การฎีกาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของพนักงานอัยการโจทก์กับจำเลยที่แตกต่างกัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 22/2565)
คดีนี้สืบเนื่องมาจาก ในคดีอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยฟ้องนาย ว. จำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และนาย ส. จำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในความผิดดังกล่าว
ต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำเลยที่ 2 กำหนด 2 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษ 2 ปี และคุมความประพฤติไว้ 1 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรอง และโจทก์ยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา และยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย มีคำสั่งไม่อนุญาต ยกคำร้อง และไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและให้ศาลฎีการับฎีกานั้น เป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 1 ที่ต้องร้องขออนุญาตฎีกาและอยู่ในอำนาจการวินิจฉัยของศาลฎีกาว่ามีเหตุผลจะให้ฎีกาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกับพนักงานอัยการโจทก์ ขอให้ศาลฎีกาส่งคำโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212
ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการ ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและให้ศาลฎีการับฎีกา"
การฎีกาคือ การพิจารณาตรวจสอบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นหลักประกันสิทธิของคู่ความในคดีให้ได้รับความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ โดยเมื่อ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีการพิจารณาคดีเพียงสองชั้นศาล เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นประการใด คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุด
ต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำเลยที่ 2 กำหนด 2 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ปรับ 10,000 บาท รอการลงโทษ 2 ปี และคุมความประพฤติไว้ 1 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรอง และโจทก์ยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา และยื่นคำฟ้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย มีคำสั่งไม่อนุญาต ยกคำร้อง และไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและให้ศาลฎีการับฎีกานั้น เป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 1 ที่ต้องร้องขออนุญาตฎีกาและอยู่ในอำนาจการวินิจฉัยของศาลฎีกาว่ามีเหตุผลจะให้ฎีกาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกับพนักงานอัยการโจทก์ ขอให้ศาลฎีกาส่งคำโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212
ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการ ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและให้ศาลฎีการับฎีกา"
การฎีกาคือ การพิจารณาตรวจสอบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นหลักประกันสิทธิของคู่ความในคดีให้ได้รับความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ โดยเมื่อ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีการพิจารณาคดีเพียงสองชั้นศาล เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นประการใด คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุด
สำหรับการฎีกาของคู่ความ ให้นำระบบอนุญาตฎีกามาใช้บังคับกับกรณีของการฎีกาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งมีความแตกต่างจากการฎีการะบบสิทธิ ที่กำหนดให้การฎีกาเป็นสิทธิของคู่ความที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลฎีกา
โดยมาตรา 44 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาตามมาตรา 46 พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นภายในกำหนด 1 เดือน
และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจรับฎีกาตามมาตรา 44 ไว้พิจารณาได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการบัญญัติให้อำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาและวินิจฉัยว่าจะรับหรือไม่รับฎีกาเรื่องใดไว้พิจารณา
เมื่อพนักงานอัยการถือเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งเหมือนกับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นกัน เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว คู่ความควรมีสิทธิในการฎีกาเท่าเทียมกัน โดยให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกา ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยหรือไม่
การที่มาตรา 46 วรรคสี่ กำหนดให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงเป็นการบัญญัติให้อัยการสูงสุดมีอำนาจรับรองฎีกาของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการที่มีสถานะเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งไม่ต่างจากจำเลย ในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ทำให้อำนาจในการวินิจฉัยว่าจะรับฎีกาหรือไม่นั้น หาได้เป็นอำนาจขององค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งไม่ ส่งผลให้การนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาของพนักงานอัยการแตกต่างไปจากของจำเลย
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติรับรองว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยให้โอกาสแก่โจทก์และจำเลยสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันในฐานะคู่ความในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง และบรรลุถึงหลักนิติธรรมที่บุคคลทุกคนจะต้องได้รับความเสมอภาคและได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลของความแตกต่างในสถานะของบุคคล
การที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระหว่างพนักงานอัยการกับจำเลยไว้แตกต่างกัน และกำหนดให้ศาลฎีการับฎีกาโดยไม่สามารถใช้ดุลพินิจสั่งเป็นประการอื่นได้ ย่อมทำให้หลักประกันสิทธิในการฎีกาของคู่ความในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างพนักงานอัยการกับจำเลยได้รับการคุ้มครองที่แตกต่างกัน ไม่เสมอภาคกันในกฎหมาย ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล และขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
จึงวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และกำหนดคำบังคับให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ที่มา / ดาวน์โหลด คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 22/2565
โดยมาตรา 44 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาตามมาตรา 46 พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นภายในกำหนด 1 เดือน
และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจรับฎีกาตามมาตรา 44 ไว้พิจารณาได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการบัญญัติให้อำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาและวินิจฉัยว่าจะรับหรือไม่รับฎีกาเรื่องใดไว้พิจารณา
เมื่อพนักงานอัยการถือเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งเหมือนกับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นกัน เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว คู่ความควรมีสิทธิในการฎีกาเท่าเทียมกัน โดยให้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกา ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยหรือไม่
การที่มาตรา 46 วรรคสี่ กำหนดให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงเป็นการบัญญัติให้อัยการสูงสุดมีอำนาจรับรองฎีกาของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการที่มีสถานะเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งไม่ต่างจากจำเลย ในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ทำให้อำนาจในการวินิจฉัยว่าจะรับฎีกาหรือไม่นั้น หาได้เป็นอำนาจขององค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งไม่ ส่งผลให้การนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาของพนักงานอัยการแตกต่างไปจากของจำเลย
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติรับรองว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยให้โอกาสแก่โจทก์และจำเลยสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันในฐานะคู่ความในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง และบรรลุถึงหลักนิติธรรมที่บุคคลทุกคนจะต้องได้รับความเสมอภาคและได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลของความแตกต่างในสถานะของบุคคล
การที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระหว่างพนักงานอัยการกับจำเลยไว้แตกต่างกัน และกำหนดให้ศาลฎีการับฎีกาโดยไม่สามารถใช้ดุลพินิจสั่งเป็นประการอื่นได้ ย่อมทำให้หลักประกันสิทธิในการฎีกาของคู่ความในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างพนักงานอัยการกับจำเลยได้รับการคุ้มครองที่แตกต่างกัน ไม่เสมอภาคกันในกฎหมาย ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล และขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
จึงวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และกำหนดคำบังคับให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ที่มา / ดาวน์โหลด คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 22/2565
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น