สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.)
สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ส.ช.น.) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงพระราชทานกำเนิดเนติบัณฑิตยสภา เพื่อส่งเสริมความรู้ในวิชานิติศาสตร์ และควบคุมมรรยาทของผู้ประกองวิชาชีพกฎหมาย รวมทั้งให้อนุเคราะห์แก่บุคคลผู้ยากจน หรือมีรายได้น้อย ได้มีโอกาสป้องกันสิทธิของตนและให้ประชาชนมีสิทธิได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายโดยเสมอภาคและทั่วหน้ากัน ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย 2 ประเภท คือ
1. การให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าบริการใด ๆ ซึ่ง ส.ช.น. ได้จัดให้มีทนายความอาสา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาประจำทุกวันในเวลาราชการ สำหรับประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถเดินทางมาขอรับคำปรึกษาด้วยตนเอง หรือทางโทรศัพท์ 02-887-6811 , 02-887-6801-7 ต่อ 104, 108, 109
2. การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี ทั้งคดีแพ่ง อาญา หรือเรื่องอื่นใด โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องเสียให้แก่ศาลหรือทางราชการ เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้องคำขอ ค่าอ้างเอกสาร หรือส่งหนังสือ ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร ค่าคัดสำเนา หรือถ่ายเอกสาร เป็นต้น) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ประชาชนร้องขอด้วยความสุจริตและเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
2) เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีฐานะยากจน
3) เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และ
4) รูปคดีทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงสามารถให้ความช่วยเหลือได้
ที่มา สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, กฎหมายน่ารู้ ฉบับคู่มือประชาชน (พฤษภาคม 2564)
1. การให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าบริการใด ๆ ซึ่ง ส.ช.น. ได้จัดให้มีทนายความอาสา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาประจำทุกวันในเวลาราชการ สำหรับประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถเดินทางมาขอรับคำปรึกษาด้วยตนเอง หรือทางโทรศัพท์ 02-887-6811 , 02-887-6801-7 ต่อ 104, 108, 109
2. การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี ทั้งคดีแพ่ง อาญา หรือเรื่องอื่นใด โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องเสียให้แก่ศาลหรือทางราชการ เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้องคำขอ ค่าอ้างเอกสาร หรือส่งหนังสือ ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร ค่าคัดสำเนา หรือถ่ายเอกสาร เป็นต้น) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ประชาชนร้องขอด้วยความสุจริตและเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
2) เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีฐานะยากจน
3) เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และ
4) รูปคดีทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงสามารถให้ความช่วยเหลือได้
ที่มา สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, กฎหมายน่ารู้ ฉบับคู่มือประชาชน (พฤษภาคม 2564)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น