ตั้งหลานนอกสายเลือดซึ่งปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ ให้เป็นผู้อนุบาล (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2563)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ขอให้สั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ และอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้อนุบาล
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นาง ป. สมรสกับพลเรือตรี ส. ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาปี 2543 พลเรือตรี ส. ถึงแก่ความตาย นาง ป. กับผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ช. และนาง น. บิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของนาย ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของนาง ป. ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นหลานของนาง ป.
และเมื่อนาง ป. มีภาวะบกพร่องในเรื่องความจำ ความคิด และการตัดสินใจ ไม่สามารถแสดงเจตนาทำนิติกรรมใด ๆ ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ภาวะดังกล่าวไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยนายแพทย์ ช. แพทย์ที่รักษาและออกใบรับรองแพทย์ดังกล่าวเคยให้การไว้โดยระบุอาการของนาง ป. ตรงกับใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ทั้งนาง ป. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตนเองได้ กรณีจึงฟังได้ว่า นาง ป. มีภาวะบกพร่องในเรื่องความจำ ความคิด การตัดสินใจ และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 แล้ว จึงมีเหตุสมควรสั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ
การตั้งผู้อนุบาลนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนไร้ความสามารถเป็นสำคัญ เมื่อนาง ป. ให้ความไว้วางใจผู้คัดค้านซึ่งเป็นหลานสาวที่เลี้ยงดูมาอย่างใกล้ชิดให้เป็นผู้จัดการดูแลเรื่องความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาล และด้านการเงินโดยจัดการเรื่องค่ารักษาพยาบาลในขณะที่นาง ป. นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของนาง ป. ที่มอบหมายไว้แต่แรก ประกอบกับผู้คัดค้านมีหน้าที่การงานที่มั่นคงเป็นผู้จัดการธนาคาร ย่อมต้องทราบดีว่าการจัดการเรื่องการเงินของผู้อื่นต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบสามารถตรวจสอบได้ การเป็นผู้อนุบาลนอกจากมีสิทธิแล้วยังต้องมีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. อันเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลาย เพื่อประโยชน์ของคนไร้ความสามารถ จึงเห็นสมควรตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้อนุบาล
อนึ่ง เพื่อให้การดูแลทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถมีความรัดกุมยิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้อนุบาลจัดทำบัญชีทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1592, 1593 และ 1598/18 วรรคสอง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ โดยให้นางสาว พ. ผู้คัดค้านเป็นผู้อนุบาล ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และให้ผู้อนุบาลจัดทำบัญชีทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1592, 1593 และ 1598/18 วรรคสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ส่งคำพิพากษาไปประกาศราชกิจจานุเบกษา ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
มาตรา 1592 "ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้"
มาตรา 1593 "ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้องต่อศาลฉบับหนึ่งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบ แล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว"
มาตรา 1598/18 "ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าบุตรนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้"
มาตรา 1567 "ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย"
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้อนุบาล
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นาง ป. สมรสกับพลเรือตรี ส. ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาปี 2543 พลเรือตรี ส. ถึงแก่ความตาย นาง ป. กับผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ช. และนาง น. บิดามารดาถึงแก่ความตายแล้ว ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของนาย ส. เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของนาง ป. ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นหลานของนาง ป.
เมื่อปี 2558 นาง ป. ป่วยและเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล1 ต่อมาได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล2 แล้วถูกย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาล3 ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่า ผู้ร้องมิได้เป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอ ทั้งมิใช่บุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถและเป็นผู้อนุบาล ยกคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ฎีกา คำร้องขอในส่วนของผู้ร้องจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ส่วนประเด็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. อันมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้สั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ได้ระบุตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถไว้แล้ว คือ คู่สมรส ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ รวมทั้งผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ
ส่วนประเด็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. อันมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้สั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ได้ระบุตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถไว้แล้ว คือ คู่สมรส ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ รวมทั้งผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ
การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรของ นาย ส. พี่น้องร่วมบิดามารดาของนาง ป. แม้ผู้คัดค้านจะเป็นหลานนาง ป. แต่มิใช่หลานที่สืบสายโลหิตโดยตรง จึงมิใช่ผู้สืบสันดานตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28
แต่ได้ความตามทางนำสืบของผู้ร้องและผู้คัดค้านตรงกันว่า นาง ป. เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้คัดค้านและน้องมาตั้งแต่บิดาผู้คัดค้านถึงแก่ความตายขณะผู้คัดค้านยังเป็นเด็ก นาง ป. เป็นผู้ฝากผู้คัดค้านให้เข้าทำงานภายหลังจากผู้คัดค้านสำเร็จการศึกษา โดยฝากให้ทำงานที่ธนาคาร ก. ปัจจุบันผู้คัดค้านมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคาร ก. ทั้งผู้คัดค้านนำสืบอีกว่า ในช่วงที่พลเรือตรี ส. ยังมีชีวิตอยู่แต่มีอาการป่วย นาง ป. ให้ผู้คัดค้านและน้องผู้คัดค้านช่วยนาง ป. ในการดูแลพลเรือตรี ส. จนกระทั่งถึงแก่ความตาย การที่นาง ป. ไม่มีบุตร แต่ให้การเลี้ยงดูผู้คัดค้านและน้องของผู้คัดค้านมาตั้งแต่เด็กจนโต ย่อมมีความรัก ความผูกพัน ใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก นาง ป. ให้ความไว้วางใจผู้คัดค้านซึ่งเป็นหลานสาวให้ช่วยดูแลเรื่องความเป็นอยู่ภายในบ้าน และเป็นผู้ดูแลเรื่องเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของนาง ป. โดยเมื่อนาง ป. ขายที่ดิน 3 แปลง ได้เงินมาประมาณ 20,000,000 บาท นาง ป. ก็ได้มอบหมายให้ผู้คัดค้านเป็นผู้เก็บรักษาคอยดูแลจัดสรรใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นค่ารักษาพยาบาลนาง ป. ที่จะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากขณะนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งในข้อนี้ผู้ร้องก็นำสืบรับว่า ทางฝ่ายผู้ร้องทราบว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและรายได้ของนาง ป. ทั้งหมด แต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งรายละเอียดในการจัดการให้ผู้ร้องและพี่น้องทราบ ผู้ร้องจึงไม่เชื่อใจในพฤติกรรมของผู้คัดค้าน ดังนี้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการดูแลการรักษาพยาบาลนาง ป. นับแต่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นต้นมาโดยย้ายนาง ป. ให้ไปรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ดีและมีความพร้อมก็เพื่อให้นาง ป. ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้เป็นผู้มาปรนนิบัติดูแลนาง ป. ขณะนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลในทุกวัน แต่ผู้คัดค้านได้จัดการมอบหมายให้นางสาว ต. ผู้เป็นน้องสาวคอยมาเฝ้าและดูแลปรนนิบัตินาง ป. ที่โรงพยาบาลโดยใช้เงินที่ดูแลรักษาไว้แทนนาง ป. จ่ายค่าจ้างให้นางสาว ต. และยังมอบหมายให้นาย ช. ซึ่งเป็นน้องชายคอยหมั่นไปดูแลบ้านให้นาง ป. ขณะนาง ป. นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นหลานสาวที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม และได้รับความไว้วางใจจากนาง ป. ให้เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลจัดการในเรื่องความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาลและในด้านการเงินต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ตามความประสงค์ของนาง ป. ตลอดมา กรณีถือได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. จึงเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ
และเมื่อนาง ป. มีภาวะบกพร่องในเรื่องความจำ ความคิด และการตัดสินใจ ไม่สามารถแสดงเจตนาทำนิติกรรมใด ๆ ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ภาวะดังกล่าวไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยนายแพทย์ ช. แพทย์ที่รักษาและออกใบรับรองแพทย์ดังกล่าวเคยให้การไว้โดยระบุอาการของนาง ป. ตรงกับใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ทั้งนาง ป. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตนเองได้ กรณีจึงฟังได้ว่า นาง ป. มีภาวะบกพร่องในเรื่องความจำ ความคิด การตัดสินใจ และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 แล้ว จึงมีเหตุสมควรสั่งให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ
การตั้งผู้อนุบาลนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนไร้ความสามารถเป็นสำคัญ เมื่อนาง ป. ให้ความไว้วางใจผู้คัดค้านซึ่งเป็นหลานสาวที่เลี้ยงดูมาอย่างใกล้ชิดให้เป็นผู้จัดการดูแลเรื่องความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาล และด้านการเงินโดยจัดการเรื่องค่ารักษาพยาบาลในขณะที่นาง ป. นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของนาง ป. ที่มอบหมายไว้แต่แรก ประกอบกับผู้คัดค้านมีหน้าที่การงานที่มั่นคงเป็นผู้จัดการธนาคาร ย่อมต้องทราบดีว่าการจัดการเรื่องการเงินของผู้อื่นต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบสามารถตรวจสอบได้ การเป็นผู้อนุบาลนอกจากมีสิทธิแล้วยังต้องมีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ซึ่งปกครองดูแลนาง ป. อันเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลาย เพื่อประโยชน์ของคนไร้ความสามารถ จึงเห็นสมควรตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้อนุบาล
อนึ่ง เพื่อให้การดูแลทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถมีความรัดกุมยิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้อนุบาลจัดทำบัญชีทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1592, 1593 และ 1598/18 วรรคสอง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นาง ป. เป็นคนไร้ความสามารถ โดยให้นางสาว พ. ผู้คัดค้านเป็นผู้อนุบาล ให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และให้ผู้อนุบาลจัดทำบัญชีทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1592, 1593 และ 1598/18 วรรคสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ส่งคำพิพากษาไปประกาศราชกิจจานุเบกษา ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ที่มา
- ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 28 "บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
มาตรา 1592 "ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้"
มาตรา 1593 "ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้องต่อศาลฉบับหนึ่งภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำเอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบ แล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว"
มาตรา 1598/18 "ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าบุตรนั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาลบรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้สิทธิตามมาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้"
มาตรา 1567 "ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น