บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2023

ฟ้องอาญาไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2556)

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี... (5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดว่าเหตุเกิดที่ใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)  แต่การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปจนเสร็จสิ้นแล้ว   ศาลฎีกาจำต้องยกฟ้องโดยไม่จำต้องพิจารณาปัญหาอื่นอีก และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2556 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องแ...

ลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิด (ป.พ.พ. มาตรา 206)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 บัญญัติว่า "ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด" คือ เมื่อลูกหนี้ได้ทำละเมิด (ป.พ.พ. มาตรา 420) ถือว่าหนี้ถึงกำหนดชำระ และลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที (ตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด) ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด   (มาตรา 420 บัญญัติว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น") ตัวอย่าง   - เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ก. ขับรถชน ข. ถือว่า ก. ตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2565 - ฎ.2361/2515 (ประชุมใหญ่) การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้ในกรณีละเมิดนั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด และกฎหมายก็บัญญัติไว้ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิด จึงต้องเสียดอ...

โต้แย้งอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล โดยไม่ทำตามวิธีการของกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7951/2551)

จำเลยยื่นฎีกาว่า คดีนี้เป็นคดีปกครอง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง มิใช่ศาลยุติธรรม  ศาลฎีกาคณะคดีปกครองเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้อง ก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนายโดยเร็ว..."  ข้อเท็จจริงได้ความว่า การโต้แย้งเขตอำนาจศาลของจำเลยในคดีนี้ เป็นการโต้แย้งไว้ใน คำให้การ ไม่ได้ทำเป็น คำร้อง ยื่นต่อศาลแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องเห็นเอง ว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น  ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคสาม  ดังนั้น เมื่อปรากฏ...

รวมลิงก์ กำหนดเวลาดำเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

9 กุมภาพันธ์ 2565   กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กระทู้ถามที่ 364 ร. เรื่อง ปัญหาระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม (ของ นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย)  25 ตุลาคม 2565   พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565   บัญญัติให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่อไปนี้ มีหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ   (1) กระทรวงกลาโหม   (2) กระทรวงมหาดไทย   (3) กระทรวงยุติธรรม   (4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   (5) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน   (6) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ   (7) คณะกรรมการการเลือกตั้ง   (8) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ   (9) ศาล   (10) องค์กรอัยการ   (11) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา 23 มกราคม 2566   ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566  ,  ดูเพิ่มเติม (ศาลชั้นต้น) , (ศาลชั้นอุทธรณ์) , (ศาลฎีกา) 26 ม...

ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (ศาลฎีกา)

การกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมเป็นไปตาม ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566 เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยในส่วนของศาลฎีกามีสาระสำคัญ ดังนี้  ระยะเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลฎีกา     (1) คดีแพ่งและคดีอาญา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ในส่วน คดีอาญาที่มีปัญหาเฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น   (2) คดีที่ต้องทำการไต่สวนหรือสืบพยานในศาลฎีกา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มไต่สวนหรือสืบพยาน   (3) คำร้องขออนุญาตฎีกา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ระยะเวลาในการพิจารณาคำร้อง คำขอระหว่างการพิจารณาในศาลฎีกา   (1) คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับคำร้อง   (2) คำสั่ง คำร้องทั่วไป ...

ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (ศาลชั้นอุทธรณ์)

การกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมเป็นไปตาม ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566 เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยในส่วนของศาลชั้นอุทธรณ์มีสาระสำคัญ ดังนี้  ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ   เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคดี ให้จำแนกลักษณะหรือประเภทคดี ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (1) คดีเร่งพิเศษ  คือ คดีลักษณะที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน สามารถพิจารณาพิพากษาคดีได้โดยเร็ว หรือคดีที่ประธานศาลอุทธรณ์ภาคหรือประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แล้วแต่กรณีกำหนดให้เป็นคดีเร่งพิเศษ โดย ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น  เช่น   (ก) คดีที่มีปัญหาเฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ   (ข) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่สูง   (ค) คดีที่เกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย   (ง) คดีที่ผู้ประกันขอให้งดหรือลดค่าปรับ   (จ) คดีที่คู่ความโต้เถียงเฉพาะในปร...

ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม (ศาลชั้นต้น)

การกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมเป็นไปตาม ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566 เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยในส่วนของศาลชั้นต้นมีสาระสำคัญ ดังนี้  เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคดี ให้จำแนกลักษณะหรือประเภทคดีออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) คดีจัดการพิเศษ คือ คดีลักษณะที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะพิจารณาให้เสร็จได้ภายในนัดเดียว หรือในวันหนึ่งสามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จได้หลายคดี หรือสามารถส่งเอกสารแทนการสืบพยานได้ หรือคดีประเภทอื่นที่ผู้รับผิดชอบในราชการของศาลเห็นสมควรให้ดำเนินการอย่างคดีจัดการพิเศษ โดย ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับฟ้อง ดังนี้   (ก) คดีแพ่ง      1) คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก หรือคดีผู้บริโภค ไม่ว่าจำเลยจะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ตาม      2) คดีไม่มีข้อพิพาท เช่น ร้องขอจัดการมรดก ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นต้น ไม่ว่าจะมีผู...

ระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออก ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 อันจะเป็นประโยชน์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยสะดวกและรวดเร็ว โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ดังนี้ "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่น ให้คดีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณา ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง เว้นแต่กรณีไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญอาจกำหนดระยะเวลาใหม่ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดก็ได้" นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มี "ระบบติดตามคดีรัฐธรรมนูญ" เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อ...

ลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้จัดการสหกรณ์

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ได้ออก ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ พ.ศ. 2566 โดยกำหนดลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ไว้ ดังนี้ 1. เป็นผู้ที่สหกรณ์ หรือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ฟ้องดำเนินคดี ในทางแพ่งหรือทางอาญา ในข้อกล่าวหาที่กระทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย (แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ หรือดำเนินกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์หรือขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์) ซึ่งศาลได้รับฟ้อง หรือประทับรับฟ้องแล้ว หรือเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่สหกรณ์ในการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์ 2. มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจการใด ๆ อันผิดกฎหมาย ที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือฉ้อโกงประชาชน หรือเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด 3. เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย 4. เป็นผู้ที่สำนักงาน...

ผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 ประชุมใหญ่)

ศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่ มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาเพียงคนเดียว  เป็นกรณีที่ศาลแขวงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้   คำพิพากษาศาลแขวง จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่มา  - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 (ประชุมใหญ่) , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - พระธรรมนูญศาลยุติธรรม   มาตรา 17 บัญญัติว่า "ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่...

หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948/2555 ประชุมใหญ่)

โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน กับบริษัท อ. เพื่อดำเนินกิจการของโรงเรียน อันมีโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เป็นหุ้นส่วน  เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้ในกระบวนการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1033 วรรคหนึ่ง   โจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948/2555 (ประชุมใหญ่) , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 1033 บัญญัติว่า "ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใดซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้   ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน"

ขับไล่ออกจากบ้าน ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4104/2564)

การที่จำเลย ขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน ถือได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6)  ส่วนการที่ จำเลยพาโจทก์และบุตรทั้งสามไปเที่ยวพักผ่อนค้างคืนด้วยกัน เป็นเพียงการดูแลให้ความอบอุ่นแก่บุตรตามสมควรเท่านั้น ยังไม่เพียงพอให้ถือว่าเป็นการที่โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยในเหตุที่โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1518 โจทก์มีอาชีพรับราชการถือว่าเป็นอาชีพมั่นคงมีรายได้แน่นอน ส่วนจำเลยมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลถือเป็นอาชีพมีรายได้ไม่มั่นคงเท่ากับโจทก์  ประกอบกับได้ความว่า โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่อยู่กับโจทก์ในทุกเรื่อง ทั้งยังอุปการะดูแลชำระค่าเล่าเรียน และให้ค่าใช้จ่ายรายวันแก่บุตรอีกคนซึ่งอยู่กับจำเลยด้วย บุตรที่อยู่กับโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีลักษณะส่อไปในทางไม่เหมาะสม ส่วนบุตรที่อยูในความดูแลของจำเลยกลับมีอุปนิสัยเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าวเอาแต่ใจ และขาดเรียนบ่อยครั้ง  นอกจากนี้การให้บุตรทั้งสองซึ่งเป็นพี่น้องกันได้อยู่ใกล้ชิดร่วมกัน รวมทั้งได้อยู่กับมารดาและพี่ส...

ยื่นบัญชีระบุพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ถือเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานตลอดทั้งเรื่อง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2505 ประชุมใหญ่)

โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2504 ต่อมาวันที่ 24 ก่อนไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ยื่นบัญชีพยานต่อศาล  แม้บัญชีพยานของโจทก์จะใช้คำว่า "บัญชีพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง" ก็ดี ศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมแล้วเห็นว่า คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์นั้น ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน ฉะนั้น จะถือว่าการระบุพยานของโจทก์ เป็นการระบุเฉพาะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์ประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานตามบัญชีพยานของตนตลอดทั้งเรื่อง ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2505 (ประชุมใหญ๋) , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   มาตรา 229/1 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 173/1 ในการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณา โจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน โดยแสดงถึงประเภทและลักษณะของวัตถุ สถานที่พอสังเขป หรือเอกสารเท่าที่จะระบุได้ รวมทั้งรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะนำสืบ หรือขอให้ศาลไปตรวจหรือแต่งตั้งต่อศาลไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยาน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานหลักฐานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้จำเ...

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)

รูปภาพ
ข้อ 1 ข้อใดเป็นกลไกรองรับการจ้างงานตาม Government Employee System ก. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ข. ระบบการบริหารกำลังคง ค. ระบบสัญญาจ้าง ง. ระบบการบริหารงบประมาณ ข้อ 2 ข้อใดมิใช่ปรัชญาของระบบพนักงานราชการ ก. เป็นทางเลือกการจ้างงานภาครัฐที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ข. เป็นการจ้างตามหลักสมรรถนะ และผลสัมฤทธิ์ของงาน ค. ไม่เป็นการจ้างงานตลอดชีพ ง. เน้นงานบริการทั่วไป ข้อ 3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด ก. 1 มกราคม 2547 ข. 16 มกราคม 2547 ค. 17 มกราคม 2547 ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 4 กฎหมายแม่บทของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ก. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ค. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 5 ข้อใดคือความหมายของ "พนักงานราชการ" ก. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยได้รับเ่งินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ข. บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะประจำเช่วนเดียวกับข้าราชกา...

หลอกขายข้อสอบกฎหมายให้ นศ.ราม ผิดฉ้อโกง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531)

คดีนี้โจทก์มีนางสาว ม. เบิกความว่า พบจำเลยอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง กำลังขายข้อสอบซึ่งเป็นข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จำเลยบอกพยานว่าเป็นข้อสอบที่ได้มาจากรุ่นน้องที่ทำงานอยู่กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง  นาย ว. ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเบิกความว่า ขณะที่ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงานมาบอกว่ามีคนขายข้อสอบอยู่หน้ามหาวิทยาลัย พยานไปที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย เห็นจำเลยกำลังขายข้อสอบชุดวิชา LA 331 กับ LA 408 จำเลยพูดประกาศโฆษณาว่าเป็นข้อสอบที่จะออกสอบในภาค 2 แน่นอน  พลตำรวจสุรัตน์  กับพลตำรวจสมเกียรติ เบิกความว่า ร้อยตำรวจโทสุทธินาท สั่งให้ไปสังเกตการณ์หน้ามหาวิทยาลับรามคำแหง เพราะอาจารย์ชูศักดิ์แจ้งว่ามีคนขายข้อสอบ อ้างว่าเป็นข้อสอบที่จะใช้ออกสอบในภาค 2 ของปี พ.ศ. 2525 (น่าจะเป็น 2526) พยานทั้งสองไปพบจำเลยโฆษณาขายข้อสอบอยู่ 2 วิชา จำเลยว่าข้อสอบที่ขายนั้น จำเลยได้มาจากอาจารย์ซึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้ เป็นข้อสอบที่จะออกสอบในภาค 2 ไม่กี่วันข้างหน้านั้น พยานซื้อข้อสอบมาคนละ 1 ชุด ระหว่างสังเกตการณ์อยู่มีนักศึกษาซื้อข้อสอบจากจำเลย 3 - ...

การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่ต้องระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2535)

จำเลยยื่นฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหน และตัวโจทก์ไม่ได้มาเบิกความยืนยันด้วยตนเอง ศาลฎีกาเห็นว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหน เพราะการจะฟ้องคดีที่ไหนนั้น ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ อาศัยหนังสือมอบอำนาจ ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง ซึ่งเป็นศาลที่ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอำนาจนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ตัวโจทก์ไม่ได้มาเบิกความยืนยันว่าได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจ ศาลไม่ควรเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง เพราะคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ และได้ความตามคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ว่า จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เดือนละ 70 บาท ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2535 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง   มาตรา 47 บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดยื่นใบมอบอำนาจต่อศาล ให้ศา...

นายหน้าประกันภัยไม่นำเงินค่าเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่ผู้รับประกันภัย ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้า 5 ปี

นาง ร ได้ดำเนินการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 แบบเจอ จ่าย จบ ให้แก่ผู้เอาประกันภัยผ่านแอปพลิเคชั่น facebook โดยนาง ร ได้รับชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 1,557 บาท จากผู้เอาประกันภัย แต่ไม่นำเงินค่าเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัย ทั้งนี้ นาง ร ได้รับสารภาพกับเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี ตามบันทึกการจับกุม ลงวันที่ 8 มีนาคม 2566 และได้ยอมรับกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ว่ากระทำความผิดดังกล่าวจริง  การกระทำดังกล่าวของนาง ร เป็นการดำเนินงานที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือประชาชน อันเป็นความผิดตามมาตรา 76/1 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ตามคำสั่งที่ 11/2566 สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2566 เป็นผลให้นาง ร ไม่สามารถกระทำการ และไม่อาจยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต...

อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยโดยชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2555)

จำเลยที่ 2 ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แม้หลังจากนั้นศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 และนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ใหม่ในวันที่ 25 มกราคม 2554 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่มาศาลในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ถือได้ว่ามีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 หลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสาม โดยไม่จำต้องออกหมายนัดแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 มกราคม 2554 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลับหลังจำเลยที่ 2 หลังจากออกหมายจับจำเลยที่ 2 เกินกว่า 1 เดือน นับแต่วันออกหมายจับแล้ว การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ของศาลชั้นต้น จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ไม่มีเหตุที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยที่ 2 ฟังใหม่ ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2555 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศา...

ข้อบังคับการทำงานที่ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งตามความเป็นธรรมได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7570/2559)

คู่มือสำหรับพนักงานขาย ข้อ 14 ที่ กำหนดให้พนักงานขาย ต้องรับผิดชอบบัญชีขายทุกรายการที่ตนเองขาย เช่น ร้านค้าเก็บเงินไม่ได้ เช็คคืน เป็นต้น เ ป็นการตกลงประกันการก่อให้เกิดความเสียหายไว้ล่วงหน้า ว่าลูกจ้างที่มีส่วนได้รับค่าตอบแทนการขายจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายจากการตัดสินใจขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนสิทธิและผลประโยชน์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึง ไม่มีผลเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง กำหนดระเบียบให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยชอบและสุจริตแล้วยังจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายที่ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วย ย่อม เป็นระเบียบที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควรและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง คู่มือสำหรับพนักงานขายดังกล่าว คงมีผลบังคับใช้ ให้โจทก์ที่ 1 รับผิดชำระค่าสินค้าแทนลูกค้าของจำเลยได้ เฉพาะกรณี ที่โจทก์ที่ 1 ตัดสินใจขายสินค้าและรับชำระค่าสินค้าด้วยเช็คจากลูกค้าโดย ไม่ถูกต้องและไม่สุจริตอันเป็นผลให้ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยได้เท่านั้น แม้โจทก์ที่ 1 จ...

กฎ ก.ตร. ว่าด้วยจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2566 (ใช้บังคับ 11 สิงหาคม 2566)

1. กฎ ก.ตร. นี้ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 มีผล ใช้บังคับวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ) 2. ให้ยกเลิก กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 3. ให้ใช้กฎ ก.ตร. นี้ เป็นกรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ ดังนี้   (1) ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือคุณธรรม จริยธรรม และอุดมคติของตำรวจ เป็นแนวทางการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ อุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพตำรวจ และกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ   (2) ข้าราชการตำรวจพึงหลีกเลี่ยงและละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง หรือกระทำการอื่นใดที่อาจนำไปสู่ความเสื่อมเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   (3) ข้าราชการตำรวจพึงวางตนให้เหมาะสมและครองตนอย่างพอเพียงสมฐานานุรูป   (4) ข้าราชการตำรวจพึงใฝ่หาความรู้ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ   (5) ข้าราชการตำรวจต้องย...

จำเลยฟ้องแย้งในคดีล้มละลายไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546)

การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการเท่านั้น ประการที่หนึ่ง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ประการที่สอง พิพากษายกฟ้อง บทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใด นอกเหนือจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้ เพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 กล่าวว่า ขอปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์ทั้งสามอ้างตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะเป็นสัญญาปลอม ซึ่งมีประเด็นที่โจทก์ทั้งสามจะต้องนำสืบถึงหนี้สินตามที่อ้างในคำฟ้อง และหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่า สัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม ดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องสถานเดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483   มาตรา 14 บัญญัติว่า "ในการพิจารณาคดีล้มล...

น.ส.3 แผ่นเดียว เป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิที่จะยึดถือไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตามสภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สิน  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138  ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์ และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้ เพราะความผิดนี้ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้น ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้   ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 137 บัญญัติว่า "ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง"    มาตรา 138 บัญญัติว่า "ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้" - ประมวลก...

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 (30 ข้อ)

ข้อ 1 ข้อใด ไม่ ถูกต้องตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ก. กรมส่งเสริมการเรียนรู้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ข. ในช่วงเปลี่ยนผ่าน สำนักงาน กศน. ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ค. ในวาระเริ่มแรก ให้ สสวท. ทำหน้าที่เป็นสถาบัน ง. กรมส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 2 หน่วยจัดการเรียนรู้ใดมีสถานะเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ก. สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา ข. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปาย ค. ศูนย์การเรียนรู้ตำบลบางระกำ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 3 ข้อใดเป็นเหตุผลที่กฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการเรียนรู้รับรองให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ได้ ก. ห่างไกล ข. ทุรกันดาร ค. เสี่ยงภัย ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 4 หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 คือหน่วยงานใด ก. กระทรวงศึกษาธิการ ข. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ค. กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 5 โดยหลักการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ มีกี่รูปแบบ ก. 1 รูปแบบ ข. 2 รูปแบบ ค. 3 รูปแบบ ง. 4 รูปแบบ ข้อ 6 กรมส่งเสริ...