บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในคดีอาญา เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2564)

รูปภาพ
จำเลยฎีกาว่า จ่าสิบเอก ก. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากกองทัพบก ผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในคดีอาญา แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง แต่เมื่อปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานรับของโจร ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดต่อแผ่นดิน พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนในความผิดดังกล่าวได้เอง โดยไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์หรือการมอบคดีจากผู้เสียหาย  แม้จ่าสิบเอก ก. ร้องทุกข์โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งสามารถดำเนินการสอบสวนความผิดดังกล่าวได้โดยชอบ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงา...

ศาลชั้นต้นไม่ส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงให้ผู้พิพากษาสั่ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2564)

รูปภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และนับโทษต่อจากคดีอื่น ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง  จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและให้นับโทษต่อ ตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาและสั่งคำร้องดังกล่าว ซึ่งรวมถึงผู้พิพากษา ช. ส. และ ธ. ด้วย  แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าว ศาลฎีกาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า ช. และ ส. เกษียณราชการแล้ว จึงไม่อาจสั่งคำร้องดังกล่าวได้ คงเหลือ ธ. ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในชั้นไต่ส่วนมูลฟ้องที่ยังไม่ได้พิจารณาคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการตามความประสงค์ของจำเลยให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อเท็จจริงท...

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป

รูปภาพ
หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป 7 ประการ คือ 1. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบ และส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 642 บัญญัติว่า "ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย" - ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สิน ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสีย - การส่งมอบและส่งคืน ถ้าไม่ได้กำหนดสถานที่ใดไว้ ต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ตามมาตรา 324 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้" 2. หน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือน...

ผู้ยืมต้องรับผิดเมื่อทำผิดหน้าที่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2548)

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เฉพาะแต่ในกรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้

สิทธิคนพิการด้านการศึกษา ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on thi Rights of Persons with Disabilities : CRPD)  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 เพื่อส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวง ส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ข้อ 24 ได้กำหนดสิทธิด้านการศึกษาไว้ดังนี้ 1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของคนพิการด้านการศึกษา และเพื่อให้สามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้จริงโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกัน ให้รัฐภาคีประกันการมีระบบการศึกษาแบบเรียนร่วมในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเพื่อ    (A) การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์และการสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตนอย่างเต็มที่ และการเสริมสร้างการเคารพในสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานและความหลากหลายของมนุษย์    (B) การให้คนพิการได้พัฒนาบุคลิกภาพ พรสวรรค์ และความคิดสร้างสรรค์ของตน รวมทั้งความสามารถด้านจิตใจและร่างกายให้ถึงศักยภาพสูงสุด    (C) การให้คนพิการสามารถเข้ามีส่วนร...

รูปภาพกฎหมาย (หน้า 9)

รูปภาพ

สถานที่เกิดมูลหนี้เดิม เป็นสถานที่มูลคดีตามเช็คเกิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548)

รูปภาพ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร โดยทำสัญญาและก่อสร้างอาคารที่ จังหวัดเชียงใหม่ และจำเลยได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ธนาคารทหารไทย จำกัด สาขาท่าอากาศยาน ในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ลงวันที่สั่งจ่าย 15 กรกฎาคม 2536 จำนวนเงิน 2,693,970 บาท มอบให้โจทก์ ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าว ถือว่ามูลคดีตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง   มูลหนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) ที่มา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548, ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 บัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น   (1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่   (2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเ...

คุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

รูปภาพ
ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไประดับชำนาญงาน หรือเทียบเท่า (2) เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การตรวจแรงงาน การตรวจสถานประกอบการ การตรวจคุ้มครองคนหางาน การคุ้มครองสิทธิเด็ก สตรี คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน หรือการจัดสวัสดิการสังคม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี (3) ผ่านการอบรมการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามหลักสูตรที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และปลัดกระทรวงแรงงานให้ความเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าราชการตาม (1) ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ รองหัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงแรงงาน อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ต้องผ่านหลักสูตรตาม (3) แต่ต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุ...

ศาลแพ่ง "แผนกคดีซื้อขายออนไลน์"

รูปภาพ
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)  ได้ออกประกาศให้จัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่แพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อพิพาทตามมาเป็นจำนวนมาก แต่ช่องทางระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นผลให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต  จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ขึ้นในศาลแพ่ง ให้เป็นระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ที่มีข้อพิพาทอันเกิดจากการบริโภควิถีใหม่ สามารถเข้าถึงศาล และใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองได้โดยสะดวก เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศ ให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้อีกทางหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คดีซื้อขายออนไลน์ หมายความว่า คดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ...

ข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2564)

รูปภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นต่อประชาชนและต่อผู้เสียหาย ในลักษณะเป็นขบวนการ มีการวางแผนร่วมกันเป็นขั้นตอน (แก๊ง call center) ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 , 83 , 92 , 341 , 342 , 343 และเพิ่มโทษ จำเลยทั้งสี่ ให้การรับสารภาพในข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 , 342 แต่ปฏิเสธข้อหาตามมาตรา 343 และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ต่อมาในชั้นฎีกา จำเลยที่ 2 และที่ 4 ยื่นฎีกาว่า จำเลยทั้งสองได้ทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับประโยชน์หรือมีส่วนในเงินของผู้เสียหาย และโจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้หลอกลวงผู้เสียหาย อันเป็นฎีกาในทำนองว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงผู้เสียหาย เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 อ้างขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง ที่รับว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตา...

หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งผิดพลาดร้ายแรง ถือว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.47/2546 ประชุมใหญ่)

รูปภาพ
คดีปกครองเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกได้กำหนดค่าปรับผู้รับจ้างต่ำกว่าข้อกำหนดในประกาศสอบราคา เป็นเหตุทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย  หน่วยงานของรัฐ (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และมีความเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ร้ายแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และผู้ถูกฟ้องคดีก็ไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามนัยมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 การที่ผู้ถูกฟ้องคดี มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้เงินจากความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ และขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ถือเป็นการกระทำที่มีลักษณะผิดพลาดอย่างชัดแจ้งและร้ายแรงในทางกฎหมาย จึงถือเสมือนว่าไม่มีการออกคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองจึงไม่จำต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เพราะคำสั่งนั้นย่อ...

สัญญาจ้างแรงงานไม่ต้องทำเป็นหนังสือ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2564)

รูปภาพ
สัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น ซึ่งคดีนี้ศาลฎีกาได้อธิบายความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน และพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น โดยวินิจฉัยว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ไม่ได้บัญญัติว่า สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น  สัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน โดยฝ่ายหนึ่งตกลงทำงานและอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจ่ายสินจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์ยื่นใบสมัครงานต่อจำเลย ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และระบุเงินเดือนที่ต้องการ ใบสมัครงานเป็นการแสดงเจตนาทำคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยสัมภาษณ์งานโจทก์ โดยมีผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยร่วมสัมภาษณ์  เมื่อโจทก์ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรก และได้รับแบบทดสอบจากจำเลย เมื่อโจทก์ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลนำแบบทดสอบไปให้ ภ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย แล้วนำโจทก์ไปที่ห้องสัมภาษณ์อีกครั้งหน่ง มี ภ. กับผู้จัดการโรงงานในเครือของจำเลยเข้าร่วมรับฟังอยู่ด้วย จนกระทั่...

ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ข้อมูลไม่เป็นประโยชน์แก่การปราบปราม ไม่มีเหตุให้ศาลกำหนดโทษน้อยลง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2564)

รูปภาพ
ข้อเท็จจริงในคดี ปรากฏว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 (ปัจจุบันคือ ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 153)  โดยอ้างว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมฐานมียาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 จำนวน 39 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ที่ ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ และได้ให้ข้อมูลว่าได้ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนอีก 2,000 เม็ด ไว้ที่บ้านของตนเองที่ ต.ดองกำเม็ด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ จึงพาเจ้าหน้าที่ไปตรวจพบในวันเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อมูลที่ผู้กระทำความผิดให้ต่อเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ต้องเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์ที่จะนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษจำนวนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางในคดี และเจ้าพนักงานไม่สามารถค้นพบหรือยึดได้ หากไม่ได้รับข้อมูลจากผู้กระทำความผิด เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้ทั้งสองครั้งเป็นจำนวนเดียวกัน จำเลยที่...

จำเลยได้รับเงินเดือนเกินสิทธิ หน่วยงานราชการมีสิทธิติดตามทรัพย์สินคืนโดยไม่มีอายุความ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2564)

รูปภาพ
การจ่ายเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หน่วยงานราชการจะต้องเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ หากมีการจ่ายเกินไป ก็ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินงบประมาณแผ่นดินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ลูกจ้างผู้ได้รับเงินเกินสิทธิ จะต่อสู้ว่าได้รับเงินในฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 ไม่ได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2564 คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นหน่วยงานราชการ ได้จัดระบบลูกจ้างใหม่ตามแนวทางของกระทรวงการคลัง แต่ดำเนินการไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการจ่ายค่าจ้างและเลื่อนขั้นค่าจ้างให้แก่จำเลยไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยจ่ายเงินสูงกว่าความถูกต้อง เกินความจริงที่จำเลยมีสิทธิได้รับ รวม 97,035 บาท การเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินนั้น ต้องเบิกจ่ายตามที่หน่วยงานของบประมาณแผ่นดินมาใช้ประจำปี เมื่อจำเลยเป็นพนักงานของราชการ ที่ได้รับเงินงบประมาณเป็นเงินเดือน รวมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินรางวัลดังกล่าว ก็เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดิน ย่อมเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายอย่างถูกต้องตามสิทธิที่จะได้รับ   จำเลยจะยกข้ออ้างว่า โจทก์จ่...

แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 44 - 54)

รูปภาพ
ข้อ 64 - ข้อ 69 ให้ ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 60 วัน ง. 90 วัน ข้อ 64 ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตาม หลักทั่วไป ข้อ 65 ระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง ข้อ 66 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาใดโดยไม่ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ข้อ 67 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์สามารถขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่เกินกี่วัน ข้อ 68 ระยะเวลาการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ ข้อ 69 กำหนดเวลาในการขอให้พิจารณาใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ข้อ 70 กรณีอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมออกคำสั่งทางปกครอง ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวคือใคร ก. รองปลัดกระทรวง ข. ปลัดกระทรวง ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 71 ตามบทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง หมายถึงการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในเรื่องใด ก. คำสั่งที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์ ข. คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ค. คำสั่งที่เป็นการให้ประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ ***มาตรา 55 ถึงมาตรา 63 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562**...

โครงสร้างกฎหมาย พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมายกลางในการยุติข้อพิพาททางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก และข้อพิพาททางอาญาบางประเภท มีโครงสร้างของกฎหมายดังนี้ บททั่วไป  หมวด 1 ผู้ไกล่เกลี่ย  หมวด 2 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง     ส่วนที่ 1 กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง    ส่วนที่ 2 การบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท หมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา หมวด 4 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 1 บททั่วไป    ส่วนที่ 2 ผู้ไกล่เกลี่ย    ส่วนที่ 3 กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 4 การยุติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน    ส่วนที่ 5 ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน หมวด 5 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน หมวด 6 บทกำหนดโทษ ดาวน์โหลดไฟล์ พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2564)

รูปภาพ
ตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เป็นการอธิบายความหมายของการกระทำความผิด ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4)  มาตรา 80 ประกอบมาตรา 83 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนกระทำความผิด ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้ว จึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน ทั้งการไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำความผิด ผู้ร่วมกระทำความผิดที่มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนไม่มีความผิดด้วย เพราะกฎหมายมุ่งถึงการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นสภาพจิตใจของแต่ละคน การจะเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จึงต้องมีลักษณะเป็นการวางแผน การคบคิดร่วมกันมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น หรือไปดักฆ่าผู้อื่นโดยมีพฤติการณ์ร่วมกัน คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน ข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เพียงว่า ก่อนเกิดเหตุ นาย ว. และจำเลยกับพวก อยู่ที่บ้านของจำเลย นาย ว. เป็นผู้ชักชวนไปก่อเหตุ โดยจำเลยไม่เคยรู้จักผู้ร่วมก่อเหตุ (นาย ศ. และนาย ส.) ...

รัฐธรรมนูญ' 64 แก้ไขที่มาของ ส.ส.

รูปภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 ได้แก้ไขที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และหลักเกณฑ์ในการคำนวณคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปที่จะมีขึ้นในครั้งหน้า 1. ที่มาของ ส.ส.    1.1 ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ       - แบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน        - แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน    1.2 การเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบละ 1 ใบ   1.3 หากตำแหน่ง ส.ส. ว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อ ส.ส. ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ ส.ส. ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่   1.4 หาก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ 2. หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวน ส.ส. แต่ละจังหวัด     2.1 ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวน ส...

การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการ ต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 ประชุมใหญ่)

รูปภาพ
การนับเวลาละทิ้งหน้าที่ราชการของข้าราชการ จะต้องนับวันหยุดราชการรวมด้วย ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1612/2559 (ประชุมใหญ่) ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นข้าราชการ ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อถูกสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ก็ไม่ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และเมื่อถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ก็ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด จึงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันในช่วงที่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการไป สำหรับปัญหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการจำนวนเท่าใด นั้น ผู้ฟ้องคดี (หน่วยงานของรัฐ) ได้ฟ้องเรียกเงินเดือน เงินค่าครองชีพ และเบี้ยกันดารสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการ เป็นเวลา 187 วัน คืนแก่ทางราชการ  ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ใน บางเดือนผู้ถูกฟ้องคดีได้ละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกันกับวันหยุดราชการ คือ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์  ถือได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีเจตนาละทิ้งหน้าที่ราชการต่อเนื่องกัน จึง...

ค่าเสียหายจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2564)

รูปภาพ
การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย จากการทำลายหรือทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหายในเรื่องนี้ เป็นประเด็นหนึ่งจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2564  คดีนี้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยื่นฟ้องว่าจำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยทำการปรับพื้นที่ใช้เครื่องจักรขุดร่องน้ำ ยกคัน ปลูกไม้ยืนต้นจำนวนมากหลายชนิด มิใช่พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ และมีบ้านพัก 1 หลัง เป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย หรือเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ จึงต้องรับผิดตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไร่ละ 78,202 บาท รวมเป็นเงิน 11,496,280.51 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทยังมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าและคูน้ำ อันเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเช่นเดียวกับสภาพก่อนที่มีการบุกรุก และทางนำสืบไม่ปรากฏว่า พื้นที่ทุ่งหญ้าและคูน้ำมีเนื้อที่จำนวนเท่าใด เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์โดยตรง และการใช้ประโยชน์โดยอ้อม ซึ่งเป็นฐานในการกำหนดมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมทั้งหมดหรือบางส่วนเพ...

ธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ยกเว้นไม่นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ

รูปภาพ
การทำธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (หรือการทำแทนกระดาษและการลงลายมือชื่อ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิพม์ หรือโทรสาร) จะต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม มีธุรกรรมบางประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การทำธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องอยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นจะมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมบางประเภทที่ไม่ต้องนำกฎหมายนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้บังคับ ปัจจุบันได้มีการตรา พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ พ.ศ. 2549 โดยกำหนดให้มีการยกเว้นสำหรับ  การทำธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัว และ ธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก ที่ไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ เนื่องจากเห็นว่าธุรกรรมเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก ยังไม่เหมาะสมที่จะใช้ข้อมูลอิเล็ก...

กฎหมายใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2564

รูปภาพ
กฎหมายฉบับใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 มีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 หมายเหตุ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และควบคุมยาเสพติด รวมถึงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ และการดำเนินการตามกฎหมายแต่ละฉบับ เป็นหน้าที่และอำนาจของหลายองค์กร ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรรวบรวมกฎหมายดังกล่าว จัดทำเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง และใช้กฎหมายที่จะรวมอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ พร้อมกันนี้ได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าว ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องกำหนดให้มีระบบอนุญาต เพื่อให้การควบคุมและการใช้ประโยชน์ยาเสพติดในทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ และทางอุตสาหกรรม มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติด และการใช้ยาเสพติดในทางที่ไม่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การเสพติดยาเสพติด ซึ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่กระจายยาเส...

การเปลี่ยนผ่านกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด สู่ "ประมวลกฎหมายยาเสพติด"

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายยาเสพติดจะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป วันนี้เราจะมาทำความรู้จักบทบัญญัติในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน จากกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดหลาย ๆ ฉบับ ไปสู่การเป็น "ประมวลกฎหมายยาเสพติด" กันครับ 1. ประมวลกฎหมายยาเสพติด  ประมวลกฎหมายยาเสพติด เป็นการจัดหมวดหมู่ของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นการรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันให้มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ กฎหมายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กฎหมายยาเสพติดให้โทษ กฎหมายป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมายมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กฎหมายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สำหรับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ไม่ได้ถูกรวบไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด และยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นอีกฉบับ คือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 2. การยกเลิกกฎหมาย เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับแล้ว จะยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้     2.1 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ...