอง บัญญัติว่า "กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง"
ประมวลกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ในการควบคุมพฤติกรรมบุคคลในสังคม คุ้มครองความปลอดภัย รักษาความสงบสุขของสมาชิกในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของสังคม โดยกำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ ให้เป็นความผิดและกำหนดโทษทางอาญา เพื่อให้รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปกป้องคุ้มครองสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญา การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ เพื่อบังคับให้ผู้กระทำความผิดรับผลจากการกระทำความผิด
โดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้"
โทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มีผลกระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล แต่ศาลมีดุลพินิจใช้มาตรการเลี่ยงการจำคุก ซึ่งเป็นมาตรการทางเลือกอื่นในการปฏิบัติต่อตัวผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุกในเรือนจำหรือทัณฑสถานดังเช่นบทบัญญัติมาตรา 56 เนื่องจากกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้โอกาสผู้กระทำความผิดกลับตัวเป็นพลเมืองดี ไม่กระทำความผิดซ้ำ และกลับเข้าสู่สังคมใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข โดยการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ เพื่อไม่ให้ต้องตราบาปติดตัวว่าเคยถูกจำคุก อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของศาลด้วย ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) และวรรคสอง เพื่อความแน่นอนของสภาพบังคับและการใช้มาตรการทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับกรณีที่ศาลจะพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แก่ผู้กระทำความผิด โดยจำแนกประเภทความผิด และความหนักเบาตามลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดไว้
ซึ่งการรอการกำหนดโทษ คือ การที่ศาลพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา แต่ศาลยังไม่กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย และห้ามมิให้จำเลยกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่กำหนด หากจำเลยได้กระทำความผิดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อน บวกเข้ากับโทษในคดีหลัง ส่วนการกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ เป็นกรณีที่ศาลกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยแล้ว แต่ให้รอการลงโทษนั้นไว้เสียก่อนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หากจำเลยได้กระทำความผิดซ้ำอีกภายในกำหนดเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ ศาลอาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้ หรือถ้าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดในระหว่างที่มีการรอการลงโทษ โทษที่รอไว้จะสิ้นผลไป
โดยคดีที่ศาลจะพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดซึ่งศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นการกระทำความผิดซึ่งศาลจะลงโทษปรับสถานเดียว และผู้กระทำความผิดที่จะได้รับการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้นั้น จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) คือ ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือผู้ที่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่โทษจำคุกที่ได้รับนั้นต้องเป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือหากเคยรับโทษจำคุกมาก่อนไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดฐานใดก็ตาม แต่ผู้กระทำความผิดพ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดและลหุโทษ เนื่องจากความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มิใช่อาชญากรรมที่เป็นความผิดร้ายแรง ไม่ถือว่าผู้กระทำความผิดมีจิตใจที่ชั่วร้าย และมิใช่ผู้กระทำความผิดติดนิสัย
การที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ให้นำความผิดในอดีตมาเป็นเงื่อนไขในการใช้ดุลพินิจของศาล เพื่อพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้นั้น สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักการตรากฎหมายอาญา ที่ต้องมีความแน่นอนชัดเจน เพื่อกำหนดว่าบุคคลใดสมควรได้รับการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษตามมาตรการดังกล่าว เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับหลักการลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการป้องกันมิให้ผู้นั้นกลับไปกระทำความผิดซ้ำ โดยนำพฤติกรรม และประวัติภูมิหลังของผู้กระทำมาประกอบการพิจารณานอกเหนือจากการพิจารณาตามความร้ายแรงของพฤติกรรมผู้กระทำความผิดด้วย เพื่อทำให้ทราบว่าผู้นั้นกระทำความผิดครั้งแรกหรือกระทำความผิดซ้ำ และทราบถึงสาเหตุการกระทำความผิด รวมทั้งพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิด อันจะทำให้การกำหนดโทษมีความเหมาะสมกับความผิดและตัวผู้กระทำความผิด และเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณารอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันมิให้ศาลใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ อันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้กระทำความผิด และผู้เสียหายซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำความผิด
นอกจากนี้ การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดข้อจำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่เคยถูกจำคุกมาก่อน เพราะหากผู้กระทำความผิดนั้นเคยต้องตราบาปมาแล้ว ว่าเคยถูกจำคุกในเรือนจำหรือทัณฑสถาน โดยมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเคยรับโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือน การให้โอกาสผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้รับการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรม โดยรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ และใช้มาตรการคุมความประพฤติแทน ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดที่จะเลี่ยงการต้องตราบาปนั้นอีก
ศาลจึงต้องให้น้ำหนักแก่การคุ้มครองบุคคลอื่นในสังคมที่มีสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบเป็นสำคัญ อีกทั้งการใช้ดุลพินิจของศาลในการรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาตามความเหมาะสมแก่สภาพความผิด พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิด ได้แก่ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานี ซึ่งศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ ให้ผู้กระทำความผิดต้องปฏิบัติโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นรายกรณี อันเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิของผู้กระทำความผิด สิทธิของผู้เสียหาย และการคุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณะและความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะที่จะได้รับตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กับผลกระทบจากการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแล้ว เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน
ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น