หลอกขายข้อสอบกฎหมายให้ นศ.ราม ผิดฉ้อโกง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531)
คดีนี้โจทก์มีนางสาว ม. เบิกความว่า พบจำเลยอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง กำลังขายข้อสอบซึ่งเป็นข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จำเลยบอกพยานว่าเป็นข้อสอบที่ได้มาจากรุ่นน้องที่ทำงานอยู่กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นาย ว. ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเบิกความว่า ขณะที่ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงานมาบอกว่ามีคนขายข้อสอบอยู่หน้ามหาวิทยาลัย พยานไปที่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย เห็นจำเลยกำลังขายข้อสอบชุดวิชา LA 331 กับ LA 408 จำเลยพูดประกาศโฆษณาว่าเป็นข้อสอบที่จะออกสอบในภาค 2 แน่นอน
พลตำรวจสุรัตน์ กับพลตำรวจสมเกียรติ เบิกความว่า ร้อยตำรวจโทสุทธินาท สั่งให้ไปสังเกตการณ์หน้ามหาวิทยาลับรามคำแหง เพราะอาจารย์ชูศักดิ์แจ้งว่ามีคนขายข้อสอบ อ้างว่าเป็นข้อสอบที่จะใช้ออกสอบในภาค 2 ของปี พ.ศ. 2525 (น่าจะเป็น 2526) พยานทั้งสองไปพบจำเลยโฆษณาขายข้อสอบอยู่ 2 วิชา จำเลยว่าข้อสอบที่ขายนั้น จำเลยได้มาจากอาจารย์ซึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้ เป็นข้อสอบที่จะออกสอบในภาค 2 ไม่กี่วันข้างหน้านั้น พยานซื้อข้อสอบมาคนละ 1 ชุด ระหว่างสังเกตการณ์อยู่มีนักศึกษาซื้อข้อสอบจากจำเลย 3 - 4 รายแล้ว
ร้อยตำรวจโทสุทธินาท และนายชูศักดิ์ ก็เบิกความว่า นายชูศักดิ์เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสอนวิชากฎหมายด้วย มีนักศึกษามาแจ้งนายชูศักดิ์ว่าข้อสอบวิชาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 หรือ LA 331 รั่วเสียแล้ว มีคนเอาไปประกาศจำหน่ายอยู่หน้ามหาวิทยาลัย นายชูศักดิ์จึงให้นาย ว. กับพวกไปสังเกตการณ์ประมาณ 10 นาที นาย ว. กับพวกมารายงานว่ามีผู้จำหน่ายข้อสอบวิชาดังกล่าวจริง นายชูศักดิ์จึงร้องเรียนต่อร้อยตำรวจโทสุทธินาท ว่ามีบุคคลจำหน่ายข้อสอบ ซึ่งจะใช้สอบในปีการศึกษา 2526 ภาค 2
ศาลฎีกาเห็นว่า พยานโจทก์ส่วนมากไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย จึงน่าเชื่อว่าพยานโจทก์เบิกความตามความจริง โดยเฉพาะนางสาว ม. ซึ่งช่วยจำเลยขายข้อสอบด้วย ก็เบิกความไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยบอกว่าเป็นข้อสอบที่ได้มาจากรุ่นน้อง จำเลยไม่ได้บอกว่าเป็นเอกสารหรือคำถามที่เคยออกเป็นข้อสอบมาก่อนดังที่จำเลยเบิกความ
ที่จำเลยรับว่าจำเลยเขียน และเจ้าพนักงานตำรวจยึดจากจำเลย ก็มีลักษณะเป็นคำถามคล้ายข้อสอบ โดยเฉพาะเอกสารหมาย จ.2 ยังเขียนไว้ที่หัวกระดาษว่าข้อสอบประจำปี 2526 ภาค 2 มีการเปลี่ยนแนวคำถามนิดหน่อย โดยจำเลยเขียนด้วยลายมือของจำเลยเอง เพื่อให้นักศึกษาซื้อข้อสอบจากจำเลยหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จำเลยได้มาจากรุ่นน้องดังที่จำเลยบอกนางสาว ม.
แม้นาย ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งจะเบิกความว่า ขณะที่ไปซื้อข้อสอบตามที่นาย ว. ให้ไปซื้อ จำเลยไม่ได้โฆษณาขายข้อสอบดังกล่าว แต่พยานปากนี้ก็ไปพบจำเลยคนละเวลากับนาย ว. จึงไม่เป็นการหักล้างพยานอื่นของโจทก์
ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์สอดคล้องต้องกันฟังได้แน่ชัดว่า จำเลยโฆษณาหลอกลวงแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อขายข้อสอบที่จำเลยเขียนขึ้นเอง ว่าเป็นข้อสอบที่จะออกสอบในภาค 2 ของปีการศึกษา 2526 แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 เท่านั้น
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341 บัญญัติว่า "ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูก หลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสาร สิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531 , ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341 บัญญัติว่า "ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูก หลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสาร สิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น