อำนาจหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ ตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559
พนักงานคุมประพฤติ มีอำนาจหน้าที่หลักตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังนี้
มาตรา 14 บัญญัติให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) การสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม สภาพความผิด และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ รวมทั้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความเสียหายและความเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ไขปรับปรุงตนเอง และวิธีการคุมความประพฤติ
(2) สอดส่อง ติดตาม สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ ตักเตือน หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขและสามารถแก้ไขปรับปรุงตนเองได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
(3) ให้การสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
(4) กำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ได้ตกลงกับผู้ถูกคุมความประพฤติ เพื่อประโยชน์ในการคุมความประพฤติ
(5) ส่งตัวผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ ผู้ถูกคุมความประพฤติ หรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 ให้แพทย์ตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือส่งตัวไปบำบัดรักษาการติดยาเสพติด ความบกพร่องทางกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร
(6) จัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับตัวผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ หรือผู้ถูกคุมความประพฤติ เช่น ถ่ายภาพ พิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างปัสสาวะ เส้นผม หรือขน เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์บุคคลและเป็นฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟู รวมทั้งสั่งหรือจัดให้ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รับการตรวจหรือทดสอบว่ามียาเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ ทั้งนี้ การตรวจหรือทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(7) ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ในการติดตามตัวผู้ถูกคุมความประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการใช้อุปกรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(8) เรียกผู้ถูกคุมความประพฤติหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 เข้ารับการอบรมความรู้และทักษะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูและป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยอาจเชิญบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมการอบรมด้วยก็ได้
(9) จัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติ ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์
(10) ในกรณีที่ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ ผู้ถูกคุมความประพฤติ หรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 เป็นเด็กหรือเยาวชน ให้มีการให้คำแนะนำแก่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนดังกล่าวพักอาศัยอยู่ด้วย เกี่ยวกับการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน และการใด ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงตนเองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนดังกล่าวพักอาศัยอยู่ด้วย
(11) มอบหมายและกำกับดูแลให้อาสาสมัครคุมประพฤติดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
(12) ทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับความประพฤติ การประกอบอาชีพ และพฤติการณ์ของผู้ถูกคุมความประพฤติ
(13) รายงานให้ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับการพักการลงโทษหรือการลดวันต้องโทษจำคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหารซึ่งมีคำสั่งทราบ เมื่อนักโทษเด็ดขาดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวดำเนินการต่อไป
(14) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีมอบหมาย หรือตามคำสั่งศาล
สำหรับมาตรา 15 บัญญัติให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ในกรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความประพฤติอาศัยหรือทำงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย และสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
(2) เรียกบุคคลที่สามารถให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) มาพบและให้ถ้อยคำ
(3) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองส่งวัตถุหรือเอกสารอันอาจใช้เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) ได้
มาตรา 14 บัญญัติให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) การสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม สภาพความผิด และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ รวมทั้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความเสียหายและความเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ไขปรับปรุงตนเอง และวิธีการคุมความประพฤติ
(2) สอดส่อง ติดตาม สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ ตักเตือน หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขและสามารถแก้ไขปรับปรุงตนเองได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
(3) ให้การสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
(4) กำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ได้ตกลงกับผู้ถูกคุมความประพฤติ เพื่อประโยชน์ในการคุมความประพฤติ
(5) ส่งตัวผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ ผู้ถูกคุมความประพฤติ หรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 ให้แพทย์ตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือส่งตัวไปบำบัดรักษาการติดยาเสพติด ความบกพร่องทางกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร
(6) จัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับตัวผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ หรือผู้ถูกคุมความประพฤติ เช่น ถ่ายภาพ พิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างปัสสาวะ เส้นผม หรือขน เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์บุคคลและเป็นฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟู รวมทั้งสั่งหรือจัดให้ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความประพฤติในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รับการตรวจหรือทดสอบว่ามียาเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ ทั้งนี้ การตรวจหรือทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(7) ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ในการติดตามตัวผู้ถูกคุมความประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการใช้อุปกรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(8) เรียกผู้ถูกคุมความประพฤติหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 เข้ารับการอบรมความรู้และทักษะต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูและป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยอาจเชิญบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมการอบรมด้วยก็ได้
(9) จัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติ ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์
(10) ในกรณีที่ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจ ผู้ถูกคุมความประพฤติ หรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา 41 เป็นเด็กหรือเยาวชน ให้มีการให้คำแนะนำแก่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนดังกล่าวพักอาศัยอยู่ด้วย เกี่ยวกับการเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน และการใด ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงตนเองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนดังกล่าวพักอาศัยอยู่ด้วย
(11) มอบหมายและกำกับดูแลให้อาสาสมัครคุมประพฤติดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
(12) ทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับความประพฤติ การประกอบอาชีพ และพฤติการณ์ของผู้ถูกคุมความประพฤติ
(13) รายงานให้ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับการพักการลงโทษหรือการลดวันต้องโทษจำคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหารซึ่งมีคำสั่งทราบ เมื่อนักโทษเด็ดขาดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวดำเนินการต่อไป
(14) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีมอบหมาย หรือตามคำสั่งศาล
สำหรับมาตรา 15 บัญญัติให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ในกรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่ผู้ถูกสืบเสาะและพินิจหรือผู้ถูกคุมความประพฤติอาศัยหรือทำงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย และสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
(2) เรียกบุคคลที่สามารถให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) มาพบและให้ถ้อยคำ
(3) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองส่งวัตถุหรือเอกสารอันอาจใช้เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา 14 (1) หรือ (2) ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น