แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


***ปล. ผมจะอัพเดตเพิ่มข้อสอบในโพสต์นี้นะครับ***

ข้อ 1 ข้อใดไม่ใช่หลักการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ก. การศึกษาตลอดชีวิต
ข. กระจายอำนาจ
ค. สังคมมีส่วนร่วม
ง. พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ข้อ 2 ข้อใดไม่สอดคล้องกับ "การศึกษา"
ก. การถ่ายทอดความรู้
ข. การฝึกอบรม
ค. การสืบสานทางวัฒนธรรม
ง. การมุ่งผลสัมฤทธิ์

ข้อ 3 ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง "การประกันคุณภาพภายนอก" กับ "การประกันคุณภาพภายใน" คือข้อใด
ก. งบประมาณ
ข. สถานที่
ค. ผู้ประเมิน
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 4 วันที่เริ่มใช้บังคับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตรงกับข้อใด
ก. 18 สิงหาคม 2542
ข. 19 สิงหาคม 2542
ค. 20 สิงหาคม 2542
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ข้อ 5 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายฉบับ ฉบับล่าสุดคือข้อใด
ก. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
ข. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562
ค. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563
ง. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2563

ข้อ 6 จากข้อ 5 เหตุผลสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพราะเหตุใด
ก. รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาในรูปแบบอาชีวศึกษามากขึ้น
ข. มีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ค. กำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาเชิงระบบ
ง. มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ข้อ 7 "การศึกษาตลอดชีวิต" มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ก. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ข. สร้างความเท่าเทียมและเสมอภาคทางการศึกษา
ค. พัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ง. ยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทยสู่ระดับสากล

ข้อ 8 การจัด "กระบวนการเรียนรู้" ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตรงกับข้อใด
ก. มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข. รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูกต้อง
ง. ข้อ ก. ถูกต้อง ส่วนข้อ ข. ไม่ถูกต้อง

ข้อ 9 บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน หมายถึง บุคคลใด
ก. อาจารย์
ข. ครู
ค. คณาจารย์ 
ง. ข้าราชการครู

ข้อ 10 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือเป็นกฎหมายหลักด้านการศึกษาของประเทศไทย ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้นกี่มาตรา
ก. 54
ข. 78
ค. 96
ง. 102

ข้อ 11 "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ตรงกับข้อใด
ก. หลักการ
ข. ยุทธศาสตร์
ค. กลยุทธ์
ง. ความมุ่งหมาย

ข้อ 12 ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้รัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเป็นเวลากี่ปี
ก. ไม่เกิน 12 ปี
ข. ไม่น้อยกว่า 12 ปี
ค. ไม่เกิน 18 ปี
ง. ไม่น้อยกว่า 18 ปี

ข้อ 13 ข้อใดไม่ถูกต้องในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ก. ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข. ให้จัดตั้งแต่พบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ค. ให้ได้รับการศึกษาเป็นพิเศษกว่าคนปกติได้
ง. ให้คำนึงถึงความสามารถพิเศษเป็นหลัก

ข้อ 14 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องคำนึงถึงข้อใด
ก. 
การแทรกแซงกระบวนการ
ข. เครื่องมือสนับสนุน
ค. ความสามารถของบุคคล
ง. การจัดทำแผน

ข้อ 15 ผู้ใดมีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ก. ครอบครัว
ข. องค์กรวิชาชีพ 
ค. สถานประกอบการ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 16 นาย ก. ประสงค์จะใช้สิทธิในจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติรับรองสิทธิไว้ นาย ก. จะต้องดำเนินการตามให้เป็นไปตามข้อใด
ก. พระราชกฤษฎีกา
ข. กฎกระทรวง
ค. ประกาศกระทรวง
ง. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ 17 องค์กรเอกชนซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
ก. ขอสนับสนุนองค์ความรู้จากรัฐ
ข. ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐ
ค. ขอลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี
ง. ขอยกเว้นแผนการจัดการศึกษา

ข้อ 18 ข้อใดไม่ใช่รูปแบบการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ก. การศึกษาในระบบ
ข. การศึกษานอกระบบ
ค. การศึกษานอกโรงเรียน
ง. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 19 การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม ถือเป็นการศึกษารูปแบบใด
ก. ในระบบ
ข. นอกระบบ
ค. นอกโรงเรียน
ง. ตามธัธยาศัย

ข้อ 20 การศึกษาในระบบ แบ่งระดับการจัดการศึกษาตามข้อใด
ก. แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ข. แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอาชีวศึกษา
ค. แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ง. แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอาชีวศึกษา

ข้อ 21 ระยะเวลาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. 12 ปี
ข. ไม่น้อยกว่า 12 ปี
ค. 15 ปี
ง. ไม่น้อยกว่า 15 ปี

ข้อ 22 การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งระดับการศึกษาตามข้อใด
ก. มี 4 ระดับ คือ อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ข. มี 3 ระดับ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปและริญญาเอก
ค. มี 2 ระดับ คือ ต่ำกว่าปริญญา และปริญญา
ง. มีระดับเดียวคือ ระดับปริญญา

ข้อ 23 การศึกษาภาคบังคับ มีระยะเวลาเท่าใด
ก. 7 ปี
ข. 9 ปี
ค. 12 ปี
ง. 15 ปี

ข้อ 24 เกณฑ์อายุเด็กที่จะเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับเป็นไปตามข้อใด
ก. อายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบห้า
ข. อายุย่างเข้าปีที่หก จนอายุย่างเข้าปีที่สิบห้า
ค. อายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
ง. อายุย่างเข้าปีที่หก จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก

ข้อ 25 หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ สอดคล้องกับข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศกระทรวง
ค. ระเบียบกระทรวง
ง. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ 26 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการนับอายุเด็กเพื่อเข้าเรียนภาคบังคับ
ก. นับอายุเด็กตามปีงบประมาณ
ข. นับอายุเด็กตามปีการศึกษา
ค. นับอายุเด็กตามปีปฏิทิน
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 27 หากกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ต้องการจัดการศึกษาเฉพาะทางเพื่อความชำนาญของหน่วยงาน จะต้องคำนึงถึงเรื่องใด
ก. นโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ข. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ค. ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ง. หลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อ 28 แนวทางการจัดการศึกษา สอดคล้องตามข้อใด
ก. ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ข. ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ค. กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 29 ข้อใดสอดคล้องที่สุด ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ก. จัดบรรยากาศ
ข. จัดสื่อการเรียน
ค. จัดกิจกรรม
ง. อำนวยความสะดวก

ข้อ 30 กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติบัญญัติให้ผู้ใดมีหน้าที่กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. สภาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ 31 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นข้อใด
ก. สภาการศึกษา
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. คณะกรรมการการอุดมศึกษา

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 32 - ข้อ 34
ก. สภาการศึกษา
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. คณะกรรมการการอุมศึกษา
 
ข้อ 32 มีหน้าที่พิจารณาเสนอ "แผนการศึกษาแห่งชาติ"

ข้อ 33 มีหน้าที่พิจารณาเสนอ "หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"
 
ข้อ 34 มีหน้าที่พิจารณาเสนอ "หลักสูตรการอาชีวศึกษา"
 
ข้อ 35 แผนการศึกษาแห่งชาติจะต้องบูรณาการการศึกษาทุกระดับกับเรื่องใด
ก. ศาสนา
ข. ศิลปะ วัฒนธรรม
ค. กีฬา
ง. ถูกทุกข้อ
 
ข้อ 36 โดยหลักทั่วไป การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องยึดพื้นที่บริหารตามข้อใด
ก. จังหวัด
ข. ศึกษาธิการจังหวัด
ค. ศึกษาธิการอำเภอ
ง. เขตพื้นที่การศึกษา

ข้อ 37 ผู้ใดมีหน้าที่และอำนาจกำหนดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา
ก. สภาการศึกษา
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
ข้อ 38 เมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้มีการกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ทำให้เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีทั้งหมดกี่เขต
ก. 62
ข. 65
ค. 76
ง. 77
 
ข้อ 39 ปัจจุบันเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีจำนวนเท่าใด
ก. 175 เขต
ข. 62 เขต
ค. 183 เขต
ง. 245 เขต
 
ข้อ 40 การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง สอดคล้องในเรื่องใด
ก. วิชาการ
ข. งบประมาณ
ค. การบริหารงานบุคคล
ง. ถูกทุกข้อ
 
ข้อ 41 เกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
ข. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. กำหนดนโยบายบริหารสถานศึกษา
ง. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษาเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
 

เฉลย
ข้อ 1 ตอบ ข. มาตรา 8 หลักการจัดการศึกษามี 3 ประการ คือ ตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 2 ตอบ ง. นิยาม "การศึกษา" หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข้อ 3 ตอบ ค. "การประกันคุณภาพภายนอก" กับ "การประกันคุณภาพภายใน" มีความต่างกันที่ผู้ทำการประเมิน ซึ่งการประกันคุณภาพภายนอกประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)/บุคคล/หน่วยงานภายนอกที่ สมศ. รับรอง ส่วนการประเมินคุณภาพภายในจะดำเนินการโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัด
ข้อ 4 ตอบ ค. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116/ตอนที่ 74 ก/หน้า 1/19 สิงหาคม 2542 ซึ่งมาตรา 2 บัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป จึงเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป 
ข้อ 5 ตอบ ก. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อ 6 ตอบ ง. เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนแปลง
ข้อ 7 ตอบ ค. นิยาม "การศึกษาตลอดชีวิต" หมายควา การศึกษาเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข้อ 8 ตอบ ค. มาตรา 7 บัญญัติหลักการสำคัญของ "กระบวนการเรียนรู้" 
ข้อ 9 ตอบ ข. นิยาม "ครู" หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ข้อ 10 ตอบ ข. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แบ่งออกเป็น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล โดยมีบทบัญญัติทั้งสิ้น 78 มาตรา
ข้อ 11 ตอบ ง. มาตรา 6 บัญญัติความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
ข้อ 12 ตอบ ข. มาตรา 10 วรรคหนึ่ง การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ข้อ 13 ตอบ ง. มาตรา 10 วรรคสอง และวรรคสาม การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ต้องจัดให้มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือทางการศึกษา
ข้อ 14 ตอบ ค. มาตรา 10 วรรคสี่ การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
ข้อ 15 ตอบ ง. มาตรา 12 บัญญัติให้สิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่บุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ เช่น ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา หรือสถานประกอบการ เป็นต้น
ข้อ 16 ตอบ ข. มาตรา 12 บัญญัติรับรองสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวง เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของบุคคลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2554 (ดาวน์โหลดไฟล์) , กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิขององค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2555 (ดาวน์โหลดไฟล์) เป็นต้น
ข้อ 17 ตอบ ง. องค์กรเอกชนซึ่งจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องยื่นคำขอและแผนการจัดการศึกษา ไม่สามารถยกเว้นได้ ส่วนสิทธิประโยชน์ที่อาจได้รับ เป็นไปตามมาตรา 14 คือ การสนับสนุนจากรัฐเกี่ยวกับองค์ความรู้ วิชาการ การบริหาร การจัดการศึกษา รวมทั้งเงินอุดหนุนจากรัฐ และการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี
ข้อ 18 ตอบ ค. มาตรา 15 การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
ข้อ 19 ตอบ ข. มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
ข้อ 20 ตอบ ก. มาตรา 16 วรรคหนึ่ง การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา
ข้อ 21 ตอบ ข. มาตรา 16 วรรคสอง การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา
ข้อ 22 ตอบ ค. มาตรา 16 วรรคสาม การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
ข้อ 23 ตอบ ข. มาตรา 17 การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
ข้อ 24 ตอบ ค. มาตรา 17 ให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก (เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หรือม.3)
ข้อ 25 ตอบ ก. หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็ก เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ 26 ตอบ ค. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 (ดาวน์โหลดไฟล์) กำหนดให้นับตามปีปฏิทิน หากเด็กอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ในปีใด ให้นับว่าเด็กมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในปีนั้น
ข้อ 27 ตอบ ก. มาตรา 21 บัญญัติให้หน่วยงานอื่น ๆ จัดการศึกษาเฉพาะทางได้ โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ข้อ 28 ตอบ ง. มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ข้อ 29 ตอบ ค. มาตรา 24 (3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ข้อ 30 ตอบ ง. มาตรา 27 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีหน้าที่กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 31 ตอบ ง. มาตรา 32 การบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคล จำนวน 3 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ส่วนคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เมื่อปี 2562 ปัจจุบันจึงไม่ใช่องค์กรหลักในกระทรวงศึกษาธิการ)
ข้อ 32 ตอบ ก. มาตรา 33 วรรคหนึ่ง (1) สภาการศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
ข้อ 33 ตอบ ข. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย  แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 34 ตอบ ค. มาตรา 34 วรรคสอง คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับ
ข้อ 35 ตอบ ง. มาตรา 33 วรรคหนึ่ง (1) แผนการศึกษาแห่งชาติต้องบูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
ข้อ 36 ตอบ ง. มาตรา 37 วรรคหนึ่ง การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา 
ข้อ 37 ตอบ ง. มาตรา 37 วรรคสอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ 38 ตอบ ก. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 62 เขต 
ข้อ 39 ตอบ ค. ปัจจุบัน (ปี 2565) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 183 เขต ซึ่งเมื่อรวมกับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 62 เขต จึงมีเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 245 เขต รายละเอียดดังนี้
1) ปี 2546 กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต (รับผิดชอบทั้งประถมและมัธยม) ดาวน์โหลดไฟล์
2) ปี 2550 เพิ่มเขตพื้นที่ฯ อีก 3 เขต รวมเป็น 178 เขต ดาวน์โหลดไฟล์
3) ปี 2551 เพิ่มเขตพื้นที่ฯ อีก 7 เขต รวมเป็น 185 เขต ดาวน์โหลดไฟล์
4) ปี 2553 แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถม 183 เขต ดาวน์โหลดไฟล์ และมัธยมศึกษา 42 เขต ดาวน์โหลดไฟล์
5) ปี 2554 มีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้อง แต่ไม่มีผลเป็นการเพิ่ม/ลดเขต แต่อย่างใด โดยเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้ยกเลิก หนองคาย เขต 3 เป็น บึงกาฬ ดาวน์โหลดไฟล์ ส่วนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดหนองคาย ให้รับผิดชอบจังหวัดบึงกาฬด้วย ดาวน์โหลดไฟล์
6) ปี 2564 กำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใหม่อีกครั้ง เป็น 62 เขต ดาวน์โหลดไฟล์
ข้อ 40 ตอบ ง. มาตรา 39 ให้กระจายอำนาจ 4 เรื่อง ได้แก่ วิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
ข้อ 41 ตอบ ค. มาตรา 40 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีกรรมการอื่น เช่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนองค์กรชุมชน ทั้งนี้ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันคือ กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2564 ดาวน์โหลดไฟล์)

***ปล. ผมจะอัพเดตเพิ่มข้อสอบในโพสต์นี้นะครับ***
*****ขอให้โชคดีในการสอบครับ****

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ21 พฤษภาคม 2566 เวลา 17:53

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอขอบคุณมากๆครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. ิขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  5. ขออนุญาตนำไปแชร์เพื่อเป็นวิทยาทานนะคะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  7. ขออนุญาตนำไปแชร์เพื่อเป็นวิทยาทานนะครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (55 ข้อ)

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ ระเบียบฯ สารบรรณ (ชุดที่ 3)

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 1)

แนวข้อสอบ พนักงานราชการ (ข้อ 1 - 10)