การลา 11 ประเภท
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ใช้กับข้าราชการ 4 ประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ แบ่งการลาออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้
1. การลาป่วย
2. การลาคลอดบุตร
3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
6. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
1. การลาป่วย
- ต้องเพื่อรักษาตัว
- โดยหลักต้องเสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่จำเป็น ให้เสนอใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ)
- ถ้าป่วยจนลงชื่อในใบลาไม่ได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้ (แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอใบลาโดยเร็ว)
- ลาได้เท่าที่ป่วยจริง
- ลาป่วย 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์ (แพทย์ซึ่งขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม) หรือกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร ผู้อนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองแพทย์อื่นแทนก็ได้
- ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ผู้อนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ หรือสั่งให้ไปรับการตรวจจากแพทย์ก็ได้
2. การลาคลอดบุตร
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา (เว้นแต่ไม่สามารถลงชื่อได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอใบลาโดยเร็ว โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
- จะลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
- ถ้าลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดที่ยังไม่ครบกำหนดวันลา ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร
- ถ้าลาคลอดบุตรและหยุดราชการแล้ว แต่ไม่คลอดตามกำหนด จะยกเลิกวันลาก็ได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดไปแล้ว เป็นวันลากิจส่วนตัว
3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
- ต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
- เสนอลาใบก่อนหรือในวันที่ลา แต่ต้องอยู่ในภาย 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร
- คลอดบุตรครั้งหนึ่งให้ลาติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
- ผู้อนุญาตอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการอนุญาตก็ได้ (เช่น ใบสำคัญการสมรส , สูติบัตร)
4. การลากิจส่วนตัว
4. การลากิจส่วนตัว
- เสนอใบลาก่อนลา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการได้
- ถ้าจำเป็นไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน ให้เสนอใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นไว้ แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ได้ แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้อนุญาตทราบโดยเร็ว
- ถ้ามีเหตุพิเศษ ไม่อาจเสนอใบลาก่อนลาได้ ให้เสนอใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็นทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ผู้ที่ลาคลอดบุตรแล้ว หากจะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ
5. การลาพักผ่อน
5. การลาพักผ่อน
- ข้าราชการต่อไปนี้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี
1) ผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก
2) ผู้ที่ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
3) ผู้ที่ลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
4) ผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
- เสนอใบลาก่อนวันลา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการได้ และผู้อนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ โดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
- วันลาพักผ่อนประจำปี ในปีงบประมาณหนึ่ง 10 วันทำการ
- ถ้าปีใดไม่ได้ลา หรือลาแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่รวมกับปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20 วันทำการ
- ผู้ที่รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี มีสิทธิสะสมวันลารวมกับปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
- ข้าราชการที่ประจำการต่างประเทศ ในเมืองที่กำลังพัฒนา ในภูมิภาคแอฟริกา ลาตินอเมริกา อเมริกากลาง หรือเมืองที่ความเป็นอยู่ยากลำบาก ภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ และที่มีสถานการณ์พิเศษ มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีหนึ่งได้เพิ่มขึ้นอีก 10 วันทำการ (เป็น 20 วันทำการ โดยไม่ให้นำวันที่ยังไม่ได้ลารวมเข้ากับปีต่อไป)
- ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา หากหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้แล้ว ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนอีก
6. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- เสนอใบลาก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน (เว้นแต่มีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอใบลาตามกำหนด ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และให้อยู่ในดุลพินิจจะอนุญาตให้ลาหรือไม่ก็ได้
- ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และต้องกลับรายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้ จะต้องนับรวมอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา
- ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว แต่มีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ได้ เมื่อรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการและขอยกเลิกวันลา ให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการเป็นวันลากิจส่วนตัว
7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- เมื่อได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือก ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
- ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก
- รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชา ภายใน 7 วัน (เว้นแต่มีเหตุจำเป็น อาจขยายเวลาได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน)
8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
- เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ยกเว้นผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
- เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาต
- การลาที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อปฏิบัติงานเสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดเวลา และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
10. การลาติดตามคู่สมรส
10. การลาติดตามคู่สมรส
- เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
- ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และถ้าจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี
- ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจากราชการ
11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
- เสนอใบลา พร้อมหลักฐานประกอบ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการได้
- ข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งตามระยะเวลาในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
- ข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุอื่น ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเห็นว่ายังสามารถเข้ารับราชการต่อไปได้ มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งตามระยะเวลาในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น