สาระสำคัญ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (ฉบับเตรียมสอบ)
1. ที่มาของประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 76 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว
ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ได้บัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้น เป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการ พลเรือน จึงจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตน และรักษา คุณงามความดีที่ข้าราชการต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน
2. การใช้บังคับ
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธาน ก.พ. ได้ประกาศใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ซึ่งในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้มีการนำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ด้วยเหตุนี้ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนจึงใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
3. ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาจริยธรรม 7 ประการ
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กำหนดให้ ข้าราชการพลเรือน (รวมทั้งกรรมการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่น) พึงยึดถือปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม 7 ประการ ดังนี้
(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ ได้แก่
- ชาติ (แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ)
- ศาสนา (ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในความแตกต่างของการนับถือศาสนา)
- พระมหากษัตริย์ (เทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์)
- การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย)
(2) ซื่อสัตย์สุจริต
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม
- โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
- รับผิดชอบต่อหน้าที่
- มีความพร้อมรับการตรวจสอบและรับผิด
- มีจิตสำนึกที่ดี
- คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(3) กล้าตัดสินใจและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
- กล้าคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
- กล้าเปิดเผยหรือรายงานการทุจริตประพฤติมิชอบต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
- ใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ
- ไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพียงเพื่อรักษาประโยชน์หรือสถานภาพของตนเอง
(4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
- ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- เสียสละ มีจิตสาธารณะ
- สามารถแยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน
- ไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
- ไม่ประกอบกิจการหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และคุณภาพของงาน
- ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ทันต่อเวลาและสถานการณ์
- คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของรัฐ
- รักษามาตรฐานการทำงานที่ดี
- พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
- เชื่อมั่นในระบบการทำงานเป็นทีม
- ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความเต็มใจ
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
(6) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม
- ปราศจากอคติ
- ไม่เลือกปฏิบัติโดยการใช้ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่าง ทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะทางเศรษฐกิจสังคม
- รักษาความเป็นกลางทางการเมือง โดยไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่ซึ่งอาจมีลักษระเป็นการให้คุณ ให้โทษแก่นักการเมืองและพรรคการเมือง
(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างด้วยการเป็นข้าราชการที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน
- ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ
- อ่อนน้อมถ่อมตน
- ไม่อ้างหรือใช้อำนาจโดยปราศจากเหตุผล
- ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท หลักคำสอนทางศาสนามาปรับใช้
- ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการเคารพกฎหมายและมีวินัย
4. การรักษาจรรยาวิชาชีพเฉพาะ
หากมีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใด กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพไว้โดยเฉพาะ ก็จะต้องรักษาจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้และจะต้องยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 76 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว
ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ได้บัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้น เป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการ พลเรือน จึงจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตน และรักษา คุณงามความดีที่ข้าราชการต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน
2. การใช้บังคับ
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธาน ก.พ. ได้ประกาศใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ซึ่งในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้มีการนำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ด้วยเหตุนี้ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนจึงใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
3. ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาจริยธรรม 7 ประการ
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กำหนดให้ ข้าราชการพลเรือน (รวมทั้งกรรมการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่น) พึงยึดถือปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม 7 ประการ ดังนี้
(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ ได้แก่
- ชาติ (แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ)
- ศาสนา (ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในความแตกต่างของการนับถือศาสนา)
- พระมหากษัตริย์ (เทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์)
- การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย)
(2) ซื่อสัตย์สุจริต
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม
- โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
- รับผิดชอบต่อหน้าที่
- มีความพร้อมรับการตรวจสอบและรับผิด
- มีจิตสำนึกที่ดี
- คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(3) กล้าตัดสินใจและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
- กล้าคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
- กล้าเปิดเผยหรือรายงานการทุจริตประพฤติมิชอบต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
- ใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ
- ไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพียงเพื่อรักษาประโยชน์หรือสถานภาพของตนเอง
(4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
- ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- เสียสละ มีจิตสาธารณะ
- สามารถแยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน
- ไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
- ไม่ประกอบกิจการหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และคุณภาพของงาน
- ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ทันต่อเวลาและสถานการณ์
- คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของรัฐ
- รักษามาตรฐานการทำงานที่ดี
- พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
- เชื่อมั่นในระบบการทำงานเป็นทีม
- ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความเต็มใจ
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
(6) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม
- ปราศจากอคติ
- ไม่เลือกปฏิบัติโดยการใช้ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่าง ทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะทางเศรษฐกิจสังคม
- รักษาความเป็นกลางทางการเมือง โดยไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่ซึ่งอาจมีลักษระเป็นการให้คุณ ให้โทษแก่นักการเมืองและพรรคการเมือง
(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างด้วยการเป็นข้าราชการที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน
- ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ
- อ่อนน้อมถ่อมตน
- ไม่อ้างหรือใช้อำนาจโดยปราศจากเหตุผล
- ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท หลักคำสอนทางศาสนามาปรับใช้
- ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการเคารพกฎหมายและมีวินัย
4. การรักษาจรรยาวิชาชีพเฉพาะ
หากมีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใด กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพไว้โดยเฉพาะ ก็จะต้องรักษาจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้และจะต้องยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย
***ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ***
ข้าราชการปฏิบัติกับผู้ใต้บังคับบันชาแบบพูดให้ผู้ใต้บังคับบันชาเสียชื้อ้สียง
ตอบลบการไม่ให้เกียรติผู้อื่น เป็นการลดเกียรติและคุณค่าของตัวเองครับ
ลบ