อายุความเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้มีความเห็นเรื่องอายุความในการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีทั่วไปและกรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ดังนี้
1. กรณีทั่วไป
การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อหน่วยงานของรัฐ ต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
เว้นแต่กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งมติชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่กระทำความผิดทางวินัยและความผิดทางอาญา ต้องถือว่าหัวหน้าหน่วยงานนั้น ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ชีมูลความผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงอื่นซึ่งแสดงว่าหัวหน้าหน่วยงานได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดก่อนหน้านั้นแล้ว
สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้มีมติชี้มูลความผิดทางอาญา ก็ต้องถือเอาวันที่หัวหน้าหน่วยงานรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นวันเริ่มนับอายุความ
2. กรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
จะต้องพิจารณาอายุความ ตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาประกอบด้วย ซึ่งบัญญัติว่า "แต่ถ้าเรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ"
หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดและมีการฟ้องคดีให้ผู้กระทำต้องรับผิดในหลายฐานความผิด ทั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปละปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งมีอายุความแตกต่างกัน การพิจารณาอายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่แต่ละราย จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี เช่น หากศาลในคดีอาญาเห็นว่า เจ้าหน้าที่รายใดกระทำความผิดทางอาญาที่ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รายนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คือ 15 ปี ตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
แต่หากศาลในคดีอาญาพิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่รายใดไม่ได้กระทำความผิดทางอาญา แต่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นการกระทำละเมิด อายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รายนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนย่อมเป็นไปตามกฎหมายนั้นที่กำหนดความรับผิดทางละเมิดบัญญัติไว้ โดยไม่อาจนำอายุความในการฟ้องคดีอาญามาพิจารณาได้
อย่างไรก็ดี แม้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หากศาลในคดีอาญายกฟ้องคดีอาญาทั้งหมด การดำเนินคดีแพ่งก็ต้องกลับมาใช้อายุความตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
1. กรณีทั่วไป
การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อหน่วยงานของรัฐ ต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
เว้นแต่กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
แต่ทั้งนี้ในทุกกรณีต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
"การรู้" ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว อาจรู้ได้ใน 2 กรณี คือ 1) รู้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หรือ 2) รู้จากรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางะละเมิด โดยถือตามกรณีที่รู้ก่อนเป็นหลักในการเริ่มนับอายุความ
"การรู้" ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว อาจรู้ได้ใน 2 กรณี คือ 1) รู้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หรือ 2) รู้จากรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางะละเมิด โดยถือตามกรณีที่รู้ก่อนเป็นหลักในการเริ่มนับอายุความ
กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งมติชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่กระทำความผิดทางวินัยและความผิดทางอาญา ต้องถือว่าหัวหน้าหน่วยงานนั้น ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ชีมูลความผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงอื่นซึ่งแสดงว่าหัวหน้าหน่วยงานได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดก่อนหน้านั้นแล้ว
สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้มีมติชี้มูลความผิดทางอาญา ก็ต้องถือเอาวันที่หัวหน้าหน่วยงานรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นวันเริ่มนับอายุความ
2. กรณีมีการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
จะต้องพิจารณาอายุความ ตามมาตรา 448 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาประกอบด้วย ซึ่งบัญญัติว่า "แต่ถ้าเรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ"
หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดและมีการฟ้องคดีให้ผู้กระทำต้องรับผิดในหลายฐานความผิด ทั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปละปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งมีอายุความแตกต่างกัน การพิจารณาอายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่แต่ละราย จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี เช่น หากศาลในคดีอาญาเห็นว่า เจ้าหน้าที่รายใดกระทำความผิดทางอาญาที่ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รายนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คือ 15 ปี ตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
แต่หากศาลในคดีอาญาพิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่รายใดไม่ได้กระทำความผิดทางอาญา แต่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นการกระทำละเมิด อายุความในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รายนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนย่อมเป็นไปตามกฎหมายนั้นที่กำหนดความรับผิดทางละเมิดบัญญัติไว้ โดยไม่อาจนำอายุความในการฟ้องคดีอาญามาพิจารณาได้
อย่างไรก็ดี แม้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา หากศาลในคดีอาญายกฟ้องคดีอาญาทั้งหมด การดำเนินคดีแพ่งก็ต้องกลับมาใช้อายุความตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงที่ศาลอาจพิพากษายกฟ้องคดีอาญาได้ จึงควรถือเอาอายุความตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นหลักในการดำเนินคดี
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ 1625/2564
ที่มา ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ 1625/2564
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น