วัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ไว้ 8 ประการ ได้แก่
1. เพื่อประโยชน์ด้เานความมั่นคงแข็งแรง เป็นวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัย อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายควบคุมอาคาร
2. เพื่อความปลอดภัย กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายให้เป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งในระหว่างการก่อสร้างอาคาร ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงปลอดภัยของนั่งร้านที่สร้างขึ้นเป็นประจำด้วย
3. เพื่อป้องกันอัคคีภัย มีการออกกฎกระทรวงควบคุมป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ กำหนดให้มีระบบท่อยื่นที่เก็บสำรองน้ำดับเพลิง ระบบบันไดหนีไฟ และช่องทางเฉพาะกิจสำหรับบุคคลภายนอกเข้าบรรเทาสาธารณภัยในอาคาร
4. เพื่อการสาธารณสุข มีการกำหนดแบบและจำนวนห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบการจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
5. เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดข้อบังคับในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมอาคารมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรรมการด้วย
6. เพื่อการผังเมือง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร กำหนดท้องที่ก่อสร้างให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดปัญหาในการก่อสร้างอาคารกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ การควบคุม หรือความปลอดภัย
7. เพื่อการสถาปัตยกรรม กำหนดลักษณะแบบ รูปแบบ สัดส่วน เนื้อที่ ที่ตั้งอาคาร ลักษณะ ระดับ เนื้อที่ว่างภายนอกหรือแนวอาคาร
8. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร มีการกำหนดเกี่ยวกับการจอดรถยนต์ ที่กลับรถยนต์ ทางเข้าออกของรถยนต์ของอาคารประเภทต่างๆ ทั้งโรงมหรสพ อาคารชุด ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน อาคารขนาดใหญ่
1. เพื่อประโยชน์ด้เานความมั่นคงแข็งแรง เป็นวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัย อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายควบคุมอาคาร
2. เพื่อความปลอดภัย กำหนดให้การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายให้เป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งในระหว่างการก่อสร้างอาคาร ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงปลอดภัยของนั่งร้านที่สร้างขึ้นเป็นประจำด้วย
3. เพื่อป้องกันอัคคีภัย มีการออกกฎกระทรวงควบคุมป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ กำหนดให้มีระบบท่อยื่นที่เก็บสำรองน้ำดับเพลิง ระบบบันไดหนีไฟ และช่องทางเฉพาะกิจสำหรับบุคคลภายนอกเข้าบรรเทาสาธารณภัยในอาคาร
4. เพื่อการสาธารณสุข มีการกำหนดแบบและจำนวนห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบการจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
5. เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดข้อบังคับในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมอาคารมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรรมการด้วย
6. เพื่อการผังเมือง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร กำหนดท้องที่ก่อสร้างให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดปัญหาในการก่อสร้างอาคารกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ การควบคุม หรือความปลอดภัย
7. เพื่อการสถาปัตยกรรม กำหนดลักษณะแบบ รูปแบบ สัดส่วน เนื้อที่ ที่ตั้งอาคาร ลักษณะ ระดับ เนื้อที่ว่างภายนอกหรือแนวอาคาร
8. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร มีการกำหนดเกี่ยวกับการจอดรถยนต์ ที่กลับรถยนต์ ทางเข้าออกของรถยนต์ของอาคารประเภทต่างๆ ทั้งโรงมหรสพ อาคารชุด ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน อาคารขนาดใหญ่
ที่มา คำบรรยายกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการ ThaiMOOC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น