ข้าราชการมีกรรมสิทธิ์ในเคหสถาน ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2565)
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 (2) กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้สิทธิข้าราชการที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เบิกค่าเช่าบ้าน โดยไม่มีบทบัญญัติว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรานี้เฉพาะในขณะที่ข้าราชการยื่นขอใช้สิทธิ
ดังนี้ จึงต้องตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวย่อมต้องบังคับใช้ตลอดเวลาที่ข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ กล่าวคือ ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านนั้นต้องไม่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ตนไปประจำในช่วงเวลาที่ขอใช้สิทธินี้ หาใช่ตีความว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวบังคับใช้แต่เฉพาะเวลาที่ข้าราชการยื่นคำขอใช้สิทธิ แล้วข้าราชการผู้นั้นยังคงสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านได้ตลอดช่วงเวลาที่ประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่นั้นดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2416 พร้อมบ้านเลขที่ 146 ทั้งส่วนของบิดาและส่วนของน้องชายมาโดยไม่มีภาระหนี้เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว จำเลยย่อมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้อย่างสมบูรณ์
กรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นว่า จำเลยมีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในท้องที่ที่ตนไปประจำ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยรับผิดคืนค่าเช่าบ้านแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน (เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ) 71,495 บาท พร้อมดอกเบี้ย..
ที่มา
- ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา
- พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547
มาตรา 7 "ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มี สิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกิน จำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น
(1) ...
(2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำ สำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน..."
(1) ...
(2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำ สำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน..."
ขออนุญาตสอบถามใน ม.17(1) "บ้านหลังแรก" ครับ
ตอบลบในท้องที่เดียวกัน
1.ภรรยา ยังผ่อนอาคารพาณิชย์ ปล่อยเช่า ไม่ได้อยู่จริง(มีมาก่อนสมรส)
2.สามีจึงใช้สิทธิ์ ผ่อนบ้านอีกหลัง และอยู่จริง
..คำถาม..ต้องใช้สิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้านหลังใด
ภรรยาเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือไม่ครับ รบกวนติดต่อทาง e-mail : nawaratsirapipat@gmail.com จะได้สอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มด้วยครับ
ลบไม่มีสิทธิ์ครับ
ตอบลบ