การหักเงินเดือนชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.100/2565)
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก นาย น. ผู้เป็นสมาชิกสภาทนายความและสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทย จำกัด ยื่นฟ้องสภาทนายความ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการสภาทนายความ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยฟ้องว่า พนักงานหรือลูกจ้างของสภาทนายความได้กู้ยืมเงินสหกรณ์และค้ำประกันหลายรายรวมกันกว่าสิบล้านบาท ซึ่งเดิมสภาทนายความเคยหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ แต่ต่อมาไม่มีการหักเงิน อาจทำให้สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ได้รับความเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ในการหักเงิน เป็นการจงใจละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการหักเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ฯ และขอให้มีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาโดยเร่งด่วน และให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลซึ่งถูกละเมิดหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ให้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาล รวมถึงการฟ้องหน่วยงานของรัฐ (ตามมาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 41 (3))
แต่การใช้สิทธิทางศาลจะต้องสอดคล้องกับมาตรา 197 ที่บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง โดยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องอำนาจศาลและเงื่อนไขการฟ้องคดี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดย "หน้าที่" ดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในทางปกครอง อันมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองในการจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ ควบคุมมรรยาทของทนายความ ผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิกสภาทนายความที่ได้รับความเดือดร้อน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย ตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ดังนั้น กิจการที่ดำเนินการในขอบวัตถุประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น ที่จะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองที่กฎหมายให้อำนาจไว้
เมื่อคดีนี้ เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องจากการที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ละเลยต่อหน้าที่ในการหักเงินเดือน ค่าจ้างหรือเงินอื่นใด เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ การหักเงินเดือนฯ ดังกล่าว เป็นเพียงการใช้อำนาจในการบริหารกิจการภายในของผู้ถูกฟ้องคดี โดยไม่ได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ในฐานะหน่วยงานทางปกครองแต่อย่างใด
ส่วนหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนนั้น เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน รวมทั้งภาระผูกพันอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งคู่สัญญาได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันเกี่ยวเนื่องจากสัญญาดังกล่าว จึงเป็นนิติสัมพันธ์ทางแพ่ง
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ดำเนินการหักเงินเดือนเพื่อส่งใช้หนี้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ
ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และมีคำสั่งว่าเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาคำขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ฟ้องคดี และคำขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
ที่มา คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.100/2565 , ระบบสืบค้นข้อมูลคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลซึ่งถูกละเมิดหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ให้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาล รวมถึงการฟ้องหน่วยงานของรัฐ (ตามมาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 41 (3))
แต่การใช้สิทธิทางศาลจะต้องสอดคล้องกับมาตรา 197 ที่บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง โดยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องอำนาจศาลและเงื่อนไขการฟ้องคดี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดย "หน้าที่" ดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในทางปกครอง อันมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ใช่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองในการจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ ควบคุมมรรยาทของทนายความ ผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิกสภาทนายความที่ได้รับความเดือดร้อน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย ตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ดังนั้น กิจการที่ดำเนินการในขอบวัตถุประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น ที่จะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองที่กฎหมายให้อำนาจไว้
เมื่อคดีนี้ เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องจากการที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ละเลยต่อหน้าที่ในการหักเงินเดือน ค่าจ้างหรือเงินอื่นใด เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ การหักเงินเดือนฯ ดังกล่าว เป็นเพียงการใช้อำนาจในการบริหารกิจการภายในของผู้ถูกฟ้องคดี โดยไม่ได้ใช้อำนาจทางปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ในฐานะหน่วยงานทางปกครองแต่อย่างใด
ส่วนหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนนั้น เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน รวมทั้งภาระผูกพันอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งคู่สัญญาได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันเกี่ยวเนื่องจากสัญญาดังกล่าว จึงเป็นนิติสัมพันธ์ทางแพ่ง
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ดำเนินการหักเงินเดือนเพื่อส่งใช้หนี้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ
ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และมีคำสั่งว่าเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาคำขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ฟ้องคดี และคำขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
ที่มา คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.100/2565 , ระบบสืบค้นข้อมูลคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น