บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2022

เพิ่มอีก 11 จังหวัด พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 กำหนดให้ จังหวัดสุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว   กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฏร์ธานี และอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ   1. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น   2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา   3. กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   4. สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2561 ได้มีการประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด ประกอบด้วย สตูล ระยอง ศรีสะเ

ศาลอาญาพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1184/2564)

รูปภาพ
คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลอาญา กรณีร่วมกันเสนอราคาโดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ โดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐ อันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาให้ยกอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับ เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป และให้คืนคำฟ้องให้โจทก์ไปดำเนินการตามที่บทกฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง เพราะศาลอาญารับฟ้องไว้พิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มา

คดีเด็ด! เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยไม่ชอบ กรมบังคับคดีต้องรับผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ 2193/2564)

รูปภาพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้นำยึดหน่วยลงทุนกองทุนรวมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวน 500,000 หน่วย ประเมินราคาในวันยึดได้ 7,565,000 บาท จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี สังกัดกรมบังคับคดีที่ 2 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ และได้ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนดังกล่าวในราคา 500,000 บาท โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องการขายทอดตลาดและไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดได้ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และคดีถึงที่สุด โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 9,269,189.37 บาท พร้อมดอกเบี้ย... ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนหน่วยลงทุนพิพาท หากเพิกเฉยหรือไม่สามารถคืนได้ ให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นให้จำเลยชดใช้เงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย.. จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 สมคบกับบุคคลภายนอกโดยทุจริตในการซื้อขายหน่วยลงทุนพิพาทอันเป็นการกระทำความผิดอาญา มิใช่เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพ

การอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ (ใช้บังคับ 1 พ.ย. 2565)

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ พ.ศ. 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทปัจจุบันของโรงเรียนหรือห้องเรียน ที่มีความจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการและช่วยลดความสูญเปล่าของงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับโรงเรียนหรือห้องเรียนเหล่านั้นได้ ระเบียบฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้ "สื่อการเรียนรู้" หมายความว่า หนังสือเรียน แบบฝึกหัด ชุดการเรียนรู้ หนังสือเสริมประสบการณ์ สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาอื่น ๆ สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนหรือ

ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่เป็นโมฆะ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2564)

รูปภาพ
อันโมฆะกรรมนั้นเป็นการกระทำที่เสียเปล่า ไม่มีผลอย่างใดในทางกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ทั้ง ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะคู่กรณีที่ทำนิติกรรมเท่านั้น แต่บุคคลใดที่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์อันเกี่ยวกับโมฆะกรรม ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น  ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 บังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ที่ดินพิพาทขายทอดตลาดในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและถูกโต้แย้งสิทธิ มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่เป็นโมฆะ (โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเสียก่อน) ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

การขออนุญาตฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

รูปภาพ
การขออนุญาตฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คลิกอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 12/2565  

ห้ามแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

รูปภาพ
การแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ เป็นความผิดและมีโทษจำคุกตามกฎหมายอาญา ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คลิกอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2565  

ละเมิดอำนาจศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คล.1/2564)

รูปภาพ
คดีนี้เกิดขึ้นจาก นาย น. ข้าราชการ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ได้สมัครเข้ารับการคัดเลือกในระดับชำนาญการพิเศษ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ต่อมา ก.พ.ค. วินิจฉัยยกคำร้องทุกข์ นาย น. จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัย ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำพิพากษายกฟ้อง นาย น. จึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา โดยคำอุทธรณ์บางช่วงมีข้อความว่า "คำพิพากษาดังกล่าวขัดต่อหลักนิติรัฐ เกินล้ำออกนอกขอบเขตความชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกา 3509/2549) และเจตนาบิดผันอำนาจขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์บทบัญญัติมาตรา 13 (1) และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539" และ "คำพิพากษาดังกล่าว... เจตนาเลี่ยงบาลีในการเขียนคำพิพากษา" ศาลปกครองชั้นต้น (องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี) พิจารณาคำอุทธรณ์แล้ว เห็นว่าข้อความมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นศาลซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล จึงมีคำสั่งให้ไต่สวนนาย น. (ผู้ถูกกล่าวหา) เกี่ยวกับกรณีที่ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาล นาย น. ให้ถ้อยคำต่อศาลว่า ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศา

สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 4)

รูปภาพ
สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 4) จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 บรรยายโดย  อ.วิชัย จิตตาณิชย์ *************************** วันนี้เป็นการบรรยาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อจากคราวที่แล้ว ในเรื่อง  หลักความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับผู้เสียภาษี (Connection หรือ Nexus Rule)  ซึ่งมีอยู่ 3 หลัก คือ   1. หลักสัญชาติ (Nationality Rule)  เมื่อมีสัญชาติของประเทศใด ต้องเสียภาษีให้ประเทศนั้น    2. หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) หรือหลักเงินได้ทั่วโลก  เมื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศใด ต้องเสียภาษีให้ประเทศนั้น    3. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) หรือหลักอาณาเขต  เมื่อมีเงินได้จากประเทศใด ต้องเสียภาษีให้ประเทศนั้น - ประเทศไทย ใช้หลักที่ 2 และ 3 และใช้ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา     - ใช้หลักถิ่นที่อยู่ (มาตรา 41 วรรคสอง และวรรคสาม)   - ใช้หลักแหล่งเงินได้ (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง) ภาษีเงินได้นิติบุคคล   - ถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ใช้หลักถิ่นที่อยู่ (มาตรา 66 วรรคหนึ่ง)   - ถ้าเป็นบริษัทต่างประเทศ ใช้ห

สาระสำคัญ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

รูปภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เป็นการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กำหนดมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยาน และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยานเพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น ได้รับความคุ้มครองและได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. พ.ร.บ. ฉบันนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป) 2. แก้ไขบทนิยาม คำว่า "พยาน" จากเดิมหมายความว่า พยานบุคคลซึ่งจะมาให้ หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาลในคดีอาญา รวมทั้งผู้ชำนาญการพิเศษ แต่มิให้หมายความรวมถึงจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน แก้ไขใหม่ เป็น "พยาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ต่อพนัก

ฟ้องซ้อนในคดีปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 265/2565)

รูปภาพ
คดีนี้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอธิบดีกรมบังคับคดีต่อศาลปกครองกลาง เป็น คดีหมายเลขดำที่ 1321/2564 ขอให้ลงโทษทางวินัยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับคดีแพ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอำนาจดุลพินิจในการบริหารงานบุคคลของฝ่ายปกครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างไร ก็ไม่มีผลโดยตรงที่จะเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับให้ได้ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 76 (1) กำหนดว่าเมื่อได้มีการยื่นคำฟ้องในเรื่องใดต่อศาลแล้ว เวลาตั้งแต่ที่มีการยื่นคำฟ้องต่อศาล จนถึงเวลาที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา หรือเวลาที่ได้มีการอ่านผลแห่งคำพิพากษา หรือจนถึงเวลาที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำส

หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2565)

รูปภาพ
พฤติการณ์การผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลาในสัญญาและไม่ครบจำนวนหลายครั้ง  แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้ โจทก์ก็ยอมรับชำระไว้ทุกครั้งโดยไม่ได้ทักท้วง  ย่อมแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาในสัญญาเป็นสาระสำคัญ   กรณีจึงถือว่าเป็นหนี้ไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งถึงกำหนดชำระหนี้โดยพลัน และจะถือว่าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องเตือนให้ชำระหนี้ก่อน แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง  เมื่อได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 และวันที่ 1 เมษายน 2562 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก  โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ  โดยจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในวันที่ 3 สิงหาคม 2562 และต้องรับผิดในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2562 ซึ่งภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัด   โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็

ฟ้องบริษัทร้างไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2564)

รูปภาพ
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทร้าง ซึ่งนายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้วตามความในมาตรา 1273/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560  เช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อจำเลยที่ 2 ออกเสียจากทะเบียน ซึ่งเป็นกรณีการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง มิใช่เป็นกรณีที่บริษัทเลิกกันอันให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249   โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว ดังนั้น ขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสภาพความเป็นนิติบุคคลที่จะให้โจทก์ฟ้องได้  ประกอบกับข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งจดชื่อจำเลยที่ 2 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนเสียก่อนที่จะฟ้องตามมาตรา 1273/4   โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และมาตรา 55 ที่มา  คำพิพากษาฎีกาที่ 4864/2564, ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1411/2564)

รูปภาพ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย  โจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยทราบประกาศนั้นแล้ว จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่ทราบประกาศนั้น อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 1411/2564, เนติบัณฑิตยสภา หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 12 หน้า 3136-3143

คำสั่งไม่รับจดทะเบียนบุตรบุญธรรม แม้เป็นคำสั่งทางปกครอง แต่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร.37/2565)

รูปภาพ
คดีนี้เกิดจาก ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับผู้ฟ้องคดีที่ 2 บุตรบุญธรรม แต่ปลัดอำเภอมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เนื่องจากหนังสือเดินทางของผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นภาษาต่างประเทศ ไม่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติได้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าว และ ต่อมาได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ ยืนยันคำสั่งไม่อนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เนื่องจากผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นบุคคลต่างด้าว ถือหนังสือเดินทางเป็นภาษาต่างประเทศ และไม่มีหนังสือรับรองสถานภาพ เพื่อตรวจสอบสถานภาพจากข้อมูลทะเบียนบุคคลต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ว โดยปรับใช้กฎหมายดังนี้  พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้..

ข้อสอบกฎหมาย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (21ส.ค.2565)

ข้อสอบกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการเลือกสรรพนักงานราชการ ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็นปรนัย 80 ข้อ 80 คะแนน และอัตนัย 2 ข้อๆ ละ 10 คะแนน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 - วันที่ พ.ร.บ.ใช้บังคับ - ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. - การตั้ง รวม โอนส่วนราชการ เป็นไปตามกฎหมายใด - การรักษาราชการแทนอธิบดีที่ไม่อยู่ - ยุบกรม ตรากฎหมายใด - เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการประเภทใด พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 - พ.ร.บ.นี้ ตราขึ้นในสมัยใครเป็นนายกรัฐมนตรี - มีทั้งหมดกี่มาตรา - ข้อมูลข่าวสารของราชการคืออะไร - ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. - ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู - "ร้องเรียน" ต่อใคร - "อุทธรณ์" ต่อใคร - ข้อมูลข่าวสารของราชการใดที่ไม่เปิดเผย (มาตรา 15) - อัตราโทษ กรณีไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ - หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์เก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการ ต้องส่งมอบให้ใคร - อายุการเก็บข้อมูลข่าวสารของราชการเกี

การลา 11 ประเภท

รูปภาพ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ใช้กับข้าราชการ 4 ประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ  แบ่งการลาออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้ 1. การลาป่วย - ต้องเพื่อรักษาตัว - โดยหลักต้องเสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่จำเป็น ให้เสนอใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ) - ถ้าป่วยจนลงชื่อในใบลาไม่ได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้ (แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอใบลาโดยเร็ว) - ลาได้เท่าที่ป่วยจริง - ลาป่วย 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์   (แพทย์ซึ่งขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม)  หรือกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร ผู้อนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองแพทย์อื่นแทนก็ได้ - ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ผู้อนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ หรือสั่งให้ไปรับการตรวจจากแพทย์ก็ได้ 2. การลาคลอดบุตร - เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่ไม่สามารถลงชื่อได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสน

สาระสำคัญ พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2550 (ฉบับเตรียมสอบ)

รูปภาพ
1. พระราชบัญญัติสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถิติฉบับเดิม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ 2. พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 เป็นต้นไป) และมีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508  3. มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 22 มาตรา 4. บทนิยาม   “สถิติ” หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผล ที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้    (เก็บรวบรวม ==> ประมวลผล ==> แสดงผล)    “การสำรวจ” หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เป็นอยู่จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ    “สำมะโน” หมายความว่า การสำรวจ โดยการแจงนับจากทุกหน่วย ที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ   “การสำรวจตัวอย่าง” หมายความว่า การสำรวจ โดยการแจงนับ จากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วย ที่เลือกเป็นตัวอย่าง    “หน่วยงาน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล