คดีเด็ด! เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยไม่ชอบ กรมบังคับคดีต้องรับผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ 2193/2564)
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้นำยึดหน่วยลงทุนกองทุนรวมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวน 500,000 หน่วย ประเมินราคาในวันยึดได้ 7,565,000 บาท จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี สังกัดกรมบังคับคดีที่ 2 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ และได้ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนดังกล่าวในราคา 500,000 บาท โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องการขายทอดตลาดและไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดได้ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และคดีถึงที่สุด โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 9,269,189.37 บาท พร้อมดอกเบี้ย...
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนหน่วยลงทุนพิพาท หากเพิกเฉยหรือไม่สามารถคืนได้ ให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นให้จำเลยชดใช้เงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย..
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 สมคบกับบุคคลภายนอกโดยทุจริตในการซื้อขายหน่วยลงทุนพิพาทอันเป็นการกระทำความผิดอาญา มิใช่เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (การกระทำของจำเลย ได้กำหนดขายทอดตลาด นัดแรก วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ผู้แทนโจทก์ไปดูแลการขายทอดตลาดในวันที่ 7 และ 28 พฤศจิกายน 2557 จำเลยที่ 1 แจ้งแก่ผู้แทนโจทก์ว่างดการขาย เพราะส่งหมายนัดให้ผู้ดูแลหน่วยลงทุนไม่ชอบ ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ผู้แทนโจทก์ตรวจสอบ จึงพบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาทไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เป็นเงินจำนวน 500,000 บาท)
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้" ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรมบังคับคดีได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยที่ 1 ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ และฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต การขายทอดตลาดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1
แม้จำเลยที่ 1 กระทำโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งของกรมบังคับคดีในการขายทอดตลาด หรือกระทำโดยทุจริต หรือแม้หากการกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นความผิดอาญา ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
และเมื่อปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาทแล้ว แต่ภายหลังจากนาย ธ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อหน่วยลงทุนพิพาท ได้โอนหน่วยลงทุนพิพาทเป็นของนาย ธ. แล้ว นาย ธ. นำหน่วยลงทุนพิพาทไปขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งนาย ธ. และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทหลงเหลืออยู่แล้ว เช่นนี้รับฟังได้ว่าไม่สามารถนำหน่วยลงทุนพิพาทขายทอดตลาดใหม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ กรมบังคับคดีจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหาย 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย...
ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 2193/2564, เนติบัณฑิตยสภา หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 8 หน้า 1992 - 2003
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนหน่วยลงทุนพิพาท หากเพิกเฉยหรือไม่สามารถคืนได้ ให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นให้จำเลยชดใช้เงิน 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย..
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 สมคบกับบุคคลภายนอกโดยทุจริตในการซื้อขายหน่วยลงทุนพิพาทอันเป็นการกระทำความผิดอาญา มิใช่เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (การกระทำของจำเลย ได้กำหนดขายทอดตลาด นัดแรก วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ผู้แทนโจทก์ไปดูแลการขายทอดตลาดในวันที่ 7 และ 28 พฤศจิกายน 2557 จำเลยที่ 1 แจ้งแก่ผู้แทนโจทก์ว่างดการขาย เพราะส่งหมายนัดให้ผู้ดูแลหน่วยลงทุนไม่ชอบ ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ผู้แทนโจทก์ตรวจสอบ จึงพบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาทไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เป็นเงินจำนวน 500,000 บาท)
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้" ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรมบังคับคดีได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยที่ 1 ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ และฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต การขายทอดตลาดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1
แม้จำเลยที่ 1 กระทำโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งของกรมบังคับคดีในการขายทอดตลาด หรือกระทำโดยทุจริต หรือแม้หากการกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นความผิดอาญา ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
และเมื่อปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาทแล้ว แต่ภายหลังจากนาย ธ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อหน่วยลงทุนพิพาท ได้โอนหน่วยลงทุนพิพาทเป็นของนาย ธ. แล้ว นาย ธ. นำหน่วยลงทุนพิพาทไปขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งนาย ธ. และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทหลงเหลืออยู่แล้ว เช่นนี้รับฟังได้ว่าไม่สามารถนำหน่วยลงทุนพิพาทขายทอดตลาดใหม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ กรมบังคับคดีจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหาย 7,565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย...
ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 2193/2564, เนติบัณฑิตยสภา หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 8 หน้า 1992 - 2003
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น