บรรยายฟ้องว่าทหารกับเอกชนกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 43/2566)
คดีนี้จําเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนายทหารประทวนประจําการ แม้จะเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารตามมาตรา 16 (3) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
แต่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยบรรยายฟ้องว่า จําเลยทั้งสามกับกลุ่มชายไทยไม่แน่ชัดว่าเป็นทหารหรือพลเรือนปะปนกันประมาณ 10 คน ได้ร่วมกันบุกรุกเข้ามาในพื้นที่เหมืองเขาวังปลา 1 และ 2 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ อันเป็นการกระทําโดยไม่มีเหตุสมควร ไม่มีสิทธิและอํานาจตามกฎหมาย โดยจําเลยได้ร่วมกันนําลวดหนามซึ่งใช้ในราชการทหารหรือลวดหนามหีบเพลงกีดขวางปิดกั้นทางเข้าออก ทําให้ไม่สามารถเดินทางออกได้ ซึ่งภายในพื้นที่พิพาทมีทรัพย์สินของโจทก์และบ้านพักคนงานโจทก์ เป็นการรบกวนสิทธิการครอบครองพื้นที่ของโจทก์
ดังนี้ การฟ้องว่าจําเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอํานาจศาลทหารกระทําผิดด้วยกัน คดีจึงไม่อยู่ในอํานาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14 (1) แต่เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ที่มา
- คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 43/2566 , เว็บไซต์สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
- พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
แต่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยบรรยายฟ้องว่า จําเลยทั้งสามกับกลุ่มชายไทยไม่แน่ชัดว่าเป็นทหารหรือพลเรือนปะปนกันประมาณ 10 คน ได้ร่วมกันบุกรุกเข้ามาในพื้นที่เหมืองเขาวังปลา 1 และ 2 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ อันเป็นการกระทําโดยไม่มีเหตุสมควร ไม่มีสิทธิและอํานาจตามกฎหมาย โดยจําเลยได้ร่วมกันนําลวดหนามซึ่งใช้ในราชการทหารหรือลวดหนามหีบเพลงกีดขวางปิดกั้นทางเข้าออก ทําให้ไม่สามารถเดินทางออกได้ ซึ่งภายในพื้นที่พิพาทมีทรัพย์สินของโจทก์และบ้านพักคนงานโจทก์ เป็นการรบกวนสิทธิการครอบครองพื้นที่ของโจทก์
ดังนี้ การฟ้องว่าจําเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอํานาจศาลทหารกระทําผิดด้วยกัน คดีจึงไม่อยู่ในอํานาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14 (1) แต่เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ที่มา
- คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 43/2566 , เว็บไซต์สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
- พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
มาตรา 14 บัญญัติว่า "คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร"
มาตรา 16 บัญญัติว่า "บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(1) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
(2) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(3) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(4) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
(5) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
(6) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
(7) บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
(8) เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร"
(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร"
มาตรา 16 บัญญัติว่า "บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(1) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
(2) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(3) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(4) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
(5) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
(6) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
(7) บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
(8) เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น