ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 458/2558 (ประชุมใหญ่))
คดีก่อนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในคดีนี้ ได้ยื่นฟ้องกรมชลประทานซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางแก้ว ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยคดีดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ได้มีคำขอให้กรมชลประทานชำระค่าจ้างงานงวดที่ 6 และงวดที่ 7 และขอให้คืนเงินประกันผลงานและหนังสือค้ำประกัน
ส่วนคดีนี้กรมชลประทานเป็นผู้ฟ้องคดี ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. นาย ธ. หุ้นส่วนผู้จัดการ และบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ค้ำประกัน ให้ร่วมกันชำระค่าปรับอันเกิดจากการผิดสัญญาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางแก้ว ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2547
เหตุแห่งข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครองฉบับเดียวกัน ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยก็เป็นประเด็นเดียวกัน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ส่งมอบงานตามสัญญาจ้างล่าช้า ซึ่งจะต้องรับผิดชำระค่าปรับเป็นเงินเท่าใด ส่วนกรมชลประทานซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องชำระค่าจ้างแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามผลงานจำนวนเท่าใด ประเด็นข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นประเด็นเดียวกัน
ที่มา
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามข้อ 95
(2) การพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ตามมาตรา 75
(3) การพิจารณาใหม่แห่งคดีที่สำนวนคดีหรือเอกสารในสำนวนคดีสูญหายหรือบุบสลายตามข้อ 21
(4) การยื่น การรับ หรือไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 73
(5) การดำเนินการเกี่ยวกับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งคำอุทธรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้นตามข้อ 104 หรือข้อ 106
(6) การที่ศาลปกครองสูงสุดส่งคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ตามข้อ 112
(7) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง"
ส่วนคดีนี้กรมชลประทานเป็นผู้ฟ้องคดี ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. นาย ธ. หุ้นส่วนผู้จัดการ และบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ค้ำประกัน ให้ร่วมกันชำระค่าปรับอันเกิดจากการผิดสัญญาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางแก้ว ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2547
เหตุแห่งข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครองฉบับเดียวกัน ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยก็เป็นประเด็นเดียวกัน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ส่งมอบงานตามสัญญาจ้างล่าช้า ซึ่งจะต้องรับผิดชำระค่าปรับเป็นเงินเท่าใด ส่วนกรมชลประทานซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องชำระค่าจ้างแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามผลงานจำนวนเท่าใด ประเด็นข้อพิพาททั้ง 2 คดี จึงเป็นประเด็นเดียวกัน
เมื่อคดีก่อน ศาลปกครองชั้นต้นได้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยให้กรมชลประทานชำระเงินค่าจ้างงานงวดที่ 6 และงวดที่ 7 หลังจากหักค่าปรับแล้ว และให้กรมชลประทานจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าที่หักไว้ เงินประกันผลงานแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. จึงเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นข้อพิพาทเดียวกับสัญญาจ้างนี้แล้ว และคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด การที่กรมชลประทานได้นำประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาฉบับเดียวกัน มาฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กับพวก เป็นคดีนี้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามข้อ 96 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ที่มา
- คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 458/2558 (ประชุมใหญ่)
- ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ข้อ 96 "เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามข้อ 95
(2) การพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ตามมาตรา 75
(3) การพิจารณาใหม่แห่งคดีที่สำนวนคดีหรือเอกสารในสำนวนคดีสูญหายหรือบุบสลายตามข้อ 21
(4) การยื่น การรับ หรือไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 73
(5) การดำเนินการเกี่ยวกับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งคำอุทธรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้นตามข้อ 104 หรือข้อ 106
(6) การที่ศาลปกครองสูงสุดส่งคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ตามข้อ 112
(7) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น