โครงสร้างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โครงสร้างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 96 มาตรา
โดยทั่วไป กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หรือใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป) ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 มาตรา 95 และมาตรา 96 ใช้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (หรือใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป)
อย่างไรก็ตาม ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 และ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2564) มิให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 และมาตรา 95 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมหน่วยงานหรือกิจการที่กำหนด เช่น หน่วยงานของรัฐ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565
โครงสร้างทางกฎหมาย ประกอบด้วย
บททั่วไป (มาตรา 1 - มาตรา 7)
หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 8 - มาตรา 18)
หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 19 - มาตรา 21)
ส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 22 - มาตรา 26)
ส่วนที่ 3 การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 27 - มาตรา 29)
หมวด 3 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30 - มาตรา 42)
หมวด 4 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 43 - มาตรา 70)
หมวด 5 การร้องเรียน (มาตรา 71 - มาตรา 76)
หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง (มาตรา 77 - มาตรา 78)
หมวด 7 บทกำหนดโทษ
ส่วนที่ 1 โทษอาญา (มาตรา 79 - มาตรา 81)
ส่วนที่ 2 โทษทางปกครอง (มาตรา 82 - มาตรา 90)
บทเฉพาะกาล (มาตรา 91 - มาตรา 98)
ที่มา/ดาวน์โหลดไฟล์
***ลิ้งก์แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562***
***อ่านเพิ่มเติม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (คลิกลิงก์)***
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น