ประเภทของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่
1. พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เป็นการคุ้มครองสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะทำการใด ๆ ต่องานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียงและงานแพร่เสียงแพร่ภาพ
2. พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522
ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทรงสิทธิจะได้รับความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้น
3. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้น ๆ มีผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า และทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าได้
4. พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
กฎหมายมุ่งคุ้มครองข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยปกติเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
5. พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543
ผู้ออกแบบผังภูมิที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรม และแบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้
6. พ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ชุมชนผู้ผลิตสินค้า เพื่อบ่งบอกว่าสินค้ามาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและมีลักษณะเฉพาะ เป็นการส่งเสริมรักษามรดกทางภูมิปัญญาและมาตรฐานการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เช่น ไข่เค็มไชยา เป็นต้น
7. พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
กฎหมายให้ความคุ้มครองพันธ์ุพืชใหม่ ที่ผสมหรือปรับปรุงขึ้น และพันธุ์พืชพื้นเมือง
ที่มา ปภาศรี บัวสวรรค์. คำอธิบายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 1, (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี พ.ศ. 2563) หน้า 7 - 9
1. พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เป็นการคุ้มครองสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะทำการใด ๆ ต่องานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียงและงานแพร่เสียงแพร่ภาพ
2. พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522
ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทรงสิทธิจะได้รับความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้น
3. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้น ๆ มีผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า และทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าได้
4. พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
กฎหมายมุ่งคุ้มครองข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยปกติเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
5. พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543
ผู้ออกแบบผังภูมิที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรม และแบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้
6. พ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ชุมชนผู้ผลิตสินค้า เพื่อบ่งบอกว่าสินค้ามาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและมีลักษณะเฉพาะ เป็นการส่งเสริมรักษามรดกทางภูมิปัญญาและมาตรฐานการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เช่น ไข่เค็มไชยา เป็นต้น
7. พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
กฎหมายให้ความคุ้มครองพันธ์ุพืชใหม่ ที่ผสมหรือปรับปรุงขึ้น และพันธุ์พืชพื้นเมือง
ที่มา ปภาศรี บัวสวรรค์. คำอธิบายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 1, (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี พ.ศ. 2563) หน้า 7 - 9
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น