บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2021

ผู้ขนส่งคนโดยสารต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญารับขนคนโดยสาร คือ สัญญาที่ผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนส่งคนจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และคนโดยสารก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าโดยสาร ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องรับผิด หากเกิดความเสียหายแก่ตัวผู้โดยสาร หรือความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ เนื่องจากการชักช้าในการขนส่ง (เว้นแต่เหตุสุดวิสัย หรือความผิดนั้นเกิดขึ้นจากผู้โดยสารเอง) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้โดยสารดังกล่าว ครอบคลุมไปถึงความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โดยมีตัวอย่างคำพิพากษา เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2523 ขับรถตกคู เป็นเหตุให้คนโดยสารต้องตัดแขน ต้องใช้ค่าเสียหาย รวมถึงความเสียหายที่ต้องตัดข้อมือขวาแล้วใช้แขนเทียมแทน เสียความสามารถประกอบการงานไปโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน และค่าตกใจและกระทบกระเทือนจิตใจเพราะสูญเสียข้อมือขวา ซึ่งพอแปลความได้ว่าประสงค์เรียกร้องเอา ค่าเสียหายเพราะเหตุที่ต้องถูกตัดข้อมือขวา เป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ความเสียหายที่ผู้ขนส...

หนี้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร บิดามารดาต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม

รูปภาพ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดามีหน้าที่ต้องให้การศึกษาตามควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ หากในระหว่างสมรส สามีหรือภริยาได้ก่อหนี้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ โดยคำนึงถึงฐานะของครอบครัวเป็นสำคัญ ย่อมถือว่าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2550 จำเลยได้แยกกันอยู่กับโจทก์ แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่าย การที่จำเลยได้กู้เงิน 2 ครั้ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร โจทก์ผู้เป็นบิดาจึงต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่า จำเลยกู้เงินในปี 2543 ระบุวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน จำนวน 20,000 บาท การกู้ทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวโจทก์ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า จำเลยกู้เงิน 2 ครั้ง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตร อันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัว และเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรส จึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลู...

แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 34 - 43)

รูปภาพ
ข้อ 52 ผู้รับคำสั่งทางปกครองด้วยวาจา หากต้องการให้เจ้าหน้าที่ยืนยันคำสั่งเป็นหนังสือ ต้องร้องขอภายในเวลากี่วัน ก. 3 วัน ข. 5 วัน ค. 7 วัน ง. 15 วัน ข้อ 53  มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บัญญัติให้สามารถทำคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ หรือวาจา หรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ หากเจ้าหน้าที่ต้องการทำคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาในเรื่องที่ มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ทำคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าว ท่านในฐานะนิติกรจะให้ความเห็นตามข้อใด ก. สามารถกระทำด้วยวาจาได้ เนื่องจากมาตรา 34 ให้อำนาจไว้ ข. ต้องกระทำเป็นหนังสือ เนื่องจากมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ ค. กระทำโดยสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้  ง. ถูกทุกข้อ  ข้อ 54 การกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งทางปกครอง ต้องเป็นไปตามหลักการในข้อใด ก. เงื่อนไขต้องสร้างความเป็นธรรมต่อผู้รับคำสั่ง ข. เงื่อนไขต้องไม่สร้างภาระให้แก่ผู้รับคำสั่ง ค. เงื่อนไขต้องมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ง. เงื่อนไขต้องจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ข้อ 55 การออกใบอนุญาตตั้งสถานบริก...

แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 21 - 33)

รูปภาพ
ข้อ 36 บุคคลในข้อใด อาจเป็นคู่กรณีตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ก. บุคคลธรรมดาผู้ยื่นคำขอ ข. คณะบุคคลผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ค. นิติบุคคลผู้คัดค้านคำขอ ง. ถูกทุกข้อ ข้อ 37 เมื่อคู่กรณีได้แต่งตั้งตัวแทนเพื่อกระทำการแทนในกระบวนการพิจารณาทางปกครองแล้ว การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในข้อใดถูกต้อง ก. เจ้าหน้าที่ต้องติดต่อกับตัวแทนโดยตรง ข. เจ้าหน้าที่ต้องติดต่อกับคู่กรณีเท่านั้น ค. เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับคู่กรณีหรือตัวแทนก็ได้ ตามความสะดวก ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง ข้อ 38 จากข้อ 37 หากคู่กรณีถึงแก่ความตายหลังจากได้แต่งตั้งตัวแทนแล้ว จะมีผลอย่างไร ก. ความเป็นตัวแทนระงับลง ข. ความเป็นตัวแทนไม่ระงับ ค. เจ้าหน้าที่ต้องชะลอการพิจารณาไว้ก่อน ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง ข้อ 39 คู่กรณีต้องมีจำนวนตามข้อใด จึงจะเข้าข่ายการตั้งตัวแทนร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ก. 15 คน ข. 30 คน ค. 45 คน ง. 60 คน ข้อ 40 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการบอกเลิกตัวแทนร่วม ก. ตัวแทนร่วมบอกเลิกเมื่อใดก็ได้ ข. คู่กรณีที่บอกเลิกต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ค. ตัวแทนร่วมที่บอก...

ระยะเวลาบังคับคดี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ไม่ใช่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10731/2558 (ประชุมใหญ่) พิพากษาว่า คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือวันที่ 3 เมษายน 2553  เมื่อปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา จะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด ที่มา ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา

สัญญาจำนำระงับ เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินกลับคืนสู่ครอบครองของผู้จำนำ

รูปภาพ
สาระสำคัญของสัญญาจำนำ คือ การส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ ให้อยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำ ทำให้ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดถือทรัพย์สินไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ (เช่น ดอกเบี้ย) ครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 758 หากผู้รับจำนำ ยินยอมโดยสมัครใจ ให้ทรัพย์สินที่จำนำ กลับคืนไปสู่ความครอบครองของผู้จำนำ สัญญาจำนำย่อมระงับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 769 ที่บัญญัติว่า "อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป... (2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำ กลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ" ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2559 ตามสัญญาจำนำเครื่องจักรและสัญญารักษาทรัพย์ ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ นำเครื่องจักรมาจำนำไว้แก่โจทก์ โดยตกลงให้ ศ. ซึ่งเป็น พนักงานของลูกหนี้ เป็นผู้เก็บรักษาเครื่องจักรที่จำนำไว้ที่โรงงานของลูกหนี้ โดย ศ. จะได้รับค่าตอบแทนการรักษาทรัพย์จำนำเดือนละ 100 บาท และยังมีข้อตกลงว่า ตลอดเวลาที่ทรัพย์จำนำอยู่ในความครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำ แม้ผู้จำนำจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่จำนำ ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองขอ...

แนวข้อสอบ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (มาตรา 12 - 20)

รูปภาพ
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ เพื่อตอบคำถาม  ข้อ 21 - ข้อ 29 เกี่ยวกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองให้ถูกต้อง ก. ความไม่เป็นกลางทางภาวะวิสัย ข. ความไม่เป็นกลางทางอัตตะวิสัย ข้อ 21 ความไม่เป็นกลางอันมีเหตุจากสถานภาพของตัวเจ้าหน้าที่ ข้อ 22 ความไม่เป็นกลางอันมีเหตุจากสภาพภายในความคิดจิตใจของเจ้าหน้าที่ ข้อ 23 เจ้าหน้าที่เป็นตัวแทนของคู่กรณี ข้อ 24 เจ้าหน้าที่เป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์กับเรื่องที่จะพิจารณา ข้อ 25 คู่สมรสของเจ้าหน้าที่มีคดีพิพาทกับคู่กรณี ข้อ 26 เจ้าหน้าที่เป็นบุพการี นอกกฎหมาย ของคู่กรณี ข้อ 27 เจ้าหน้าที่เป็นลูกหนี้ ในมูลละเมิด ของคู่กรณี ข้อ 28 เจ้าหน้าที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับครู่กรณี ซึ่ง บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส กัน ข้อ 29 เจ้าหน้าที่เคยแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนในเรื่องที่จะทำการพิจารณานอกหน้าที่ราชการมาก่อนแล้ว ข้อ 30 เจ้าหน้าที่ซึ่งถูกคัดค้านไม่ให้ทำการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากเป็นบุคคลตามมาตรา 13 จะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง ภายในระยะเวลาใด  เพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไป  ก. ภายในวันทำการรุ่งขึ้น ข. ภายใน 3 วันทำการ ค....

การจับกุม "เด็ก"

รูปภาพ
โดยหลักทั่วไป ห้ามจับกุมเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์) เนื่องจากเป็นผู้มีอายุน้อย อ่อนด้อยประสบการณ์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น 3 กรณีต่อไปนี้ ซึ่งตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามมาตรา 66 แห่ง พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 1. กระทำความผิดซึ่งหน้า กระทำความผิดซึ่งหน้า ตามความหมายในมาตรา 80 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ   1.1 ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ เช่น ตำรวจเห็นเด็กกำลังเอาไม้ตีศีรษะผู้อื่น   1.2 พบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ เช่น เห็นเด็กวิ่งมาในมือถือมีดมีเลือดติดมาสด ๆ และมีเสียงร้องว่าผู้ร้ายฆ่าคน   1.3 ความผิดอาญาที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ในกรณีดังนี้     (1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ โดยมีเสียงร้องเอะอะ เช่น ตำรวจเห็นคนวิ่งผ่านหน้า แล้วมีคนวิ่งตามหลังร้องตะโกนเอะอะว่าผู้ร้ายวิ่งราว หรือลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือผู้ร้ายฆ่าคน     (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจ...

5 ลักษณะพิเศษของสัญญาประกันภัย

รูปภาพ
สัญญาประกันภัยทุกประเภท นอกจากจะเป็นเอกเทศสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังมีลักษณะพิเศษอีก 5 ประการ คือ 1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน  โดยผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย มีสิทธิและหน้าที่ซึ่งกันและกัน คือ ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยยอมตนเข้ารับเสี่ยงภัยแทน และผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระเบี้ยดังกล่าว และหากเกิดภัยขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชำระค่าสินไหมทดแทนหรือเงินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ได้ และผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ดังกล่าว 2. เป็นสัญญาที่มีผลบังคับไม่แน่นอน  หากไม่มีวินาศภัยตามที่ตกลงกันไว้ ผู้เอาประกันก็ย่อมไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน ผลของสัญญาจึงไม่แน่นอน (ส่วนสัญญาประกันชีวิตมีผลบังคับแน่นอน แต่ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไร) 3. เป็นสัญญาที่ต้องการความซื่อสัตย์อย่างยิ่ง คู่สัญญาต้องซื้อสัตย์สุจริตต่อกัน การนิ่งไม่เปิดเผยความจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเก็บเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือไม่ยอมทำสัญญา หรือการแถลงเท็จ ทำ...