ไม่ใช่ "คู่ความ" ไม่มีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2564)
เจ้าพนักงานที่ดินไม่ใช่คู่ความในคดี แต่ยื่นคำแก้ฎีกา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำแก้ฎีกา ดังนี้ ไม่มีผลเป็นการรับคำแก้ฎีกา และไม่เกิดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) , 237 , 240 ประกอบมาตรา 252 ที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย
ที่มา
ที่มา
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1789/2564, เนติบัณฑิตยสภา สารบาญคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 หน้า 409
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 1 "ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(1) ...
(1) ...
...
(5) "คำคู่ความ" หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ"
มาตรา 237 "จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์"
มาตรา 240 "ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่
(1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 241 แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาศาลในวันกำหนดนัด ศาลอุทธรณ์อาจดำเนินคดีไปได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น ไม่ให้ถือเป็นคำพิพากษาโดยขาดนัด
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์ยังไม่เป็นที่พอใจในการพิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ และพยานหลักฐาน ที่ปรากฏในสำนวน ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 238 และเฉพาะในปัญหาที่อุทธรณ์ ให้ศาลมีอำนาจที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้ว หรือพยานที่เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไป ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้สำหรับการพิจารณาในศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(3) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความ"
มาตรา 252 "ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 250 กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
มาตรา 237 "จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์"
มาตรา 240 "ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่
(1) ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 241 แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาศาลในวันกำหนดนัด ศาลอุทธรณ์อาจดำเนินคดีไปได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น ไม่ให้ถือเป็นคำพิพากษาโดยขาดนัด
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์ยังไม่เป็นที่พอใจในการพิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ และพยานหลักฐาน ที่ปรากฏในสำนวน ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 238 และเฉพาะในปัญหาที่อุทธรณ์ ให้ศาลมีอำนาจที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้ว หรือพยานที่เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไป ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้สำหรับการพิจารณาในศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(3) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความ"
มาตรา 252 "ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 250 กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น