ข้าราชการถูกไล่ออกจากราชการ จะอาศัยผลแห่งคดีอาญาที่เป็นคุณ เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออก ได้หรือไม่
ข้าราชการที่ถูกฟ้องคดีอาญา และถูกดำเนินการทางวินัยควบคู่กันไปด้วย จนกระบวนการทางวินัยเสร็จสิ้น ให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ หากต่อมาผลคดีอาญาศาลพิพากษายกฟ้อง โดยข้อเท็จจริงไม่พอรับฟังได้ว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำความผิดทางอาญา ข้าราชการผู้นี้จะขอให้หน่วยงานเพิกถอนหรือยกเลิกคำสั่งไล่ออกจากราชการ ได้หรือไม่
ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นาย ป. ข้าราชการ กรมที่ดิน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล เป็นเหตุให้กรมที่ดินดำเนินการทางวินัยนาย ป. และมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ต่อมานาย ป.ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาสั่งการให้ยกอุทธรณ์ จากนั้นนาย ป. จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษและคำสั่งยกอุทธรณ์ ซึ่งคดีปกครองถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้อง (คำสั่งลงโทษไล่ออกชอบด้วยกฎหมายแล้ว)
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่านาย ป. กระทำความผิดทางอาญา นาย ป. จึงได้ร้องขอให้กรมที่ดินเบิกจ่ายเงินเดือน ในระหว่างที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการจนถึงวันเกษียณอายุราชการ รวมทั้งเงินบำเหน็จด้วยเหตุเกษียณอายุราชการ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง แสดงว่าตนไม่ได้กระทำผิด การลงโทษไล่ออกจากราชการจึงขัดต่อคำพิพากษาศาลฎีกา กรมที่ดินจึงได้หารือต่อสำนักงาน ก.พ.
สำนักงาน ก.พ. มีความเห็นว่า การดำเนินการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัย กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินคดีอาญา การสอบสวนพิจารณาทางวินัยไม่จำเป็นที่จะต้องรอฟังผลคดีอาญา แม้ภายหลังศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ได้ทำให้การพิจารณาดำเนินการทางวินัยเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี โดยที่ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 54 บัญญัติว่า "เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์...ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ....การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้" ดังนั้น หากผู้ถูกลงโทษเห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นมาที่อาจทำให้ผลการพิจารณามีการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ผู้ถูกลงโทษก็อาจมีคำขอเพื่อให้มีการพิจารณาใหม่ได้ ตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นาย ป. ข้าราชการ กรมที่ดิน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล เป็นเหตุให้กรมที่ดินดำเนินการทางวินัยนาย ป. และมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ต่อมานาย ป.ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาสั่งการให้ยกอุทธรณ์ จากนั้นนาย ป. จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษและคำสั่งยกอุทธรณ์ ซึ่งคดีปกครองถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้อง (คำสั่งลงโทษไล่ออกชอบด้วยกฎหมายแล้ว)
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่านาย ป. กระทำความผิดทางอาญา นาย ป. จึงได้ร้องขอให้กรมที่ดินเบิกจ่ายเงินเดือน ในระหว่างที่ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการจนถึงวันเกษียณอายุราชการ รวมทั้งเงินบำเหน็จด้วยเหตุเกษียณอายุราชการ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง แสดงว่าตนไม่ได้กระทำผิด การลงโทษไล่ออกจากราชการจึงขัดต่อคำพิพากษาศาลฎีกา กรมที่ดินจึงได้หารือต่อสำนักงาน ก.พ.
สำนักงาน ก.พ. มีความเห็นว่า การดำเนินการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัย กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินคดีอาญา การสอบสวนพิจารณาทางวินัยไม่จำเป็นที่จะต้องรอฟังผลคดีอาญา แม้ภายหลังศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ได้ทำให้การพิจารณาดำเนินการทางวินัยเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี โดยที่ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 54 บัญญัติว่า "เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์...ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ....การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้" ดังนั้น หากผู้ถูกลงโทษเห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นมาที่อาจทำให้ผลการพิจารณามีการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ผู้ถูกลงโทษก็อาจมีคำขอเพื่อให้มีการพิจารณาใหม่ได้ ตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
จากคำตอบข้อหารือของสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าว จึงสรุปหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติงานได้ว่า กฎหมายระเบียบข้าราชการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไว้เป็นการเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องรอฟังผลคดีอาญา และผลคดีอาญาไม่กระทบต่อการพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้าราชการดังกล่าวอาจขอให้พิจารณาทางปกครองใหม่ได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รู้เหตุนั้น
ที่มา / ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ล 245 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เรื่อง หารือเกี่ยวกับผลแห่งคดีอาญา
ที่มา / ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ล 245 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เรื่อง หารือเกี่ยวกับผลแห่งคดีอาญา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น