การใช้ถ้อยคำ "หน้าที่และอำนาจ" ในกฎหมายปัจจุบัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการใช้ถ้อยคำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" เนื่องจากกฎหมายต้องกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ก่อน แล้วบุคคลนั้นจึงจะมีอำนาจตามมา เพื่อให้สามารถกระทำการตามหน้าที่ได้
ต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีบันทึกข้อความ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เรื่อง การใช้ถ้อยคำ "หน้าที่และอำนาจ" ในร่างกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยวางแนวทางให้การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ใช้คำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" ในร่างกฎหมายทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรอง สำหรับในบางกรณีอาจมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอำนาจตามมาด้วย แต่เมื่อใดก็ตามถ้ากฎหมายให้อำนาจ ต้องเขียน "หน้าที่และอำนาจ" เสมอ
ที่มา แนวทางในการจัดทำร่างกฎหมาย.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2563, หน้า 313-315)
ต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีบันทึกข้อความ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เรื่อง การใช้ถ้อยคำ "หน้าที่และอำนาจ" ในร่างกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยวางแนวทางให้การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ใช้คำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" ในร่างกฎหมายทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรอง สำหรับในบางกรณีอาจมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอำนาจตามมาด้วย แต่เมื่อใดก็ตามถ้ากฎหมายให้อำนาจ ต้องเขียน "หน้าที่และอำนาจ" เสมอ
ที่มา แนวทางในการจัดทำร่างกฎหมาย.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (พ.ศ. 2563, หน้า 313-315)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น