บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2023

คำพิพากษาที่ไม่แสดงข้อเท็จจริงและคำวินิจฉัยพร้อมเหตุผลในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565)

การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใด ย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดต...

7 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสำนักงาน กขค.

1. เรื่องน่าสนใจเรื่องแรก ก็คือชื่อของ สำนักงาน กขค. ซึ่งหลายคนคงสะดุดกับอักษรย่อนี้ไม่น้อย สำนักงาน กขค. นี้ มีชื่อเต็มว่า สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Trade Competition Commission Thailand : TCCT 2. เดิมสำนักงาน กขค. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานภายในกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และยกเลิกกฎหมายเดิม แล้วจัดตั้งสำนักงาน กขค. ให้เป็น หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 3. สำนักงาน กขค. มีหัวหน้าหน่วยงานคือ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า  (เลขาธิการ กขค.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน กขค. ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน รวมถึงเป็นผู้แทนสำนักงาน กขค. ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกด้วย 4. ผู้ที่จะเป็น เลขาธิการ กขค. ได้ จะต้องผ่านกระบวนการสรรหา และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ กขค. แล้ว จะมีวาระการดำรงตำแหน่งครา...

รวมกฎหมายใช้สอบ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 2566

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) เปิดสอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน จำนวน 5 ตำแหน่ง บรรจุครั้งแรก 18 อัตรา (เงินเดือนวุฒิ ป.ตรี 19,500 บาท , ป.โท 22,750 บาท) โดยต้องเป็นผู้สอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. หรือหากยังไม่มี ภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบ ภาค ก. ในครั้งนี้ได้ครับ  กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2566 (คลิกเข้าสู่ระบบรับสมัคร) สำหรับกฎหมายที่ใช้สอบ ผมได้รวมลิงก์ไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งานครับ (ถ้ามีเวลาจำกัด จำเป็นต้องเลือกอ่านที่สำคัญ ๆ ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ)  กฎหมายหลัก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561  (มาตรา 45 - 48) ระเบียบสอบสวน/พิจารณา ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการแจ้ง การร้องเรียน การแสวงหาข้อเท็จจริง และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. 2562   ประกาศผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง กำหนดเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับไว้พิจารณา ตามมาตรา 37 (8) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธ...

กรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ต้องกระทำการด้วยตนเอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532)

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับนาย ช. และประทับตราสำคัญของโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าการมอบอำนาจดังฟ้อง ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทจำกัดจะดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ได้ ต้องอาศัยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทกระทำการแทน และการจะเป็นกรรมการบริษัทจำกัดได้ก็โดยการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เข้าไปดำเนินงานแทนผู้ถือหุ้นคนอื่น ดังนั้น ผู้ดำเนินงานบริษัทจำกัดได้จึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัว และต้องกระทำกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการหาได้ไม่  เมื่อ ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ระบุว่า กรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช.  ดังนั้น การที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเอง และลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช. ในคำฟ้อง จึงไม...

สัญญาประกันภัยไม่มีแบบ เกิดขึ้นเมื่อคำเสนอคำสนองตรงกัน ไม่ใช่วันออกกรมธรรม์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12377/2558)

คดีนี้เกิดจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ชนกับรถยนต์ของ อ. ซึ่งมีโจทก์บริษัทรับประกันภัยรถยนต์ของ อ. เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อรถยนต์แล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิด จำเลยฎีกาว่า เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อโจทก์ การที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิได้ ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจเห็นว่า สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน ตามคำขอเอาประกันภัยรถยนต์ ระบุว่า อ. ขอเอาประกันภัยรถยนต์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 โดยมีความประสงค์ให้กรมธรรม์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 แม้ตามกรมธรรม์จะระบุวันทำสัญญาประกันภัยวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แต่การที่โจทก์ยินยอมระบุให้ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 สิ้นสุดวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ตามคำขอเอาประกันภัยของ อ. ถือได้ว่าเป็นคำสนองตอบรับคำเสนอตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 สัญญาหาได้เกิดข...

บรรยายฟ้องว่าทหารกับเอกชนกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 43/2566)

คดีนี้จําเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนายทหารประทวนประจําการ แม้จะเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารตามมาตรา 16 (3) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 แต่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยบรรยายฟ้องว่า จําเลยทั้งสามกับกลุ่มชายไทยไม่แน่ชัดว่าเป็นทหารหรือพลเรือนปะปนกันประมาณ 10 คน ได้ร่วมกันบุกรุกเข้ามาในพื้นที่เหมืองเขาวังปลา 1 และ 2 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ อันเป็นการกระทําโดยไม่มีเหตุสมควร ไม่มีสิทธิและอํานาจตามกฎหมาย โดยจําเลยได้ร่วมกันนําลวดหนามซึ่งใช้ในราชการทหารหรือลวดหนามหีบเพลงกีดขวางปิดกั้นทางเข้าออก ทําให้ไม่สามารถเดินทางออกได้ ซึ่งภายในพื้นที่พิพาทมีทรัพย์สินของโจทก์และบ้านพักคนงานโจทก์ เป็นการรบกวนสิทธิการครอบครองพื้นที่ของโจทก์ ดังนี้ การฟ้องว่าจําเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอํานาจศาลทหารกระทําผิดด้วยกัน คดีจึงไม่อยู่ในอํานาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14 (1) แต่เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ที่มา - คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 43/2566 , เว็บ...

แนวทางการดำเนินคดีของรัฐ

เนื่องจาก  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับ โดยกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งและคดีปกครอง รวมทั้งองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อปรับปรับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 (แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 221 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2566) มีมติให้ ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี รวม 5 ครั้ง และเห็นชอบแนวทางการดำเนินคดีตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินคดีดังกล่าวอีกครั้ง (แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/ว 312 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2562) โดยมีแนวทางการดำเนินคดีดังนี้ 1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี รวม 5 ครั้ง 1) มติคณ...

ปลอมธนบัตรและนำออกใช้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566)

จำเลยฎีกาว่า ความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และความผิดฐานปลอมเงินตรา เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นหลายกรรม ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว   จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 เพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป  เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียว ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 240 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่...

อุทธรณ์คำพิพากษา ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2565)

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน  คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ  สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงบัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจะได้รับการพิจารณาจากศาลเพียงชั้นเดียว ยกเว้นเป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาตามกรณีมาตรา 45 (1) ถึง (5) จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้  การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ทำนองว่า คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไม่เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา โดยมิได้พิจารณาถึงเจตนาที่แท้จริง จึงเป็นการวินิจฉัยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น แต่เนื้อหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องล้วนเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยคดีผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอ...

การหักเงินเดือนชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.100/2565)

คดีนี้สืบเนื่องมาจาก นาย น. ผู้เป็นสมาชิกสภาทนายความและสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทย จำกัด ยื่นฟ้องสภาทนายความ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการสภาทนายความ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยฟ้องว่า พนักงานหรือลูกจ้างของสภาทนายความได้กู้ยืมเงินสหกรณ์และค้ำประกันหลายรายรวมกันกว่าสิบล้านบาท ซึ่งเดิมสภาทนายความเคยหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ แต่ต่อมาไม่มีการหักเงิน อาจทำให้สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ได้รับความเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ในการหักเงิน เป็นการจงใจละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการหักเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ฯ และขอให้มีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาโดยเร่งด่วน และให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลซึ่งถูกละเมิดหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ให้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาล รวมถึงการฟ้องหน่วยงานของรัฐ (ตามมาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 41 (3)) แต่การใช้สิทธิทาง...

การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของหน่วยงานของรัฐ

กระทรวงการคลังมีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง และกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งโดยหลักทั่วไปส่วนราชการผู้เป็นเจ้าของคดี จะต้องหารือกระทรวงการคลังก่อนจะทำ การตกลงประนีประนอมยอมความและการถอนฟ้องคดีในชั้นศาล  แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติ กระทรวงการคลังไม่ได้เข้าร่วมเป็นคู่ความในคดี และไม่ทราบกระบวนการพิจารณาและฐานะคดีมาตั้งแต่แรก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินคดี และสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งขึ้น โดยให้ ส่วนราชการเจ้าของคดีสามารถใช้ดุลยพินิจร่วมกับพนักงานอัยการ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการประนีประนอมยอมความสำหรับคดีแพ่งบางประเภทได้ โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2,000,000 บาท ไม่ว่าส่วนราชการจะเป็นโจทก์หรือจำเลย      - หากส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการผู้ดำเนินคดี มีความเห็นสอดคล้อง เป็นประการใด ให้พิจารณาดำเนินการตามความเห็นดังกล่าวได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ และไม่ต้อ...

หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2562)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 420,551.40 บาท พร้อมดอกเบี้ย  จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลย และไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องคดีในศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ถือว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ ว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ส. ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จึงต้องอาศัยหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนหรือไม่ เมื่อหนังสือมอบอำนาจโจทก์ปิดอากรแสตมป์แล้ว แต่ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ย่อมถือว่ายังไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติไว้ จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์ดำเนินการเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินในหนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาแล้ว ย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้ออื่นนอกจากนี้ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2562 , ระบบสืบค้นคำ...

การฟ้องคดีแพ่ง ไม่ใช่การทำนิติกรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529)

เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิ ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือ ผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล  กรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี การฟ้องคดีแพ่ง มิใช่เป็นการทำนิติกรรม เพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112 (มาตรา 149 ปัจจุบัน)  หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55  ดังนั้น แม้ ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149  บัญญัติว่า "นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ" - ประมวลกฎห...

ลูกหนี้มอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ แล้วหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินคืน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2836/2564)

ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาทของบิดาจำเลย โดยจำเลยนำมามอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตาม สัญญา กู้ยืมเงิน แม้ ผู้เสียหายในฐานะผู้ให้กู้ยืม จะไม่มีสิทธิยึดหน่วง โฉนดที่ดินพิพาทไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ยืมไม่เกี่ยวกับตัวโฉนดที่ดินพิพาท แต่เมื่อข้อตกลงตาม สัญญา กู้ยืมเงิน ข้อ 4 ระบุว่าผู้กู้นำโฉนดที่ดินพิพาทมาให้ผู้ให้กู้ เพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม อันเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นบุคคลสิทธิ บังคับกันได้ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย ย่อมมีผลทำให้ ผู้เสียหายผู้ให้กู้มีสิทธิ ยึดถือทรัพย์ ที่นำมาประกันไว้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา เมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้แก่ผู้เสียหายครบถ้วน จึงไม่มีสิทธิ์ขอคืนโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้เสียหาย การที่จำเลยมาขอรับโฉนดที่ดินพิพาทคืนไปจากผู้เสียหาย โดยหลอกลวง ว่าจะเอาโฉนดที่ดินพิพาทไปกู้ยืมเงินบุคคลอื่น แล้วนำเงินมาชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย จนผู้เสียหายหลงเชื่อมอบโฉนดที่ดิน พิพาทให้จำเลยไป แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระให้ผู้เสียหายตามข้อตกลง ทำให...

บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องบิดาได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2564)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่า เป็นการห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น แม้โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้ว แต่ผู้ตายกับมารดาของโจทก์ทั้งสามมิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ทั้งสามจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ต่อเมื่อผู้ตายและมารดาของโจทก์ทั้งสามได้สมรสกันในภายหลัง หรือผู้ตายได้จดทะเบียนว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 บัญญัติไว้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามจึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นย่าของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามก็ไม่ต้องห้าม มิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2564 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือค...