แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)
ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
ง. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 42 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักการข้อใด
ก. ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
ข. สมบูรณ์
ค. ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 43 มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
ก. ร้องทุกข์
ข. ร้องเรียน
ค. อุทธรณ์
ง. ฟ้องร้อง
ข้อ 44 หลักการสำคัญของสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อใด
ก. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลลบข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ขอให้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
ค. ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 45 เงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ก. ข้อมูลหมดความจำเป็นในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์
ข. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์
ค. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ง. ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกใช้ประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 46 ข้อจำกัดในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้ใด
ก. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ข. เป็นข้อมูลที่กฎหมายกำหนดให้เก็บ
ค. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
ง. ถูกทุกข้อ
ข้อ 47 นาย เอ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดซึ่งอาจแพร่เชื้อได้ นาย เอ สามารถใช้สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
ข. ได้ เพราะมาตรา 33 บัญญัติรับรองสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลที่กฎหมายระบุให้เก็บรวบรวมข้อมูล
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลสาธารณะ
ข้อ 48 Right to erasure สอดคล้องกับข้อใด
ก. Right to Restrict processing
ข. Right to Forgotten
ค. Right to rectification
ง. Right to data portability
ข้อ 49 กรณีที่ต้องดำเนินการลบหรือทำลายหรือทำให้ข้อมูลไม่สามารถระบุตัวได้ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการ ท่านจะแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำอย่างไรตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ก. โต้แย้ง
ข. ร้องทุกข์
ค. แจ้งความ
ง. ร้องเรียน
ข้อ 50 หากมีการส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อสาธารณะและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลดังกล่าว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร
ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบ
ข. หยุดประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอให้ลบหรือทำลาย
ค. แจ้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ให้ดำเนินการลบหรือทำลายตามคำขอ
ง. แก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์
เฉลย
ข้อ 41 ตอบ ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to Rectification) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 35 และมาตรา 36 บัญญัติคุ้มครองสิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของตนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้
ข้อ 42 ตอบ ง. มาตรา 35 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลนี้ แม้จะไม่มีการร้องขอ แต่ก็ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ข้อ 43 ตอบ ข. มาตรา 36 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 34 วรรคสอง หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถุกต้อง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการแก้ไขได้
ข้อ 44 ตอบ ง. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 33 บัญญัติให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ดำเนินการลบหรือทำลาย หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
ข้อ 45 ตอบ ข. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ จึงไม่ใช่เงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตัวเลือก ก. ค. และ ง. เป็นเงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง
ข้อ 46 ตอบ ง. มาตรา 33 วรรคสอง เป็นกรณีจำกัดสิทธิ ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคลได้ ถ้าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เป็นข้อมุลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
2. เป็นข้อมูลตามมาตรา 24 (1) เอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจัยหรือสถิติ
3. เป็นข้อมูลตามมาตรา 24 (4) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ
4. เป็นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ก) เวชศาสตร์ป้องกันหรือาชีวเวชศาสตร์ การประเมินความสามารถในการทำงานของลูกจ้าง การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ให้บริการด้านสุขภาพ สังคม การรักษาทางการแพทย์ การจัดการด้านสุขภาพ ระบบและการให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์
5. เป็นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ข) ประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข การป้องกันโรคติดต่อันตรายหรือโรคระบาด การควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์
6. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อ 47 ตอบ ค. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข เป็นกรณีมีความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ตามมาตรา 26 (5) (ข) ถูกจำกัดสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 วรรคสอง (ดูเหตุผลจากคำตอบข้อ 46 เพิ่มเติม)
ข้อ 48 ตอบ ข. Right to erasure หรือ Right to Forgotten คือ สิทธิในการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
ข้อ 49 ตอบ ง. ต้องแนะนำเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 33 วรรคสี่ ว่าหากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการลบฯ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสั่งให้ดำเนินการได้
ข้อ 50 ตอบ ค. มาตรา 33 วรรคสาม หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะแล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ให้ดำเนินการลบตามคำขอ โดยเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามคำขอให้ลบ
***ลิ้งก์แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562***
***อ่านเพิ่มเติม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (คลิกลิงก์)***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น