ใบแต่งทนายความไม่ระบุอำนาจโดยชัดแจ้ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2564)
หากใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุเรื่องกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความแล้ว ทนายความย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้น มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจชัดแจ้งเช่นว่านี้ จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายความสำหรับคดีเรื่องนั้น..." เช่นนี้ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา และกระบวนพิจารณาใดที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จึงต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้
ดังนั้น เมื่อตามใบแต่งทนายความ ที่จำเลยแต่งตั้งนาย อ. เป็นทนายความดำเนินคดีแทนจำเลย มิได้ระบุให้นาย อ. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทน นาย อ. ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้แทนจำเลยได้
และเมื่อนาย อ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ทำการแทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้น จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อจำเลย
ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์มา โดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวนั้น เป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยความยุติธรรม
ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของจำเลยดังกล่าวได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องข้างต้น แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2564. เนติบัณฑิตยสภา, หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 5, หน้า 1294 - 1298
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 27 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณาคดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ศาลเห็นสมควร
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ
ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใด ๆ อันมิใช่เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ"
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้น มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจชัดแจ้งเช่นว่านี้ จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายความสำหรับคดีเรื่องนั้น..." เช่นนี้ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา และกระบวนพิจารณาใดที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จึงต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้
ดังนั้น เมื่อตามใบแต่งทนายความ ที่จำเลยแต่งตั้งนาย อ. เป็นทนายความดำเนินคดีแทนจำเลย มิได้ระบุให้นาย อ. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทน นาย อ. ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้แทนจำเลยได้
และเมื่อนาย อ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ทำการแทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้น จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อจำเลย
ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์มา โดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวนั้น เป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยความยุติธรรม
ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของจำเลยดังกล่าวได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องข้างต้น แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2564. เนติบัณฑิตยสภา, หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 5, หน้า 1294 - 1298
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 18 บัญญัติว่า "ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจหรือเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 248"
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจหรือเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 248"
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ
ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใด ๆ อันมิใช่เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น