สาระสำคัญ พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2550 (ฉบับเตรียมสอบ)
1. พระราชบัญญัติสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถิติฉบับเดิม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
2. พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 เป็นต้นไป) และมีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508
3. มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 22 มาตรา
4. บทนิยาม
“สถิติ” หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผล ที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้
“การสำรวจ” หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นอยู่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ
“สำมะโน” หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
“การสำรวจตัวอย่าง” หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วยที่เลือกเป็นตัวอย่าง
“หน่วยงาน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ผอ.สสช.)
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ
โดยให้ สสช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ และเมื่อ ครม. เห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทนั้น
(2) จัดทำมาตรฐานสถิติ เสนอ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบ
(3) ส่งเสริมและพัฒนางานสถิติของรัฐและเอกชน
(4) จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ
(5) ประสานงานและหารือร่วมกับหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (1)
หน่วยงานต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดความรับผิดชอบ และดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ สสช. รายงาน ครม. เพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
(6) แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และระเบียบวิธีใน การจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการประมวลผล และการวิเคราะห์ผลสถิติ
(7) ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบัน ของประเทศ
(8) ให้บริการสถิติแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป
(9) เผยแพร่สถิติ และจัดให้มีการศึกษาอบรมวิชาความรู้เกี่ยวกับสถิติ
(10) ร่วมมือและประสานงานกับ ต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศในงานเกี่ยวกับสถิติ
(11) ปฏิบัติการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามที่ ครม. มอบหมาย
7. (มาตรา 9) เมื่อหน่วยงานจะมีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง ที่ประสงค์จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องให้ข้อมูล ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
(1) วัตถุประสงค์
(2) ระยะเวลา
(3) เขตท้องที่
(4) บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลและวิธีการให้ข้อมูล
(5) หน่วยงานที่รับผิดชอบ
8. (มาตรา 10) เมื่อมีการออกกฎกระทรวง (ตามมาตรา 9) ดังกล่าวแล้ว ให้ ผอ.สสช. ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง ในเรื่องดังต่อไปนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อประเภทอื่น
(1) วิธีการเก็บรวบรวม
(2) คำถามที่บุคคลจะต้องให้ข้อมูล หรือรายละเอียดของแบบสอบถามที่บุคคลจะต้องกรอกข้อมูล และวิธีการกรอกข้อมูลในแบบสอบถาม
(3) ระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกสอบถามหรือส่งแบบสอบถาม
(4) ระยะเวลาที่บุคคลซึ่งต้องกรอกแบบสอบถาม จะต้องส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(5) ข้อมูลอื่นที่ประชาชนสมควรทราบ
ผู้ที่ไม่ให้ข้อมูล หรือไม่กรอกแบบสอบถามตามวิธีการที่กำหนดในประกาศตามมาตรา 10 หรือไม่ส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศ ตามมาตรา 10 (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
9. (มาตรา 11) เมื่อมีประกาศ (ตามมาตรา 10) แล้ว บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูล มีหน้าที่ให้ข้อมูลหรือ กรอกแบบสอบถามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 10 (2) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
ผู้ที่จงใจให้ข้อมูลเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. (มาตรา 12) เมื่อมีประกาศ (ตามมาตรา 10) แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือที่ทำการของบุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือ ในเวลาอื่นใดที่บุคคลนั้นได้แจ้งให้ทราบ โดยต้องแสดงบัตรประจำตัว (ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง) ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อสอบถามข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม หรือเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในการนี้บุคคลดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร หากไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
11. กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลผู้ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
12. ให้หน่วยงานมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ สสช. เพื่อประโยชน์ในการจัดสร้างเครือข่ายสถิติและพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ
กรณี สสช. จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากการสำรวจ หรือข้อมูลจากบันทึกทะเบียน รายงาน หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานใด เพื่อการจัดทำสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานสถิติแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สสช.
ข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดส่งให้ดังกล่าว ต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยว่าเป็นข้อมูลของบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือ หรือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อประชาชนหรือประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อยู่แล้ว
13. (มาตรา 15) บรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่ได้มาตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้หรือผู้มีหน้าที่เก็บรักษา เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่บุคคลใด ซึ่งไม่มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ เว้นแต่
(1) เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดีที่ต้องหาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย ทั้งนี้เท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยถึงเจ้าของข้อมูล
ผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
14. (มาตรา 16) ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงาน หรือ สสช. ต้องไม่นำบรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้หรือกรอกแบบสอบถาม ไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย
ผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. บรรดาข้อมูลที่อาจเปิดเผยได้ สสช. อาจให้บริการข้อมูลนั้นต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นในการให้บริการข้อมูลนั้น ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่ สสช. กำหนด
16. บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตาม พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508 และมีผล ใช้บังคับอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตาม พ.ร.บ.นี้
17. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจ ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้ (กฎกระทรวงเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้)
2. พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 เป็นต้นไป) และมีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508
3. มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 22 มาตรา
4. บทนิยาม
“สถิติ” หมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผล ที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้
(เก็บรวบรวม ==> ประมวลผล ==> แสดงผล)
“การสำรวจ” หมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นอยู่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติ
“สำมะโน” หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
“การสำรวจตัวอย่าง” หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วยที่เลือกเป็นตัวอย่าง
“หน่วยงาน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ผอ.สสช.)
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ
โดยให้ สสช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ และเมื่อ ครม. เห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทนั้น
(2) จัดทำมาตรฐานสถิติ เสนอ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบ
(3) ส่งเสริมและพัฒนางานสถิติของรัฐและเอกชน
(4) จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ
(5) ประสานงานและหารือร่วมกับหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (1)
หน่วยงานต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดความรับผิดชอบ และดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ สสช. รายงาน ครม. เพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
(6) แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และระเบียบวิธีใน การจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการประมวลผล และการวิเคราะห์ผลสถิติ
(7) ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบัน ของประเทศ
(8) ให้บริการสถิติแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป
(9) เผยแพร่สถิติ และจัดให้มีการศึกษาอบรมวิชาความรู้เกี่ยวกับสถิติ
(10) ร่วมมือและประสานงานกับ ต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศในงานเกี่ยวกับสถิติ
(11) ปฏิบัติการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามที่ ครม. มอบหมาย
7. (มาตรา 9) เมื่อหน่วยงานจะมีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง ที่ประสงค์จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องให้ข้อมูล ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
(1) วัตถุประสงค์
(2) ระยะเวลา
(3) เขตท้องที่
(4) บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลและวิธีการให้ข้อมูล
(5) หน่วยงานที่รับผิดชอบ
8. (มาตรา 10) เมื่อมีการออกกฎกระทรวง (ตามมาตรา 9) ดังกล่าวแล้ว ให้ ผอ.สสช. ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง ในเรื่องดังต่อไปนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อประเภทอื่น
(1) วิธีการเก็บรวบรวม
(2) คำถามที่บุคคลจะต้องให้ข้อมูล หรือรายละเอียดของแบบสอบถามที่บุคคลจะต้องกรอกข้อมูล และวิธีการกรอกข้อมูลในแบบสอบถาม
(3) ระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกสอบถามหรือส่งแบบสอบถาม
(4) ระยะเวลาที่บุคคลซึ่งต้องกรอกแบบสอบถาม จะต้องส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(5) ข้อมูลอื่นที่ประชาชนสมควรทราบ
ผู้ที่ไม่ให้ข้อมูล หรือไม่กรอกแบบสอบถามตามวิธีการที่กำหนดในประกาศตามมาตรา 10 หรือไม่ส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศ ตามมาตรา 10 (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
9. (มาตรา 11) เมื่อมีประกาศ (ตามมาตรา 10) แล้ว บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูล มีหน้าที่ให้ข้อมูลหรือ กรอกแบบสอบถามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 10 (2) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
ผู้ที่จงใจให้ข้อมูลเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. (มาตรา 12) เมื่อมีประกาศ (ตามมาตรา 10) แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือที่ทำการของบุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือ ในเวลาอื่นใดที่บุคคลนั้นได้แจ้งให้ทราบ โดยต้องแสดงบัตรประจำตัว (ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง) ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อสอบถามข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม หรือเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในการนี้บุคคลดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร หากไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
11. กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลผู้ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
12. ให้หน่วยงานมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ สสช. เพื่อประโยชน์ในการจัดสร้างเครือข่ายสถิติและพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ
กรณี สสช. จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากการสำรวจ หรือข้อมูลจากบันทึกทะเบียน รายงาน หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานใด เพื่อการจัดทำสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานสถิติแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สสช.
ข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดส่งให้ดังกล่าว ต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยว่าเป็นข้อมูลของบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือ หรือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อประชาชนหรือประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อยู่แล้ว
13. (มาตรา 15) บรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่ได้มาตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้หรือผู้มีหน้าที่เก็บรักษา เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่บุคคลใด ซึ่งไม่มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ เว้นแต่
(1) เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดีที่ต้องหาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย ทั้งนี้เท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยถึงเจ้าของข้อมูล
ผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
14. (มาตรา 16) ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงาน หรือ สสช. ต้องไม่นำบรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้หรือกรอกแบบสอบถาม ไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย
ผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. บรรดาข้อมูลที่อาจเปิดเผยได้ สสช. อาจให้บริการข้อมูลนั้นต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นในการให้บริการข้อมูลนั้น ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่ สสช. กำหนด
16. บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตาม พ.ร.บ.สถิติ พ.ศ. 2508 และมีผล ใช้บังคับอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตาม พ.ร.บ.นี้
17. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจ ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้ (กฎกระทรวงเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น