องค์กรบริหารศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมประกอบด้วยองค์กรบริหารงานของศาล จำนวน 3 องค์กร ได้แก่
1. คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 36
ก.ต. เป็นองค์คณะทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการ (ลักษณะทำนองเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.) มีบทบาทหน้าที่ในการวางแผนกำลังคนในด้านตุลาการ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การสรรหาบุคลากร การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม และมาตรการในการรักษาวินัยโดยอาศัยระบบคุณธรรม เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนและการคุ้มครองให้มีความอิสระอย่างแท้จริง
ก.ต. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลชั้นอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการเลือกตั้งของผู้พิพากษาทั่วประเทศซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการอีก 2 คน มีวาระในการดำรงตำแนห่งคราวละ 2 ปี
2. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 10
ก.บ.ศ. เป็นองกรบริหารที่ทำหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีในฝ่ายบริหาร เป็นผู้กำหนดโครงสร้างของสำนักงานศาลยุติธรรม การแบ่งส่วนราชการภายในองค์กร วางระเบียบข้อบังคับในการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบแก่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณและพัสดุ กำกับดูแลการบริหารราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน รวมทั้งมีอำนาจสั่งยับยั้งการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องได้ ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง ยุบเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาล กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในแต่ละศาลให้เหมาะสมตามความจำเป็นของทางราชการ
ก.บ.ศ. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศ ชั้นศาลละ 4 คน กับบุคคลภายนอกผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กร หรือด้านบริหารจัดการที่ประธาน ก.บ.ศ. และ ก.บ.ศ. ประจำศาลเลือกมาไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน โดยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
3. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 18
ก.ศ. เป็นองค์คณะที่มีบทบาทหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการศาลยุติธรรม ตั้งแต่การกำหนดสายงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการปฏิบัติงาน สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกำหนดตำแหน่ง วางแผนอัตรากำลังคน การสรรหาบุคลากร กำหนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การบรรจุแต่งตั้ง สิทธิประโยชน์ ค่าตอบแทน การพัฒนาบุคลากร วินัย การลา และสวัสดิการอื่น ๆ
ก.ศ. ประกอบด้วย ประธานศาลอุทธรณ์เป็นประธานโดยตำแหน่ง รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ก.ต. ชั้นศาลละ 1 คน ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำนวยการหรือประเภทบริหาร ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรมที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป ประเภทอำนวยการระดับต้นขึ้นไป และประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไป จำนวน 5 คน และบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคลหรือด้านการบริหารจัดการ ที่ ก.ศ. เลือกมาไม่เกิน 3 คน โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ที่มา
1. คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 36
ก.ต. เป็นองค์คณะทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการ (ลักษณะทำนองเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.) มีบทบาทหน้าที่ในการวางแผนกำลังคนในด้านตุลาการ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การสรรหาบุคลากร การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม และมาตรการในการรักษาวินัยโดยอาศัยระบบคุณธรรม เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนและการคุ้มครองให้มีความอิสระอย่างแท้จริง
ก.ต. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลชั้นอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการเลือกตั้งของผู้พิพากษาทั่วประเทศซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการอีก 2 คน มีวาระในการดำรงตำแนห่งคราวละ 2 ปี
2. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 10
ก.บ.ศ. เป็นองกรบริหารที่ทำหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีในฝ่ายบริหาร เป็นผู้กำหนดโครงสร้างของสำนักงานศาลยุติธรรม การแบ่งส่วนราชการภายในองค์กร วางระเบียบข้อบังคับในการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบแก่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณและพัสดุ กำกับดูแลการบริหารราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผน รวมทั้งมีอำนาจสั่งยับยั้งการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องได้ ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง ยุบเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาล กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในแต่ละศาลให้เหมาะสมตามความจำเป็นของทางราชการ
ก.บ.ศ. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศ ชั้นศาลละ 4 คน กับบุคคลภายนอกผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กร หรือด้านบริหารจัดการที่ประธาน ก.บ.ศ. และ ก.บ.ศ. ประจำศาลเลือกมาไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน โดยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
3. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 18
ก.ศ. เป็นองค์คณะที่มีบทบาทหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการศาลยุติธรรม ตั้งแต่การกำหนดสายงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการปฏิบัติงาน สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกำหนดตำแหน่ง วางแผนอัตรากำลังคน การสรรหาบุคลากร กำหนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การบรรจุแต่งตั้ง สิทธิประโยชน์ ค่าตอบแทน การพัฒนาบุคลากร วินัย การลา และสวัสดิการอื่น ๆ
ก.ศ. ประกอบด้วย ประธานศาลอุทธรณ์เป็นประธานโดยตำแหน่ง รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ก.ต. ชั้นศาลละ 1 คน ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำนวยการหรือประเภทบริหาร ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรมที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป ประเภทอำนวยการระดับต้นขึ้นไป และประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไป จำนวน 5 คน และบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคลหรือด้านการบริหารจัดการ ที่ ก.ศ. เลือกมาไม่เกิน 3 คน โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ที่มา
- หนังสือแนะนำศาลยุติธรรม
- คู่มือการติดต่อราชการศาลยุติธรรม ฉบับประชาชน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น