การทำงานโดยไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชา-ลงโทษวินัย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2564)
การพิจารณาสถานะความเป็นลูกจ้างนายจ้าง จะต้องพิจารณาถึงอำนาจบังคับบัญชา และอำนาจลงโทษวินัยด้วย ดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย อ. ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวของจำเลย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน ต่อมาจำเลยเสนอให้ นาย อ. และเพื่อนร่วมงาน ทำสัญญาใหม่เป็นสัญญาจ้างทำของ นาย อ. และเพื่อนร่วมงานไม่ยินยอม เป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างนาย อ. และเพื่อนร่วมงานดังกล่าว นาย อ. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย ประกอบด้วย
- ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 450,000 บาท
- ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม 32,250 บาท
- ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 38,700 บาท
- ค่าเสียหายจากการเสียสิทธิในการรักษาพยาบาลตามประกันภัยกลุ่ม 43,000 บาท
- จ่ายเงินเพิ่มพิเศษหรือโบนัสประจำปี 90,000 บาท
จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาจ้างนาย อ. เป็นลูกจ้าง เป็นการจ้างเหมาทำงานฟรีแลนซ์ (Freelance) การทำงานไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การทำงานของนาย อ. ไม่ต้องมีการบันทึกเวลาเข้าออก นาย อ. ไม่มีบัตรประจำตัวพนักงานเช่นเดียวกับลูกจ้างของจำเลย นาย อ. จะมาทำงานหรือไม่ก็ได้ หากไม่มาก็ไม่ต้องยื่นใบลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย และไม่ต้องถูกลงโทษตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย แสดงว่า นาย อ. ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของจำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่าง นาย อ. และจำเลย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ดังนี้ นาย อ. ไม่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้าง อันเป็นค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าเสียหายจากการเสียสิทธิได้รับการประกันภัยกลุ่ม และค่าเสียหายจากการไม่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษหรือโบนัสประจำปี รวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2564. เนติบัณฑิตยสภา, หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 4, หน้า 950 - 956
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย อ. ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวของจำเลย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน ต่อมาจำเลยเสนอให้ นาย อ. และเพื่อนร่วมงาน ทำสัญญาใหม่เป็นสัญญาจ้างทำของ นาย อ. และเพื่อนร่วมงานไม่ยินยอม เป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างนาย อ. และเพื่อนร่วมงานดังกล่าว นาย อ. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย ประกอบด้วย
- ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 450,000 บาท
- ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม 32,250 บาท
- ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 38,700 บาท
- ค่าเสียหายจากการเสียสิทธิในการรักษาพยาบาลตามประกันภัยกลุ่ม 43,000 บาท
- จ่ายเงินเพิ่มพิเศษหรือโบนัสประจำปี 90,000 บาท
จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาจ้างนาย อ. เป็นลูกจ้าง เป็นการจ้างเหมาทำงานฟรีแลนซ์ (Freelance) การทำงานไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การทำงานของนาย อ. ไม่ต้องมีการบันทึกเวลาเข้าออก นาย อ. ไม่มีบัตรประจำตัวพนักงานเช่นเดียวกับลูกจ้างของจำเลย นาย อ. จะมาทำงานหรือไม่ก็ได้ หากไม่มาก็ไม่ต้องยื่นใบลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย และไม่ต้องถูกลงโทษตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย แสดงว่า นาย อ. ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของจำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่าง นาย อ. และจำเลย ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ดังนี้ นาย อ. ไม่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้าง อันเป็นค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าเสียหายจากการเสียสิทธิได้รับการประกันภัยกลุ่ม และค่าเสียหายจากการไม่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษหรือโบนัสประจำปี รวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ที่มา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2564. เนติบัณฑิตยสภา, หนังสือคำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช 2564 ตอนที่ 4, หน้า 950 - 956
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 5 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้
“สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยาย ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น