การอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ (ใช้บังคับ 1 พ.ย. 2565)
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ พ.ศ. 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทปัจจุบันของโรงเรียนหรือห้องเรียน ที่มีความจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการและช่วยลดความสูญเปล่าของงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับโรงเรียนหรือห้องเรียนเหล่านั้นได้
ระเบียบฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
"สื่อการเรียนรู้" หมายความว่า หนังสือเรียน แบบฝึกหัด ชุดการเรียนรู้ หนังสือเสริมประสบการณ์ สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาอื่น ๆ สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
"โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ" หมายความว่า โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
(1) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(2) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
(3) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
(3.1) ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (English Program : EP) คือ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
(3.2) ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) คือ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
(4) โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
(5) โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษอื่น ๆ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศ
ให้โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษดังกล่าว ใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรค่าหนังสือเรียนในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย 1) ผู้แทนครู 2) ผู้แทนผู้ปกครอง 3) ผู้แทนชุมชน และ 4) ผู้แทนนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ
ที่มา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ พ.ศ. 2565
ระเบียบฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
"สื่อการเรียนรู้" หมายความว่า หนังสือเรียน แบบฝึกหัด ชุดการเรียนรู้ หนังสือเสริมประสบการณ์ สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาอื่น ๆ สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
"โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ" หมายความว่า โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
(1) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(2) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
(3) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
(3.1) ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (English Program : EP) คือ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
(3.2) ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) คือ ห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ สอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
(4) โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
(5) โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษอื่น ๆ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศ
ให้โรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษดังกล่าว ใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรค่าหนังสือเรียนในการจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย 1) ผู้แทนครู 2) ผู้แทนผู้ปกครอง 3) ผู้แทนชุมชน และ 4) ผู้แทนนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ
ที่มา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือห้องเรียนในโครงการที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ พ.ศ. 2565
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น