กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ควบคุมค่าธรรมเนียมของโรงเรียนเอกชนในระบบ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ 1361/2564)
ประเด็นหนึ่งจากข้อหารือเรื่อง การออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บค่าธรรมเนียมของโรงเรียนเอกชน คือ กระทรวงศึกษาธิการจะมีแนวทางป้องกันมิให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชนในระบบ ที่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควรหรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร อย่างไร ?
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) มีความเห็นว่า แม้โรงเรียนเอกชนในระบบจะมีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
แต่เพื่อป้องกันมิให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชนในระบบที่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควรหรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เห็นว่า การกำหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร และโรงเรียนในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงได้ว่ามิได้เป็นการแสวงหากำไรเกินควร กช. มีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมนั้นลงตามที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 33
และในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนในระบบกำหนดดังกล่าว เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร จะสั่งให้โรงเรียนในระบบลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรก็ได้ ตามมาตรา 34
นอกจากนี้มาตรา 95 บัญญัติให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย หรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย เป็นผู้อนุญาตตามมาตรา 4 มีอำนาจสั่งการให้โรงเรียนในระบบดำเนินการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) มีความเห็นว่า แม้โรงเรียนเอกชนในระบบจะมีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
แต่เพื่อป้องกันมิให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชนในระบบที่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควรหรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เห็นว่า การกำหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร และโรงเรียนในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงได้ว่ามิได้เป็นการแสวงหากำไรเกินควร กช. มีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมนั้นลงตามที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 33
และในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนในระบบกำหนดดังกล่าว เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร จะสั่งให้โรงเรียนในระบบลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรก็ได้ ตามมาตรา 34
นอกจากนี้มาตรา 95 บัญญัติให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย หรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย เป็นผู้อนุญาตตามมาตรา 4 มีอำนาจสั่งการให้โรงเรียนในระบบดำเนินการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย
ดังนั้น กระทรวงศึกษาจึงมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่จะป้องกันมิให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนเอกชนในระบบ อันเป็นการแสวงหากำไรเกินควรหรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควรอยู่แล้ว
ที่มา
- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1361/2564 ส่งพร้อมหนังสือที่ นร 0906/203 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2564
ที่มา
- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1361/2564 ส่งพร้อมหนังสือที่ นร 0906/203 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2564
- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มาตรา 32 บัญญัติว่า "การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ ให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการการศึกษา ค่าตอบแทนครูที่มีความรู้และความสามารถที่ดี และค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการและผลตอบแทน
ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผยในโรงเรียนในระบบ และโรงเรียนในระบบจะเรียกเก็บเงินอื่นใดจากผู้ปกครองหรือนักเรียนนอกจากที่กำหนดตามวรรคหนึ่งไม่ได้"
มาตรา 33 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามมาตรา 32 ของโรงเรียนในระบบ มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร และโรงเรียนในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงได้ว่ามิได้เป็นการแสวงหากำไรเกินควร คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรได้"
มาตรา 34 บัญญัติว่า "ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนในระบบกำหนดตามมาตรา 32 เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร จะสั่งให้โรงเรียนในระบบลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรก็ได้"
มาตรา 95 บัญญัติว่า "โรงเรียนในระบบใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต หรือจัดการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด
โรงเรียนในระบบใด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้โรงเรียนในระบบงดรับนักเรียนใหม่ หรือให้หยุดดำเนินกิจการตามใบอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือสั่งการอย่างอื่นตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ที่กระทำผิด
การสั่งการตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงการดำเนินคดีกับผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น