สรุปคำบรรยายเนติ 1/75 กฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1)
สรุปคำบรรยายเนติ 1/75
วิชากฎหมายภาษีอากร (ครั้งที่ 1)
จาก บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565
บรรยายโดย ศ. (พิเศษ) ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม
***************************
กฎหมายภาษีอากรแม้ว่าจะมีความยุ่งยากซับซ้อน เมื่อศึกษากฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ ให้ยึดหลักโครงสร้างกฎหมายทั้ง 6 ส่วน ก็จะช่วยให้มีความเข้าใจกฎหมายภาษีอากรได้เป็นอย่างดี
กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ จะมีโครงสร้างกฎหมาย 6 ส่วน ได้แก่
1. ผู้เสียภาษี (Tax Payer) กฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ จะกำหนดไว้ว่าใครมีหน้าที่เสียภาษี
2. ฐานภาษี (Tax Base) มี 4 ฐาน คือ ฐานรายได้ ฐานการบริโภค ฐานความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และฐานอื่น ๆ
3. อัตราภาษี (Tax Rate) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ อัตราคงที่ อันตราก้าวหน้า และอัตราถอยหลัง
4. วิธีเสียภาษี (Tax Payment) กฎหมายจะกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีโดยวิธีใด ซึ่งทั่วไปมี 3 วิธี คือ วิธีประเมินตนเอง วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
5. วิธีระงับข้อพิพาท (Tax Settlement) หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วย ก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร หรืออุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ หรือขออนุญาตฎีกา
6. สภาพบังคับ (Sanction) ได้แก่ โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และการบังคับคดี
1. ผู้เสียภาษี (Tax Payer) กฎหมายภาษีอากรแต่ละฉบับ จะกำหนดไว้ว่าใครมีหน้าที่เสียภาษี
2. ฐานภาษี (Tax Base) มี 4 ฐาน คือ ฐานรายได้ ฐานการบริโภค ฐานความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และฐานอื่น ๆ
3. อัตราภาษี (Tax Rate) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ อัตราคงที่ อันตราก้าวหน้า และอัตราถอยหลัง
4. วิธีเสียภาษี (Tax Payment) กฎหมายจะกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีโดยวิธีใด ซึ่งทั่วไปมี 3 วิธี คือ วิธีประเมินตนเอง วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
5. วิธีระงับข้อพิพาท (Tax Settlement) หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วย ก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร หรืออุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ หรือขออนุญาตฎีกา
6. สภาพบังคับ (Sanction) ได้แก่ โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และการบังคับคดี
ในการศึกษากฎหมายภาษีอากรของเนติบัณฑิต จะออกข้อสอบเฉพาะประมวลรัษฎากรเท่านั้น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. อากรแสตมป์
โดยจะศึกษาเพียง 4 ประเภทแรก (ไม่รวมอากรแสตมป์) และข้อสอบจะออกอย่างน้อย 2 ประเภท บางปีออก 3 ประเภท และบางปีออกทั้ง 4 ประเภท
ก่อนที่จะได้ศึกษารายละเอียดของกฎหมายภาษีอากรทั้ง 4 ประเภท ให้ดูโครงสร้างกฎหมายก่อน
1. โครงสร้างกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี มี 5 ประเภท
1.1 บุคคลธรรมดา
1.2 ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี
1.3 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
1.5 วิสาหกิจชุมชน
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
2.1 เงินได้พึงประเมิน
2.2 เงินได้สุทธิ (เงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน)
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
3.1 อัตราก้าวหน้า
3.2 อัตราคงที่
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
4.1 ประเมินตนเอง
4.2 หักภาษี ณ ที่จ่าย
4.3 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
5.1 ประเมิน
5.2 อุทธรณ์
5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับศาลภาษีอากรไว้ละเอียด จะต้องดู พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ เป็นหลัก และมีการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับอนุโลมด้วย
5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
6.1 โทษทางปกครอง (เบี้ยปรับ , เงินเพิ่ม)
6.2 โทษทางอาญา (จำคุก , ปรับ)
6.3 การบังคับคดี (ยึด , อายัด , ขายทอดตลาด) ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้กรมสรรพากรมีอำนาจยึด อายัด ขายทอดตลาดได้ โดยใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบ
2. โครงสร้างกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.3 บริษัทจำกัด
1.4 บริษัทมหาชนจำกัด
1.5 กิจการซึ่งดำเนินการเป็นการค้าฯ
1.6 กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
1.7 มูลนิธิ/สมาคม
1.8 กองทุนรวม
1.9 นิติบุคคลอื่น (ตลาดหลักทรัพย์ฯ)
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
2.1 กำไรสุทธิ (รายได้หักรายจ่าย) เป็นกำไรสุทธิทางภาษี ไม่ใช่ทางบัญชี
2.2 รายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
3.1 อัตราคงที่
3.2 อัตราก้าวหน้า
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
4.1 ประเมินตนเอง
4.2 หัก ณ ที่จ่าย
4.3 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
5.1 ประเมิน
5.2 อุทธรณ์
5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร
5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
6.1 โทษทางปกครอง
6.2 โทษทางอาญา
6.3 การบังคับคดี
3. โครงสร้างกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
1.1 ผู้ประกอบการ
1.2 ผู้นำเข้า คนที่นำเข้าสินค้า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการ
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
2.1 รายรับจากการขายสินค้า
2.2 รายรับจากการให้บริการ
2.3 มูลค่าสินค้าจากการนำเข้า
2.4 มูลค่าสินค้าจากการส่งออก
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
3.1 อัตรา 7%
3.2 อัตรา 0%
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
4.1 ประเมินตนเอง
4.2 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
(ไม่มีวิธีหัก ณ ที่จ่าย)
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
5.1 ประเมิน
5.2 อุทธรณ์
5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร
5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
6.1 โทษทางปกครอง
6.2 โทษทางอาญา
6.3 การบังคับคดี
4. โครงสร้างกฎหมายภาษีธุรกิจเฉพาะ
ส่วนที่ 1 ผู้เสียภาษี
1.1 กิจการธนาคารพาณิชย์
1.2 กิจการเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์
1.3 กิจการประกันชีวิต
1.4 กิจการรับจำนำ
1.5 การประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
1.6 การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
1.7 การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (ปัจจุบันได้รับยกเว้นภาษี)
1.8 การประกอบกิจการอื่นตามพระราชกฤษฎีกา
1) กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
2) ธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring)
*จะเห็นได้ว่า ผู้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีเพียง 8 ประเภทเท่านั้น แต่กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เสียภาษีคือผู้ประกอบการทุกประเภท ซึ่งกว้างกว่า (หากเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็จะไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือหากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ก็จะไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ส่วนที่ 2 ฐานภาษี
รายรับก่อนหนักรายจ่ายใด ๆ (Gross Receipt)
ส่วนที่ 3 อัตราภาษี
3.1 อัตรา 0.1%
3.2 อัตรา 2.5%
3.3 อัตรา 3.0%
ส่วนที่ 4 วิธีเสียภาษี
4.1 ประเมินตนเอง
4.2 ประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
(ไม่มีวิธีหัก ณ ที่จ่าย)
ส่วนที่ 5 วิธีระงับข้อพิพาท
5.1 ประเมิน
5.2 อุทธรณ์
5.3 ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร
5.4 อุทธรณ์/ฎีกา
ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ
6.1 โทษทางปกครอง
6.2 โทษทางอาญา
6.3 การบังคับคดี
*ส่วนที่ 6 สภาพบังคับ ของกฎหมายภาษีอากรทั้ง 4 ประเภท จะเหมือนกัน
***จบการบรรยายครั้งที่ 1***
ที่มา YouTube บรรยายเนติบัณฑิตออนไลน์ (คลิกลิงก์)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น